ดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index : CPI) ตอนที่ 3 แหล่งข้อมูล WJP

ศุกร์ ๒๐ มกราคม ๒๐๑๗ ๑๖:๒๑
นายสรรเสริญ พลเจียก เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะโฆษกสำนักงาน ป.ป.ช. กล่าวว่า องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) จะประกาศค่าคะแนน Corruption Perceptions Index (CPI) ของปี 2559 ในวันพุธที่ 25 มกราคม 2560 นี้ ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการ วัดค่า CPI ที่วัดดัชนีการรับรู้การทุจริตประเทศไทย จาก 8 แหล่งข้อมูลโดยตอนที่ 3 นี้ จะพูดถึงแหล่งข้อมูล WJP

World Justice Project Rule of Law Index (WJP) เป็นดัชนีชี้วัดที่ให้ความสำคัญกับระบบนิติธรรม (Rule of Law) เป็นหลัก มีการคิดระดับคะแนนอยู่ระหว่าง 0 – 1 โดยการประเมินตัวชี้วัดดังกล่าวครอบคลุม 102 ประเทศทั่วโลก โดยมี World Justice Project ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และเมืองซีแอตเทิล ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้จัดการประเมิน

เนื่องจากการประเมินดัชนีชี้วัดดังกล่าวให้ความสำคัญกับระบบนิติธรรม (Rule of law) ซึ่งมีหลักการสำคัญ 4 ประการ คือ 1) รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและถูกตรวจสอบได้ 2) กฎหมายต้องเปิดเผย มีความชัดเจน มั่นคงปกป้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน 3) กระบวนการทางกฎหมายมีความเป็นธรรมและ มีประสิทธิภาพ และ 4) การตัดสินคดีต้องมีความเป็นธรรม มีจริยธรรม มีความเป็นกลางซึ่งจากหลักการดังกล่าวได้มีการพัฒนาเป็นหลักเกณฑ์ย่อย 8 ประการ ได้แก่ ๑) อำนาจของรัฐบาลที่มีขีดจำกัด ๒) การปราศจากการคอร์รัปชัน ๓) รัฐบาลที่เปิดกว้าง ๔) สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ๕) ความสงบเรียบร้อยของสังคม ๖) การบังคับใช้กฎหมาย ๗) กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง และ ๘) กระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ สะท้อนผ่านคำถาม จากแบบสอบถามที่แบ่งออกเป็นหลายด้าน อาทิ แบบสอบถามแสดงความคิดเห็นทั่วไป แบบสอบถามที่เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ สิทธิเสรีภาพของประชาชน และกฎหมายอาญา แบบสอบถามที่เกี่ยวกับกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ แบบสอบถามที่เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน แบบสอบถามที่เกี่ยวกับระบบสาธารณสุข

World Justice Project Rule of Law Index (WJP) เป็น ๑ ใน ๘ แหล่งข้อมูลที่องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ หรือ Transparency lnternational (TI) นำไปใช้ประเมินคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index :CPI) ของประเทศไทย โดย TI จะนำค่าคะแนนของแหล่งข้อมูล WJP ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชันและการใช้ตำแหน่งหน้าที่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนที่เจ้าหน้าที่ของรัฐมาคำนวณค่าคะแนน CPI เป็นหลัก โดยค่าคะแนนดังกล่าวจะสะท้อนมาจากการตอบแบบสอบถามและการให้สัมภาษณ์ ของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ เกี่ยวกับการคอร์รัปชันหรือการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่รัฐในการดำเนินงานในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การให้บริการประชาชนของเจ้าหน้าที่รัฐ ระบบสาธารณสุข การจัดทำโครงการต่าง ๆ ของรัฐบาล การบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม เป็นต้น ซึ่งหากมีการคอร์รัปชันหรือการที่เจ้าหน้าที่รัฐใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนมากในภาคส่วนใด ย่อมส่งผลให้การดำเนินงานของภาครัฐในส่วนนั้นไร้ประสิทธิภาพ

ดังนั้น แม้การประเมินค่า CPI จะเน้นในด้านการคอร์รัปชันเป็นหลัก แต่จะมีความเชื่อมโยงระหว่างเรื่องคอร์รัปชัน

กับหลักเกณฑ์อื่น ๆ ของ WJP ด้วย การยกระดับค่าคะแนนจึงต้องดูในภาพรวมทั้ง ๘ หลักเกณฑ์ และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกหน่วยงานราชการ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการและฝ่ายปกครองในการยกระดับค่าคะแนน

ค่าคะแนน CPI ของไทยจากแหล่งข้อมูล WJP 4 ครั้งหลังสุด

ปี ๒๕๕5 ๒๕๕๖ ๒๕๕๗ ๒๕๕๘

คะแนน 33 33 44 26

แนวทางการยกระดับค่า WJP

การยกระดับค่าคะแนน WJP เพื่อให้ส่งผลดีต่อการยกระดับค่าคะแนน CPI ย่อมไม่สามารถทำได้โดยหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งส่วนราชการภาคเอกชน สื่อมวลชน และภาคประชาสังคม โดยให้ความสำคัญกับระบบธรรมาภิบาล กระบวนการยุติธรรม สิทธิมนุษยชน การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐ ตลอดจนการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบ การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความโปร่งใสในกระบวนการขั้นตอนต่าง ๆ อาทิ การจำแนกประเภทคดีและจัดลำดับความสำคัญในการดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับคดีทุจริต การกำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคดี กำหนดกรอบระยะเวลาในการพิจารณาคดีอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้มีการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การกำหนดให้ทุกหน่วยงานของรัฐเปิดเผยข้อมูล ในระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทั้งระบบเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบความถูกต้อง เพื่อลดปัญหาการทุจริต ซึ่งแนวทางเหล่านี้ล้วนนำไปสู่การยกระดับค่าคะแนน CPI ในอนาคตทั้งสิ้น

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4