ปภ.แนะประชาชนเรียนรู้หลักปฏิบัติในการช่วยเหลือคนตกน้ำถูกวิธี...ลดเสี่ยงเสียชีวิต

ศุกร์ ๐๓ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๓:๒๔
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีปฏิบัติกรณีเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำ อย่างถูกวิธี โดยกรณีว่ายน้ำไม่เป็นควรตะโกนให้ผู้ที่ว่ายน้ำเป็นเข้าช่วยเหลือ โยนอุปกรณ์ชูชีพหรือสิ่งของที่ลอยน้ำได้ให้ผู้ตกน้ำ ยึดเกาะ ในกรณีที่ผู้เข้าช่วยเหลือและคนตกน้ำอยู่ในระยะที่ไม่ห่างมากนัก ให้ยื่นอุปกรณ์ใกล้ตัวให้ผู้ตกน้ำจับ โดยที่ผู้เข้าช่วยเหลือ ควรใช้มืออีกข้างยึดฝั่งให้มั่นคง พายเรือหรือใช้ยานพาหนะที่มีขนาดใหญ่และลอยน้ำได้ในการเข้าช่วยเหลือ หากจำเป็นต้องลงน้ำไปช่วยเหลือ ผู้เข้าช่วยเหลือต้องมีร่างกายแข็งแรง มีทักษะในการว่ายน้ำและช่วยเหลือคนตกน้ำ เมื่อเห็นว่าปลอดภัย ค่อยลงน้ำไปช่วยเหลือ โดยเข้าประชิดทางด้านหลัง เพื่อป้องกันคนจมน้ำกอดรัด ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า การช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ประสบเหตุและการได้รับอันตรายของผู้เข้าช่วยเหลือ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะประชาชนเรียนรู้วิธีปฏิบัติตนกรณีเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำ ดังนี้ กรณีว่ายน้ำไม่เป็นควรตะโกน ให้ผู้ที่ว่ายน้ำเป็นเข้าช่วยเหลือคนตกน้ำ หรือตะโกนบอกให้ผู้ประสบเหตุตั้งสติ และไม่ตื่นตกใจ พร้อมใช้มือพลุ้ยน้ำและขาตีน้ำ เพื่อพยุงตัวลอยน้ำรอการช่วยเหลือ โยนอุปกรณ์ชูชีพหรือสิ่งของที่ลอยน้ำได้ อาทิ ห่วงยาง ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์ ให้ผู้ตกน้ำยึดเกาะ เพื่อพยุงตัวลอยน้ำรอการช่วยเหลือ พร้อมใช้เชือกผูกสิ่งของ ที่ลอยน้ำได้ โดยให้ผู้ตกน้ำยึดเกาะและดึงตัวกลับเข้าฝั่ง ยื่นอุปกรณ์ใกล้ตัว อาทิ เสื้อผ้า เข็มขัด กิ่งไม้ ผ้าพันคอ ให้คนตกน้ำยึดจับและลอยตัวเข้าหาฝั่งเหมาะสำหรับใช้ในกรณีที่ผู้เข้าช่วยเหลือและคนตกน้ำอยู่ในระยะที่ไม่ห่างมากนัก โดยผู้เข้าช่วยเหลือ ควรใช้มืออีกข้างยึดกับฝั่งให้มั่นคง เพื่อป้องกันการพลัดตกน้ำ พายเรือหรือใช้พาหนะที่มีขนาดใหญ่และลอยน้ำได้ อาทิ เรือพาย กระดานโต้คลื่น เรือใบ เจ็ทสกี พร้อมนำอุปกรณ์หรือสิ่งของที่ลอยน้ำได้ติดตัวไปด้วยเมื่อเข้าใกล้คนตกน้ำให้ยื่นหรือโยนอุปกรณ์ดังกล่าวให้ผู้ประสบเหตุยึดเกาะ และปีนขึ้นเรือ แต่ต้องระวังไม่ให้เรือล่ม เหมาะสำหรับกรณีคนตกน้ำอยู่ในระยะไกล กรณีลงน้ำไปช่วยเหลือ ผู้ที่เข้าช่วยเหลือคนจมน้ำ ควรมีทักษะในการว่ายน้ำและช่วยเหลือคนตกน้ำ พร้อมยึดความปลอดภัยเป็นหลัก โดยประเมินจากระดับน้ำ ความแรงของกระแสน้ำ และความสูงของคลื่น เมื่อเห็นว่าปลอดภัยค่อยลงน้ำไปช่วยเหลือ โดยเข้าประชิดด้านหลัง เพื่อป้องกันคนจมน้ำกอดรัดและเกาะหลัง ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ พร้อมนำอุปกรณ์ช่วยเหลือติดตัวไปด้วย อาทิ เชือก ห่วงยาง โฟม เสื้อชูชีพ เพื่อให้คนตกน้ำยึดเกาะ จากนั้นให้ลากผู้ประสบเหตุกลับเข้าฝั่ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4