เรียนรู้กล้วยไม้ผ่านชุดหนังสือพรรณไม้เมืองไทย องค์การสวนพฤกษศาสตร์

จันทร์ ๐๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๖:๓๒
กล้วยไม้เป็นพืชที่มีความสวยงาม สามารถพบได้ทุกภูมิภาคในโลก ยกเว้นพื้นที่ขั้วโลกมีจำนวนรวมกันทั่วโลกประมาณ 350 สกุล 30,000 ชนิด โดยในบริเวณเขตร้อนชื้นจะมีความหลากหลายของกล้วยไม้มากที่สุด ในประเทศไทยมีกล้วยไม้พื้นเมืองอยู่ประมาณ 1,200 ชนิด จากลักษณะลำต้น ใบ ดอก ที่มีอยู่หลากหลายและสวยงามทำให้กล้วยไม้เป็นที่นิยมสำหรับผู้คนจำนวนไม่น้อย ในการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับหรือการนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การใช้เป็นสมุนไพรรักษาโรค เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอาง น้ำหอม รวมถึงใช้แต่งกลิ่นอาหาร สำหรับหนังสือชุดกล้วยไม้เล่ม 1-4 ขององค์การสวนพฤกษศาสตร์นั้น เป็นหนึ่งในหนังสือชุดพรรณไม้เมืองไทย ซึ่งจัดทำขึ้นโดย สุรางค์รัชต์ อินทะมุสิก และสันติ วัฒฐานะ นักวิชาการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ เพื่อรวบรวมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ไทย โดยเนื้อหาในแต่ละเล่มประกอบด้วยชื่อพฤกษศาสตร์และข้อมูลกล้วยไม้ไทยจำนวน 50 ชนิด และบทนำที่ให้ความรู้เกี่ยวกับกล้วยไม้ในแง่มุมต่างๆ อาทิ

กล้วยไม้เล่ม 1 ให้ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งกลุ่มกล้วยไม้ทั้งการแบ่งกลุ่มตามลักษณะวิสัยที่พบในสภาพธรรมชาติหรือการแบ่งกลุ่มตามลักษณะการเจริญเติบโต การจัดจำแนกกล้วยไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของกล้วยไม้ การอนุรักษ์กล้วยไม้พื้นเมือง การนำกล้วยไม้จิ๋วออกขวดเพาะเลี้ยงและหลักในการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้เบื้องต้น

กล้วยไม้เล่ม 2 ประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับเรื่องชื่อของกล้วยไม้ ทั้งชื่อท้องถิ่น ชื่อสามัญและชื่อพฤกษศาสตร์ ซึ่งชื่อเหล่านี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการสื่อความหมายถึงกล้วยไม้ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่าชื่อนั้นหมายถึงกล้วยไม้ชนิดใด โดยส่วนใหญ่แล้วชื่อของกล้วยไม้มักจะแฝงความหมายของลักษณะเฉพาะหรือลักษณะเด่นเพื่อให้สามารถจดจำได้ง่ายหรือสื่อถึงประวัติความสำคัญของกล้วยไม้ชนิดนั้นๆ อีกด้วย

กล้วยไม้เล่ม 3 กล่าวถึงประวัติการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย ซึ่งมีหลักฐานบันทึกว่าเริ่มมีการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทยโดยรวบรวมไว้ใน "รังกล้วยไม้" เป็นจำนวนมากและเพาะเลี้ยงอย่างถูกวิธี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2380 โดยนายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ และมี "ตำราเล่นกล้วยไม้" พระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นหนังสือเพาะเลี้ยงกล้วยไม้เล่มแรกของประเทศไทยที่จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 นอกจากนี้ยังมีประวัติในการศึกษาทางด้านพฤกษอนุกรมวิธานของกล้วยไม้ไทย โดยนักพฤกษศาสตร์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ เช่น นายแพทย์ A.F.G. Kerr (พ.ศ. 2420-2485) ศาสตราจารย์ ดร.เต็ม สมิตินันทน์ (พ.ศ. 2463-2538) และศาสตราจารย์ระพี สาคริก (พ.ศ. 2465-ปัจจุบัน)

กล้วยไม้เล่ม 4 เป็นเล่มล่าสุดของหนังสือชุดกล้วยไม้ โดยจัดพิมพ์เป็นสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) เมื่อเดือนกันยายน 2559 ที่ผ่านมา กล่าวถึงการใช้ประโยชน์จากกล้วยไม้ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการปลูกเลี้ยงเป็นไม้ประดับ การใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่น หรือเป็นยาสมุนไพร และยังมีข้อมูลกล้วยไม้ไทยที่มีความสวยงามและได้รับการตรวจสอบชื่อทางพฤกษศาสตร์เรียบร้อยแล้วจำนวน 50 ชนิด อาทิเช่น เอื้องคำฝอย (Dendrobium brymerianum Rchb.f.) เอื้องนิ่มดอยสุเทพ (Eria sutepensis Rolfe ex Downie) รองเท้านารีหนวดฤๅษี (Paphiopedilum parishii (Rchb.f.) Stein) และ ช้างงาเดียว (Thunia alba (Lindl.) Rchb.f.) ทั้งนี้ทางองค์การสวนพฤกษศาสตร์ได้ทำการจัดพิมพ์หนังสือชุดกล้วยไม้ 1 - 4 โดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย พร้อมภาพสีประกอบตลอดทั้งเล่ม รวมทั้งยังมีรูปเล่มกะทัดรัด จึงเป็นหนังสือที่เหมาะสำหรับนักเรียน นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่มีความสนใจได้อ่าน และมีไว้สะสมเพื่อศึกษาเกี่ยวกับกล้วยไม้ไทยได้เป็นอย่างดี

ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสง่า สรรพศรี องค์การสวนพฤกษศาสตร์ หมายเลขโทรศัพท์ 053-841026

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ