บกปภ.ช.ประสานจังหวัดเร่งเยียวยา ฟื้นฟูผู้ประสบภัยโดยเร็ว พร้อมจัดทำแผนการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระดับพื้นที่ เพื่อลดผลกระทบจากอุทกภัยในระยะยาว

อังคาร ๐๗ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๔:๕๐
กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) โดยกระทรวงมหาดไทย ประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ โดยปัจจุบันยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และพัทลุง รวม 6 อำเภอ 24 ตำบล 83 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,412 ครัวเรือน 11,269 คน บกปภ.ช. จึงได้ประสานให้จังหวัดสำรวจข้อมูล ความเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน และครอบคลุมทุกด้าน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 3 แผนงานสำคัญ ได้แก่ แผนการเยียวยา แผนการฟื้นฟู และแผนแก้ไขปัญหาในระยะยาว สำหรับการสงเคราะห์ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิตแต่ละราย จะได้รับเงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 107,000 บาท หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะได้รับเงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 132,000 บาท ส่วนด้านที่อยู่อาศัย มี 9 จังหวัดขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ สำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่ง บกปภ.ช.ได้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณต่อไป

นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะรองผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมติดตามสถานการณ์อุทกภัยและดินถล่มในพื้นที่ภาคใต้ ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกันระหว่าง บกปภ.ช. ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บกปภ.ช. ส่วนหน้า ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 11 สุราษฎร์ธานี รวมถึงหน่วยปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนการดำเนินการฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยเข้าร่วมประชุมฯ สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในภาพรวมคลี่คลายแล้วอยู่ระหว่างการฟื้นฟู 9 จังหวัด ได้แก่ ระนอง กระบี่ ตรัง ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี และสงขลา ยังคงมีสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และพัทลุง รวม 6 อำเภอ 24 ตำบล 83 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,412 ครัวเรือน 11,269 คน ผู้เสียชีวิต 97 ราย ทั้งนี้ สถานการณ์โดยรวมเริ่มคลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติ บกปภ.ช.จึงได้สั่งการให้จังหวัดสำรวจข้อมูลความเสียหายให้ถูกต้องครบถ้วน และครอบคลุมทุกด้าน พร้อมจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 3 แผนงานสำคัญ ดังนี้ 1.แผนปฏิบัติการเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ทั้งด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย เพื่อให้ผู้ประสบภัยได้รับการช่วยเหลืออย่างทั่วถึง และดำเนินชีวิตได้ตามปกติ 2.แผนปฏิบัติการซ่อมแซมฟื้นฟูสถานที่ราชการและสิ่งสาธารณะประโยชน์ เน้นการมีส่วนร่วมและส่งเสริมการจ้างงานประชาชนในพื้นที่ให้มีรายได้เสริมในช่วงที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เพื่อเปิดให้บริการและใช้งานได้โดยเร็วที่สุด 3.แผนปฏิบัติการป้องกันแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว โดยให้ถอดบทเรียน การแก้ไขปัญหาอุทกภัยในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้ทราบปัญหาอุปสรรค และจุดอ่อนในการดำเนินงานที่จะนำไปสู่การปรับปรุงแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น อาทิ การแก้ไขปัญหาอุทกภัยเชิงป้องกันที่เน้นโครงสร้าง การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางน้ำ การขุดลอกคูคลองและการทำทางเบี่ยงน้ำ ทั้งนี้ ในแต่ละแผนงานให้กำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบ พร้อมระบุกิจกรรม ระยะเวลา และงบประมาณในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ และบริบททางสังคมในแต่ละพื้นที่

นายชยพล ธิติศักดิ์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าส่วนอำนวยการ ภายใต้กองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บกปภ.ช.) เน้นย้ำให้จังหวัดตรวจสอบข้อมูลความเสียหายจากอุทกภัยเชิงพื้นที่ทั้งด้านชีวิต และที่อยู่อาศัย พร้อมจัดทำประมาณการงบประมาณในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ทั้งค่าสงเคราะห์จัดการศพผู้เสียชีวิต และค่าซ่อมแซมที่อยู่อาศัย หากไม่เพียงพอให้จังหวัดเสนอวงเงินงบประมาณที่ต้องการขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมมายัง บกปภ.ช. เพื่อรวบรวมข้อมูลในการรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หัวหน้าศูนย์ประสานการปฏิบัติ ภายใต้ บกปภ.ช. เปิดเผยว่า ในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ โดยเฉพาะด้านชีวิต บกปภ.ช.ได้ประสานขอรับการสนับสนุนเงินสงเคราะห์ผู้ประสบภัยแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ซึ่งนอกจากผู้ประสบภัยจะได้รับการช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ แล้ว ยังมีเงินช่วยเหลือจากภาคส่วนต่างๆ โดยผู้เสียชีวิตแต่ละรายจะได้รับเงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 107,000 บาท หากเป็นหัวหน้าครอบครัวจะได้รับเงินช่วยเหลือไม่ต่ำกว่า 132,000 บาท สำหรับการช่วยเหลือด้านที่อยู่อาศัย จากการตรวจสอบในเบื้องต้นมี 9 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ ตรัง สงขลา และยะลา ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี แยกเป็น บ้านเรือนเสียหายทั้งหลัง 199 หลัง เสียหายมาก 105 หลัง และเสียหายน้อย 578 หลัง ซึ่ง บกปภ.ช.ได้จัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้สำนักนายกรัฐมนตรีประกอบการพิจารณาสนับสนุนงบประมาณในการซ่อมแซมบ้านเรือนต่อไป อีกทั้งให้จังหวัดประสานความร่วมมือกับกรมโยธาธิการและผังเมือง ในการจัดทำผังการระบายน้ำให้สอดคล้องกับผังเมือง พร้อมวิเคราะห์ทิศทางการไหลของน้ำ ปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำ กำหนดพื้นที่รองรับน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยใช้ผังเมืองเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัยในระยะยาว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest