นศ.คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มจธ. เจ๋ง!! ผุดไอเดีย ใช้ App สร้าง “ระบบพยากรณ์น้ำท่วม” (Bangkok Flood Prediction System) แก้ปัญหาน้ำท่วม กทม.

พุธ ๐๘ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๗ ๑๑:๕๒
ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่งมาจากการระบายน้ำในท่อระบาย จากปัญหานี้จึงเป็นที่มาของ "ระบบพยากรณ์น้ำท่วม กทม. หรือ Bangkok Flood Prediction System " โดยนางสาวญาณิศา พรหมเพ็ง (ฟ้า) , นางสาวนันทหัย อินทร์บำรุง(หมิว) และนางสาวจารุวรินทร์ กาญจนกุลสิทธิ (มีนา) 3 นักศึกษาสาวจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (SIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ซึ่งมี ผศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ วราภรณ์ และ ผศ.ดร.วชิรศักดิ์ วานิชชา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้ร่วมกันคิดค้นพัฒนาขึ้นเพื่อพยากรณ์น้ำท่วมโดยอาศัยปัจจัยต่างๆเช่นปริมาณน้ำฝน ระยะเวลาที่ฝนตก รวมถึงตรวจสอบว่าภายในท่อระบายน้ำนั้นมีอุปสรรคปัญหาอะไร และให้ทราบปริมาณขยะภายในท่อได้อย่างแม่นยำ เพื่อช่วยการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่สำนักการระบายน้ำหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการป้องกันแก้ไขได้ทันท่วงที

นางสาวญาณิศา พรหมเพ็ง หรือฟ้า กล่าวว่า แนวคิดนี้เกิดจากที่เรารู้อยู่แล้วว่ากรุงเทพฯประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปีทั้งที่มีเครื่องสูบน้ำ แต่ทำไมการไหลของน้ำจึงระบายได้ช้า จึงลองมาสังเกตดูพบว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้น้ำท่วม แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ ขยะที่อยู่ภายในท่อระบายน้ำ ซึ่งขยะที่ติดค้างในท่อยังไม่มีเครื่องมือช่วยวัด ทำให้บางครั้งการคำนวณการไหลของน้ำคลาดเคลื่อน เราจึงได้ร่วมกันคิดออกแบบและพัฒนาระบบพยากรณ์น้ำท่วม กทม. หรือ Bangkok Flood Prediction System ขึ้น โดยเลือกใช้พื้นที่อโศกเป็นโมเดลนำร่อง เพราะถือเป็นย่านใจกลางเมืองที่สำคัญของกรุงเทพฯ และมีพื้นที่ต่ำ

โดยระบบประกอบด้วย Web Appication และ Sensor โดยเฉพาะตัว ไอดีอาร์ เซ็นเซอร์ จะเป็นตัวใช้วัดขยะที่อยู่ในท่อระบายน้ำ เพราะไอดีอาร์ เซ็นเซอร์ เป็นตัวที่วัดความเข้มของแสงซึ่งถ้าความเข้มของแสงมากหรือมืด ค่าที่ออกมาจะสูง ถ้าความเข้มของแสงสว่างน้อย ค่าที่ออกมาก็จะน้อย จุดนี้ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถทราบถึงปริมาณขยะหรือสิ่งอุดตันภายในท่อซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำว่ามากหรือน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะได้ดำเนินการกำจัดอุปสรรคได้ถูกจุดและรวดเร็ว ทันต่อการระบายของน้ำฝน ซึ่งข้อมูลที่ได้จากระบบเซ็นเซอร์ เจ้าหน้าที่สามารถนำมาคำนวณเพื่อประเมินโอกาสที่อาจจะเกิดน้ำท่วมได้ โดยใช้ Web Appication ที่แสดงแผนที่ท่อระบายน้ำของแต่ละสายเพียงกรอกข้อมูลของปริมาณน้ำฝน ระยะเวลาฝนตก และปริมาณขยะหรืออุปสรรคที่วัดได้จากชุดเซ็นเซอร์ ระบบจะคำนวณรวมกัน และทำงานร่วมกับระบบกูเกิ้ลเอพีไอ เซ็นเซอร์ก็จะวัดความสูงของขยะในท่อ ระดับน้ำในท่อและความสูงของพื้นที่เหลือเพื่อรองรับน้ำไหล ในแนวทางของInternet of Things (IoT) อย่างอัตโนมัติแลtส่งข้อมูลที่ได้เข้ามายังระบบประมวลผลส่วนกลางเพื่อทำการประมวลผลและแสดงผ่านทางหน้าWeb Application เพื่อให้ทราบว่าจากปริมาณน้ำฝนระยะเวลาที่ฝนตกและปริมาณขยะที่อยู่ในท่อระบายน้ำมีโอกาสส่งผลให้เกิดน้ำท่วมหรือไม่ ซึ่งทำให้พยากรณ์ได้ว่าพื้นที่บริเวณนั้นจะเกิดน้ำท่วมเท่าไหร่ โดยเจ้าหน้าที่ไม่ต้องลงไปสำรวจภายในท่อด้วยตัวเอง

ด้าน นางสาวจารุวรินทร์ กาญจนกุลสิทธิ หรือ มีนา กล่าวเสริมว่า เป็นการประเมินเพื่อดูว่าปริมาณน้ำฝนเท่าไร ระยะเวลาที่ฝนตกเท่าไร รวมถึงระดับขยะในท่อเท่าไรถึงจะส่งผลให้พื้นที่ไหนในบริเวณอโศกบ้างที่มีโอกาสเกิดน้ำท่วม ท่วมเป็นปริมาณเท่าไหร่และจะสามารถระบายน้ำท่วมนั้นได้ภายในระยะเวลาเท่าใด ซึ่งเจ้าหน้าที่ยังสามารถใช้ Web Appication คำนวณระยะเวลาในการระบายน้ำเพื่อทำการติดตั้งเครื่องสูบน้ำมาเพิ่มเติม ถือเป็นการช่วยในการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้น โดยระบบจะจำลองภาพน้ำท่วมลงในแผนที่ให้เห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยังได้พัฒนา Mobile appication สำหรับประชาชนที่ต้องการรับแจ้งเตือนหรือรายงานสถานการณ์น้ำท่วมจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานโดยตรง นอกจากนี้ประชาชนยังสามารถส่งข้อความแจ้งเหตุหรือรายงานสถานการณ์ที่เจอผ่าน Mobile application โดยการถ่ายรูปและใส่ข้อมูล ระบบจะจัดเก็บรายละเอียดของโลเคชั่นนั้นได้ด้วย

ฟ้า กล่าวว่า "สำหรับความแม่นยำของระบบนั้น แน่นอนว่า ตอนที่เราพัฒนาเรามีการทดสอบระบบอยู่แล้ว จากข่าวเกี่ยวกับปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นมาตลอด ทั้งทำการทดสอบเซ็นเซอร์มากกว่า 300 ครั้งซึ่งได้ผลถูกต้องทุกครั้งและได้ทดลองใช้ข้อมูลน้ำท่วมในอดีตที่ผ่านมา ก็พบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถพยากรณ์น้ำท่วมได้ตรงตามที่เคยเกิดขึ้นจริงในอดีตได้อย่างแม่นยำถูกต้องทุกปี"

ขณะที่ นางสาวนันทหัย อินทร์บำรุง หรือ หมิว สมาชิกอีกคนหนึ่งกล่าวในตอนท้ายว่า ระบบนี้จะเป็นประโยชน์มากสำหรับกรุงเทพมหานคร เพราะกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงที่เราควรจะรักษาภาพลักษณ์ให้ดีที่สุด นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะมองภาพอย่างไรหากเกิดน้ำท่วม ซึ่งระบบพยากรณ์น้ำท่วมนี้ถือเป็นตัวนำร่องสามารถนำไปต่อยอดและนำไปใช้งานได้จริงกับพื้นที่อื่นๆของประเทศได้ ดั่งสโลแกนของกลุ่มที่ว่า "We believe we can create a better livable city"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ