ปภ.แนะประชาชนรู้ทัน – ป้องกัน – รับมือปัญหาภัยแล้ง...ลดวิกฤตขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูร้อน

ศุกร์ ๐๓ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๓๒
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะวิธีปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง โดยประชาชนควรจัดหาและซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภค ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า ด้วยการใช้ ภาชนะรองน้ำแทนการปล่อยน้ำจากก๊อกน้ำหรือสายยาง นำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น พร้อมติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือชักโครก รวมถึงหมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ เกษตรกรควรติดตามสถานการณ์น้ำ และแผนการจัดสรรน้ำในพื้นที่ งดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย อีกทั้งสร้างระบบกักเก็บน้ำ ในพื้นที่การเกษตร ภาคอุตสาหกรรมควรจัดหาแหล่งน้ำสำรองและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ตรวจสอบระบบการจัดสรรน้ำ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ ซึ่งสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ระยะนี้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว หลายพื้นที่เสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งการขาดแคลนน้ำส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนและภาคการเกษตร เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการปฏิบัติตนเพื่อรับมือและลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ดังนี้ ภาคประชาชน จัดหาและซ่อมแซมภาชนะกักเก็บน้ำ เพื่อสำรองน้ำไว้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้ง ใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า โดยปิดก๊อกน้ำให้สนิททุกครั้งหลังใช้งาน และไม่เปิดน้ำไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ ใช้ภาชนะรองน้ำแทนการปล่อยน้ำจากก๊อกน้ำหรือสายยาง จะช่วยลดการสิ้นเปลืองน้ำในปริมาณมาก นำน้ำที่เหลือจากการใช้งาน ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น อาทิ รดน้ำต้นไม้ ทำความสะอาดพื้น ติดตั้งอุปกรณ์เติมอากาศที่ก๊อกน้ำ ฝักบัว หรือชักโครก เพื่อเพิ่มแรงดันน้ำ จะช่วยลดปริมาณการใช้น้ำ หมั่นตรวจสอบการรั่วซึมของน้ำ โดยปิดก๊อกน้ำทุกตัว หรือสวิตช์ปั้มน้ำ และจดเลขมาตรวัดน้ำไว้ หากเลขมาตรวัดน้ำเปลี่ยนแปลง แสดงว่ามีน้ำรั่วซึม ให้รีบซ่อมแซมโดยด่วน เลือกใช้ชักโครกแบบประหยัดน้ำหากไม่มีให้ใช้ขวดหรือแกลลอนบรรจุน้ำเปล่าวางไว้ในแท็งก์น้ำของชักโครก ไม่ทิ้งเศษอาหาร หรือกระดาษทิชชูลงชักโครก เพราะทำให้สูญเสียน้ำในปริมาณมาก ภาคการเกษตร ติดตามสถานการณ์น้ำและแผนการจัดสรรน้ำ จะได้วางแผนการเพาะปลูกได้สอดคล้อง กับปริมาณน้ำ งดทำนาปรังในช่วงฤดูแล้ง เพื่อป้องกันนาข้าวได้รับความเสียหายจากการขาดแคลนน้ำ เพาะปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย อาทิ พืชตระกูลถั่ว เมลอน แตงโม เลี้ยงสัตว์แทนการเพาะปลูก อาทิ ไก่ กบ เพื่อสร้างรายได้ในช่วงฤดูแล้งทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย โดยนำเศษฟาง เศษหญ้า ใบไม้ หรือพืชตระกูลถั่วคลุมรอบโคนต้นไม้ นำพลาสติกคลุมดินหรือวางระบบน้ำหยดในพื้นที่เพาะปลูก เปลี่ยนเวลาในการรดน้ำเป็นช่วงเช้าหรือเย็น สร้างระบบกักเก็บน้ำในพื้นที่การเกษตร อาทิ ขุดบ่อน้ำ ร่องน้ำ หรือใช้ระบบน้ำบาดาลในการทำการเกษตร ป้องกันมิให้น้ำรั่วไหล โดยนำกระสอบทรายมาจัดทำคันกั้นน้ำหรืออุดบริเวณรอยรั่ว รวมถึงนำพลาสติกรองพื้นบ่อน้ำ ภาคอุตสาหกรรม จัดหาแหล่งน้ำสำรองและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง จะได้วางแผนการผลิตได้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ ตรวจสอบระบบการจัดสรรน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ทั้งท่อส่งน้ำ ระบบการกระจายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสีย เลือกใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีประหยัดน้ำ ซึ่งสามารถนำน้ำที่ใช้แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ การใช้น้ำอย่างประหยัดและนำน้ำที่เหลือจากการใช้งานไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น รวมถึงการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยให้มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๔:๐๔ กลุ่ม KTIS จับมือ Marubeni ประสานความร่วมมือในการขายเครดิตพลังงานหมุนเวียน (REC)
๑๔:๒๐ ผู้ถือหุ้น TIDLOR อนุมัติจ่ายปันผลเป็นหุ้น-เงินสด อัตรา 27 หุ้นสามัญ : 1 หุ้นปันผล พร้อมจ่ายเงินสด 0.2698 บ./หุ้น เตรียมขึ้น XD วันที่ 24 เม.ย. 67 รับทรัพย์ 14
๑๔:๔๙ สมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมแถลงข่าวเปิดตัว โครงการพัฒนาระบบแบ่งปันฐานข้อมูลการฉ้อฉลประกันภัย
๑๔:๑๐ สสวท. เติมความรู้คู่กีฬากับ เคมีในสระว่ายน้ำ
๑๓:๐๓ ฉุดไม่อยู่! ซีรีส์ Kiseki ฤดูปาฏิหาริย์ กระแสแรง ขึ้น TOP3 บน Viu ตอกย้ำความฮอต
๑๔:๒๔ TM บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุพระราม 9
๑๔:๑๒ ผถห. JR อนุมัติจ่ายปันผล 0.04 บาทต่อหุ้น พร้อมโชว์ Backlog แน่น 9,243 ลบ.
๑๔:๕๐ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ
๑๔:๓๔ ธนาคารกรุงเทพรายงานกำไรสุทธิสำหรับไตรมาส 1 ปี 2567 จำนวน 10,524 ล้านบาท
๑๔:๑๔ กรุงศรี ร่วมมือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ และเสริมสร้างประสบการณ์ในโลกธุรกิจ