NIDA Poll “การปฏิรูปพุทธศาสนา”

อังคาร ๐๗ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๑๓
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง "การปฏิรูปพุทธศาสนา" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ 2560 กรณีศึกษาจากประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ กระจาย ทุกระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,250 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการปฏิรูปพุทธศาสนา การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่าง ด้วยความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" ด้วยวิธีแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยแบ่งชั้นภูมิตามภูมิภาค จากนั้นในแต่ละภูมิภาคสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธี การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ ร้อยละ 95.0 และมีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (Standard Error: S.E.) ไม่เกิน 1.4

จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อสาเหตุหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหาของพุทธศาสนาในปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 55.84 ระบุว่า พระสงฆ์ตัดไม่ขาดจากทางโลก หลงในวัตถุนิยม ลาภ ยศ สรรเสริญ ตำแหน่งทางสงฆ์ หรือบริโภคนิยม รองลงมา ร้อยละ 49.76 ระบุว่า พระสงฆ์ไม่อยู่ในหลักพระธรรมวินัยทำให้มีข่าวฉาวเป็นประจำ เช่น พระสงฆ์เสพยาบ้า ดื่มสุรา ยุ่งสีกา พูดจาไม่สุภาพมีพฤติกรรมก้าวร้าว ร้อยละ 40.32 ระบุว่า การสร้างค่านิยมหรือความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญ การถวายทาน การสร้างศาสนสถาน การบริจาคสิ่งของแบบผิด ๆ ร้อยละ 36.64 ระบุว่า วัดบางแห่งมีความเป็นพุทธพาณิชย์/เน้นวัตถุนิยม ร้อยละ 32.32 ระบุว่า องค์กรที่ดูแลพุทธศาสนาอ่อนแอขาดประสิทธิภาพในการทำงานและตรวจสอบป้องกัน ร้อยละ 31.36 ระบุว่า การบิดเบือนหลักคำสอนของพุทธศาสนา ร้อยละ 30.32 ระบุว่า การบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ไม่เด็ดขาดพอ ร้อยละ 27.36 ระบุว่า การปกครองภายในวัดไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 2.32 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ อยู่ที่ตัวบุคคล คนที่นับถือศาสนาพุทธบางคน ไม่เข้าใจถึงแก่นแท้ หรือหลักของพุทธศาสนา ขาดการใช้วิจารณญาณในเรื่องของความศรัทธา และปัจจุบันสภาพสังคมเปลี่ยนแปลงไป รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นจนทำเกิดปัญหาตามมา ร้อยละ 1.36 ระบุว่า พุทธศาสนาในปัจจุบันไม่มีปัญหาใด ๆ เลย และร้อยละ 0.96 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ด้านความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อประสิทธิภาพในการทำงานของมหาเถรสมาคม(มส.) ในการดำเนินงานเพื่อรักษา หลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์ พบว่า ประชาชน ร้อยละ 7.28 ระบุว่า มหาเถรสมาคมดำเนินงานเพื่อรักษาหลักพระธรรมวินัยและปกครองคณะสงฆ์มีประสิทธิภาพสูง ร้อยละ 18.48 ระบุว่า ดำเนินงานค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 1.12 ระบุว่ามีประสิทธิภาพปานกลาง ขณะที่ส่วนใหญ่ ร้อยละ 40.00 ระบุว่า ดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ร้อยละ 26.32 ระบุว่า ไม่มีประสิทธิภาพเลย และร้อยละ 6.80 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนของการดำเนินงาน ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ – มีประสิทธิภาพสูงลดลง และสัดส่วนของการดำเนินงานไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ – ไม่มีประสิทธิภาพเลย เพิ่มขึ้น

สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อความเร่งด่วนในการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 66.48 ระบุว่า การปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบเป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน รองลงมา ร้อยละ 21.12 ระบุว่า เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการ แต่ไม่เร่งด่วน ร้อยละ 10.00 ระบุว่า ไม่มีความจำเป็นในการปฏิรูปพุทธศาสนาเลย ร้อยละ 2.40 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ เมื่อเปรียบเทียบกับผลสำรวจ ในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่า สัดส่วนความต้องการปฏิรูปพุทธศาสนาทั้งระบบอย่างเร่งด่วนนั้น เพิ่มขึ้น

ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสิ่งที่ควรปฏิรูปพุทธศาสนา ในเรื่องต่าง ๆ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.94 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์ให้มีความสอดคล้องกับพระธรรมวินัย รองลงมา ร้อยละ 42.56 ระบุว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทุก ๆ ฝ่าย คอยสอดส่อง ดูแล พระภิกษุสงฆ์ ให้ประพฤติตนอยู่ในสมณเพศ และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด ร้อยละ 42.19 ระบุว่า เป็นการบังคับใช้พระธรรมวินัย กฎหมาย บทลงโทษ ทั้งทางโลกและทางธรรม ที่เคร่งครัดและเข้มงวด ร้อยละ 42.01 ระบุว่า เป็นการคัดกรองผู้ที่จะเข้าบวชเป็นพระอย่างมีคุณภาพและเหมาะสม ร้อยละ 34.25 ระบุว่า เป็นการเผยแพร่พุทธศาสนา ที่ไม่บิดเบือน เป็นแก่นแท้ และตรงกับคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ร้อยละ 32.42 ระบุว่า เป็นการสร้างค่านิยม ความเชื่อเกี่ยวกับการทำบุญที่ถูกต้องและเหมาะสม อยู่ในความพอดี ร้อยละ 32.15 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของมหาเถรสมาคม (มส.) ร้อยละ 31.32 ระบุว่า เป็นการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารจัดการ บทบาท หน้าที่และอำนาจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ร้อยละ 26.39 ระบุว่า เป็นการส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางพุทธศาสนา ร้อยละ 0.64 ระบุว่า ควรปฎิรูปทุกด้าน และร้อยละ 1.83 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.80 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.44 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑล และภาคกลาง ร้อยละ 18.16 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.44 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 14.16 มีภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ตัวอย่าง ร้อยละ 54.80 เป็นเพศชาย ร้อยละ 45.12 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 0.08 เป็นเพศทางเลือก ตัวอย่างร้อยละ 5.44 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ตัวอย่าง ร้อยละ 15.44 มีอายุ 26 – 35 ปี ร้อยละ 22.96 มีอายุ 36 – 45 ปี ร้อยละ 35.44 มีอายุ 46 – 59 ปี ร้อยละ 19.28 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และร้อยละ 1.44 ไม่ระบุอายุ ตัวอย่าง ร้อยละ 22.56 ระบุว่าสถานภาพโสด ร้อยละ 70.88 สมรสแล้ว ร้อยละ 4.88 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 1.68 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส ตัวอย่างร้อยละ 24.48 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 29.44 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 7.92 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 29.04 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 6.56จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 2.56 ไม่ระบุการศึกษา

ตัวอย่างร้อยละ 16.56 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 11.20 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 24.48 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจ/อาชีพอิสระ ร้อยละ 14.56 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 13.44 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 14.96 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 2.16 เป็นนักเรียน/นักศึกษา ร้อยละ 0.16 เป็นพนักงานองค์กรอิสระ ที่ไม่แสวงหากำไร และร้อยละ 2.48 ไม่ระบุอาชีพ ตัวอย่างร้อยละ 12.88 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 13.92 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 26.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 – 20,000 บาท ร้อยละ 13.04 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท ร้อยละ 8.80 มีรายได้เฉลี่ย ต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ร้อยละ 10.72 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า มากกว่า 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 14.00 ไม่ระบุรายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest