บทความพิเศษ เรื่อง ต้องปรับตัวหรือไม่ ให้ทันเกษตร 4.0

พฤหัส ๑๖ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๐๕
โลกเราหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีเกิด มีแก่ มีเจ็บ ตาย เดี๋ยวมี เดี๋ยวไม่มี สลับสับเปลี่ยนกันไปตามห้วงเวลาของแต่ละสถานการณ์ แล้วมนุษย์ตัวเล็กๆ ทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้จะต้องดำเนินชีวิตต่อไปอย่างไร จำเป็นไหมที่จะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้ด้วยหรือไม่???

ประเทศไทยในยามนี้ถือว่าสภาพแวดล้อมต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ จะต้องปรับตัวจากเดิม โดยเฉพาะด้านอาชีพทางการเกษตรที่เริ่มมาตั้งแต่เกษตรกรรมหรือยุค 1.0 ที่ส่งออกสินค้าเกษตรเป็นหลัก เช่น ไม้สัก ยางพารา ข้าว ฯลฯ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนมาเป็นยุคอุตสาหกรรมเบาหรือยุค 2.0 ที่ใช้เครื่องจักรเข้ามาใช้ในการทุ่มแรงงานคน ช่วยในการผลิตสิ่งทอ เสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า ฯลฯ และค่อยๆก้าวมาอีกขั้นที่เรียกว่าอุตสาหกรรมหนักหรือยุค 3.0 ที่ผลิตเครื่องยนต์กลไกต่างๆ เช่น รถยนต์ เหล็กกล้า อิเล็คทรอนิคส์ โรงกลั่นน้ำมัน ฯลฯ ทำให้ประเทศไทยเราอยู่กับยุคนี้มามากกว่า 20 ปี จนเห็นได้ว่าตัวเลข GDP หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเริ่มมีความถดถอยเพราะกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเริ่มมีความสามารถในการผลิตและแข่งขันกับเราได้ ด้วยค่าแรงที่ต่ำกว่า!!!

ซึ่งนโยบายนี้พยายามที่จะให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมได้ก้าวไปพร้อมๆ กัน ไม่ว่าด้านการค้าขาย ด้านอุตสาหกรรม ด้านการเกษตร การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นนับแต่นี้ไป ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์แห่งอนาคตก็คือ เปลี่ยนจาก 1. การเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) ในปัจจุบัน ไปสู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและเทคโนโลยี (Smart Farming) โดยเกษตรกรต้องร่ำรวยขึ้น และเป็นเกษตรกรแบบเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) 2. เปลี่ยนจาก Traditional SMEs หรือ SMEs ที่มีอยู่ที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลืออยู่ตลอดเวลา ไปสู่การเป็น Smart Enterprises และ Startups ที่มีศักยภาพสูง 3. เปลี่ยนจาก Traditional Services ซึ่งมีการสร้างมูลค่าค่อนข้างต่ำ ไปสู่ High Value Services 4. เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง

ดังนั้นประชาชนคนไทย จำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงปรับตัวพัฒนาสาขาอาชีพให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (Value Added) และเรียนรู้การตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) เพื่อสร้างความแตกต่าง เช่น การผลิตพืชผักปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ทดแทนข้าว หรือพืชผักที่ปลูกด้วยสารเคมี การแปรรูปน้ำผัก ผลไม้เพื่อสุขภาพ แทนที่การขายวัตถุดิบแบบเดิมๆ ที่มีราคาต่ำ ซึ่งหากไม่มีเปลี่ยนแปลงพัฒนาในอนาคตก็จะสู้กับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV และที่สำคัญจะต้องศึกษาหาตลาดตามโซเชียลเน็ทเวิร์คต่างๆ เพื่อเป็นช่องทางกระจายสินค้าจากผู้ผลิตส่งตรงถึงผู้ซื้อ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง รวมถึงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น จีพีเอส ระบบเซ็นเซอร์ตรวจวัด อุณหภูมิ ความชื้น คุณภาพดิน และโดรน เพื่อการฉีดพ่นปุ๋ย ยาต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อความแม่นยำและรวดเร็ว ในการผลิตและช่วยบูรณาการให้แก่สาขาอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยตรงที่ 02 986 1680 -2

สนับสนุนบทความโดย นายมนตรี บุญจรัส

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)

สอบถามข้อมูลข่าวได้ที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0 2000 8499 , 081 732 7889

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest