พลาสติกชีวภาพกับการแก้ปัญหาขยะ

ศุกร์ ๑๗ มีนาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๒๑
ปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศไทยนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นทุกปี สาเหตุมาจากขาดการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ แม้ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาได้เริ่มมีการปรับทัศนคติเกี่ยวกับขยะมูลฝอย โดยมองว่าสามารถนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ และสามารถเพิ่มมูลค่าและรายได้ให้กับประชาชน แต่ประชาชนยังขาดองค์ความรู้และจิตสำนึกเกี่ยวกับปัญหาและการจัดการขยะ จึงไม่ให้ความสำคัญที่จะลดและคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางหรือแหล่งกำเนิด

เมื่อนึกถึงขยะ เรามักจะนึกถึงพลาสติกซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่ใช้งานได้หลากหลายและสะดวก ทำให้ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก ประมาณว่าทุกๆ นาที ทั่วโลกใช้ถุงพลาสติกกว่าหนึ่งล้านใบ และยังมีผลิตภัณฑ์พลาสติกอื่นๆ ที่มนุษย์ใช้และทิ้งอีกมากมาย เนื่องจากพลาสติกย่อยสลายช้ามาก ขยะจากพลาสติกจึงสร้างปัญหาทางสิ่งแวดล้อมชัดเจนขึ้นทุกวัน ไม่เพียงแต่เป็นปัญหาบนบก แม้ในทะเลพลาสติกก็เป็นปัญหา

ปัจจุบันการคัดแยกขยะเพื่อนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำทำได้เพียงร้อยละ 5 ของพลาสติกที่ผลิตขึ้นมา การผลิตพลาสติกชนิดย่อยสลายได้จึงเป็นความหวังที่จะมีพลาสติกที่ให้ความสะดวกแต่ไม่ก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม พลาสติกชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อว่า พลาสติกชีวภาพ (Bio-plastic)

บริษัท คอร์เบียน พูแรค (ประเทศไทย) จำกัด มีความเชี่ยวชาญในการผลิตพลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) ชนิด Polylactic acid (PLA) ที่มีคุณสมบัติสามารถย่อยสลายได้ตามมาตรฐานยุโรป (EN13432) เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของ PLA ที่ผลิตจากกรดแลกติกที่ผ่านกรรมวิธีการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วัตถุดิบที่ได้จากธรรมชาติเป็นหลัก เช่นน้ำตาลจากอ้อย เมื่อรวมกับที่โรงงานของพูแรคใช้เทคโนโลยีในที่ทันสมัย รวมทั้งควบคุมการปล่อยของเสีย รวมทั้งมีการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกรผลิตพลาสติกจากฟอสซิลและ PLA แล้ว พบว่า PLA สามารถลดปริมาณการ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้สูงถึง 3,500 กิโลกรัมต่อการผลิตพลาสติก 1,000 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ พลาสติกชีวภาพยังเป็นทางเลือกใหม่ในการใช้งานเพื่อความยั่งยืนสำหรับผู้บริโภค และยิ่งไปกว่านั้น การรีไซเคิลในรูปแบบเก่า เช่น การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ การนำไปทำปุ๋ย การย่อยสลายแบบอนินทรีย์ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของการนำโพลิเมอร์ที่ทำจาก PLA กลับมาใช้ใหม่ได้อีก จะเห็นได้ว่าการรณรงค์ให้ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันหันมาใช้ผลิตภัณฑ์จากพลาสติกชีวภาพให้มากขึ้น ทดแทนการใช้พลาสติกที่ได้จากฟอสซิลจะสามารถลดปัญหาขยะล้นเมืองได้ นับตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ เลยก็ว่าได้

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องขยะ มิใช่เรื่องของหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง และมิใช่เพียงความรับผิดชอบของภาครัฐหรือเอกชน แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยทุกคนควรตระหนักในความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยเริ่มที่การปรับเปลี่ยนทัศนคติของตน ในการที่จะลดและคัดแยกขยะมูลฝอยตั้งแต่ต้นทางหรือแหล่งกำเนิด เพราะจุดเริ่มต้นที่การลดจำนวนขยะจากเราทุกคน คือการลดภาระการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ และจะนำพาสังคมไทยไปสู่การบริหารจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนได้ในที่สุด

เพื่อเป็นการช่วยรณรงค์ให้ผู้บริโภค ได้เห็นถึงความสำคัญของการลดขยะ และรักษาสิ่งแวดล้อมบริษัท คอร์เบียน พูแรค (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำด้านการผลิตกรดแลคติค (Lactic Acid) และผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่ใส่ใจต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงได้ จับมือกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) จัดโครงการประกวดผลงานนวัตกรรม "Bioplastics Innovation Contest 2017" หรือโครงการค้นหานวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าพลาสติกชีวภาพ ภายใต้แนวคิดการใช้งานในวิถีชีวิตยุคใหม่และสังคมยั่งยืน เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนไทยใช้ความคิดสร้างสรรค์ด้านเทคโนโลยีเพื่อการตลาดและเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้านการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ เชิญชวนนิสิตนักศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีถึงปริญญาเอกส่งผลงานสร้างสรรค์นวัตกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพชิงเงินรางวัลรวมกว่า 300,000 บาท โครงการนี้สามารถต่อยอดไปได้อีกมากมาย ถ้าเรารณรงค์ช่วยกันใช้เผลิตภัณท์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ให้มากขึ้น

ถามตัวเองก่อนว่า ในบ้านของเรา ได้มีการคัดแยกขยะให้เป็นหมวดหมู่ง่ายต่อการจัดการแล้วหรือยัง ถ้าเราช่วยกันทำทุกบ้าน ก็เท่ากับว่าเรามีส่วนช่วยลดปัญหาขยะล้นเมืองได้

แล้วทำไมเราไม่ทำกันซะตั้งแต่เมื่อวาน !

ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการ Bioplastics Innovation Contest 2017 โทร 02 218 4141-42 หรือ www.petromat.org/home/bioplasticsinnovation2017/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest