ปภ.แนะเรียนรู้ป้องกัน แก้ไขเหตุฉุกเฉิน เพิ่มความระมัดระวังในการเล่นน้ำ...เที่ยวทะเลปลอดภัย

อังคาร ๒๘ มีนาคม ๒๐๑๗ ๒๑:๕๒
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย โดยตรวจสอบสภาพอากาศ หากมีประกาศเตือนภัยควรงดหรือเลื่อนการเดินทาง ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว หากเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ให้หลีกเลี่ยงการท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าว พร้อมจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็นให้พร้อมใช้งาน ที่สำคัญ ควรเลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัยสวมเสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางทุกครั้งที่เล่นน้ำ รวมทั้งไม่เล่นน้ำใกล้เครื่องเล่นทางน้ำ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการท่องเที่ยวทะเล

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวทะเล แต่หากขาดความระมัดระวังในการเล่นน้ำ ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนและคลื่นลมทะเลมีกำลังแรง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติในการท่องเที่ยวทะเลอย่างปลอดภัย ดังนี้ เตรียมพร้อม – เที่ยวทะเลปลอดภัยตรวจสอบสภาพอากาศ โดยติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีประกาศเตือนคลื่นซัดฝั่ง พายุลมแรง หรือ

ฝนตกหนัก ควรงดหรือเลื่อนการเดินทาง เปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยว ตรวจสอบสภาพแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว อาทิ ระดับความลึก ความสูง และความแรงของคลื่น กระแสลม หากเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ให้หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ หรือท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าว จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ ยารักษาโรค เสื้อชูชีพ ห่วงยางยาบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย สำหรับใช้งานในยามฉุกเฉิน รู้ทันอันตราย – เล่นน้ำทะเลปลอดภัย เลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่เล่นน้ำบริเวณที่มีระดับน้ำลึก กระแสน้ำไหลวน มีคลื่นสูงซัดฝั่ง บริเวณที่มีป้ายหรือ

ธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์มีพิษ ไม่เล่นน้ำในพื้นที่หรือช่วงเวลาเสี่ยงอันตราย โดยเฉพาะบริเวณที่มีร่องน้ำลึก มีโขดหินใต้น้ำ อีกทั้งในขณะหรือภายหลังฝนตก เพราะทะเลมีคลื่นสูงและซัดฝั่งรุนแรง จึงเสี่ยงต่อการจมน้ำเสียชีวิตหลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ อาทิ สกู๊ตเตอร์ บานาน่าโบ๊ท เจ็ตสกี เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายไม่เล่นน้ำในบริเวณที่ห่างจากกลุ่มคน เพราะหากเป็นตะคริว หรือเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที สวมเสื้อชูชีพหรือห่วงยางที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัวรอการช่วยเหลือ ดูแลการเล่นน้ำของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยให้เด็กสวมใส่เสื้อชูชีพตลอดเวลาที่เล่นน้ำ ไม่ให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่บริเวณชายหาดตามลำพัง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย โดยไม่เล่นน้ำหลังรับประทานอาหาร และไม่เล่นน้ำเป็นเวลานาน เพราะอาจเป็นตะคริว ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมก่อนเดินทาง โดยตรวจสอบสภาพอากาศ เลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่ปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการเล่นน้ำหรือประกอบกิจกรรมทางทะเลจะช่วยให้การท่องเที่ยวทะเลเป็นไปด้วยความปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest