ปภ.แนะประชาชนเรียนรู้ป้องกัน แก้ไขเหตุฉุกเฉิน เพิ่มความระมัดระวังในการเล่นน้ำ...เที่ยวทะเลปลอดภัย

พฤหัส ๒๐ เมษายน ๒๐๑๗ ๑๖:๔๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะประชาชนที่วางแผนท่องเที่ยวทะเลในช่วงฤดูร้อน ตรวจสอบสภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่ท่องเที่ยว และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็น รวมถึงเลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่เล่นน้ำในพื้นที่หรือช่วงเวลาเสี่ยงอันตราย หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ ไม่เล่นน้ำบริเวณที่ห่างจากกลุ่มคน สวมเสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี รวมถึงดูแลการเล่นน้ำ ของเด็กอย่างใกล้ชิด และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย เพื่อป้องกันการจมน้ำเสียชีวิต

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ประชาชนนิยมท่องเที่ยวทะเล แต่หากขาดความระมัดระวังในการเล่นน้ำ ประกอบกับสภาพอากาศแปรปรวนและคลื่นลมทะเลมีกำลังแรง ทำให้เสี่ยงต่อการได้รับอันตราย เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะการเตรียมพร้อมและรู้ทันอันตรายจากการเล่นน้ำทะเล ดังนี้ ตรวจสอบสภาพอากาศ โดยติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีประกาศเตือนคลื่นซัดฝั่ง พายุลมแรง หรือฝนตกหนัก ควรงดการเดินทาง เลื่อนการเดินทาง หรือเปลี่ยนสถานที่ท่องเที่ยว ตรวจสอบสภาพแวดล้อม อาทิ ระดับความลึก ความสูงและความแรงของคลื่น กระแสลม หากเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย ให้หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำ หรือท่องเที่ยวบริเวณดังกล่าว จัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องใช้ที่จำเป็น อาทิ ยารักษาโรค เสื้อชูชีพ ห่วงยาง ยาบรรเทาอาการแมลงสัตว์กัดต่อย สำหรับใช้งานในยามฉุกเฉิน เลือกเล่นน้ำในบริเวณที่ปลอดภัย ไม่เล่นน้ำ บริเวณที่มีระดับน้ำลึก กระแสน้ำวน มีคลื่นสูงซัดฝั่ง บริเวณที่มีป้ายหรือธงสัญลักษณ์เตือนอันตราย รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัย ของสัตว์มีพิษ หลีกเลี่ยงการเล่นน้ำบริเวณที่มีเครื่องเล่นทางน้ำ อาทิ สกู๊ตเตอร์ บานาน่าโบ๊ท เจ็ตสกี เพราะเสี่ยงต่อการได้รับอันตราย ไม่เล่นน้ำบริเวณที่ห่างจากกลุ่มคน เพราะหากเป็นตะคริวหรือเกิดเหตุฉุกเฉิน จะไม่สามารถช่วยเหลือได้ทันท่วงที สวมเสื้อชูชีพหรือใช้ห่วงยางที่ได้มาตรฐานอย่างถูกวิธี กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้สามารถลอยตัวรอการช่วยเหลือ ดูแลการเล่นน้ำของเด็กอย่างใกล้ชิด โดยให้เด็กสวมเสื้อชูชีพตลอดเวลาที่เล่นน้ำ ไม่ให้เด็กเล่นน้ำหรืออยู่บริเวณชายหาดตามลำพัง หากเกิดเหตุฉุกเฉิน เด็กจะไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้อย่างปลอดภัยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอัยตราย โดยไม่เล่นน้ำหลังรับประทานอาหารอิ่ม และไม่เล่นน้ำเป็นเวลานาน เพราะอาจเป็นตะคริว ทำให้จมน้ำเสียชีวิตได้ กรณีเกิดคลื่นน้ำทะเลดูด ให้ปฏิบัติตนดังนี้ ห้ามว่ายน้ำทวนกระแสน้ำเข้าหาฝั่ง ให้ปล่อยตัวไปตามกระแสน้ำ โดยพยุงตัวลอยน้ำ พร้อมชูมือขึ้นเหนือน้ำ เพื่อขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง กรณีพบเห็นผู้ถูกคลื่นน้ำทะเลดูด ให้โยนสิ่งของ ที่ลอยน้ำได้ อาทิ ห่วงยาง เสื้อชูชีพ ไปตามกระแสน้ำ พร้อมแจ้งเจ้าหน้าที่หน่วยกู้ภัยเข้าช่วยเหลือโดยด่วน ว่ายน้ำขนานไปกับ แนวชายฝั่งทะเล โดยว่ายน้ำไปในทิศทางที่มีฟองคลื่น คลื่นทะเลจะช่วยดันตัวเข้าหาฝั่ง ทั้งนี้ การเตรียมพร้อมก่อนเดินทางและการเลือกสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความปลอดภัย และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย จะทำให้การท่องเที่ยวทะเลเป็นไปด้วยความปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4