มทร.ธัญบุรี ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา

อังคาร ๐๒ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๕๑
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ นักวิจัยและอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค สามารถนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำดิบที่ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ รวมไปถึงพื้นที่ประสบปัญหาอุทกภัยและภัยพิบัติ มีขนาดเล็ก สะดวกแก่การพกพา ผลิตน้ำบริโภคที่สะอาดตามเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคขององค์กรอนามัยโลก

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ เล่าว่า เมื่อปี 2554 เป็นผู้ประสบภัยน้ำท่วม ซึ่งตอนนั้นน้ำดื่มขนาดแคลนมาก ตนเองจึงได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ผลิตน้ำขึ้นมาใช้เพื่อนำน้ำมาบริโภค ซึ่งสามารถใช้งานได้จริง จึงได้พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ โดยมี รศ.สัญญา สิริวิทยาปกรณ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ โดยอุปกรณ์ผลิตน้ำแบบพกพา สามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการบริโภค นำไปใช้ในสภาพแวดล้อมที่มีน้ำดิบ น้ำประปา น้ำผิวดิน ผลิตน้ำสำหรับบริโภคได้ 1.0 ลิตรต่อครั้ง น้ำดื่มที่ได้ตามมาตรฐานน้ำดื่มขององค์กรอนามัยโลก

หลักการทำงานของอุปกรณ์ผลิตน้ำบริโภคแบบพกพา แบ่งออก 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ขั้นตอนการแยกอนุภาคแขวนลอยที่ปนเปื้อนในน้ำดิบโดยอาศัยหลักการก่อตะกอนทางเคมี 2. ขั้นตอนการกรองน้ำด้วยเยื่อกรองเมมเบรนและอาศัยแรงดันจากชุดสร้างแรงดัน วิธีใช้เครื่อง เติมน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เติมสารก่อตะกอนในปริมาณที่เหมาะสม จากนั้นกวนเร็ว 1-2 นาที กวนช้า 10 นาที ทิ้งให้ตกตะกอน 30 นาที และปล่อยส่วนที่เป็นตะกอนทิ้ง โดยหลักการเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการประยุกต์กระบวนการผลิตน้ำสะอาดโดยใช้การก่อตะกอนและการตกตะกอนโดยใช้สารเคมี เมื่อทำการแยกตะกอนของสิ่งปนเปื้อนในน้ำแล้ว อุปกรณ์ดังกล่าวจะมีส่วนประกอบที่ใช้กระบวนการกรองน้ำด้วยเยื่อกรองเมมเบรนและชุดสร้างแรงดัน ทำให้สามารถผลิตน้ำที่มีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้บริโภคได้

โดยจุดเด่นของผลงานมีขนาดเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร สูง 32 เซนติเมตร

น้ำหนักผลงาน 1 กิโลกรัม สะดวกต่อการพกพา "ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถตอบสนองการใช้งานในสภาวะการเกิดอุทกภัย หรือภาวะขาดแคลนน้ำสะอาดสำหรับบริโภค" เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้นำอุปกรณ์ผลิตน้ำแบบพกพา เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการงาน "วันนักประดิษฐ์" ประจำปี ๒๕๖๐(Thailand Inventors' Day 2017) ณ Event Hall 102 - 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ โดยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเจ้าเครื่องดังกล่าว นำไปพัฒนาต่อยอด ผลิตและใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เนื่องจากอุปกรณ์ส่วนประกอบต่างๆ มีจำนวนน้อยชิ้นและขั้นตอนการทำงานไม่ยุ่งยากซับซ้อน หากมีการผลิตโดยใช้วัสดุอื่นๆ เช่น พลาสติก ที่มีราคาต้นทุนต่ำลง และผลิตในจำนวนมากสามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้

ในขณะทางมหาวิทยาลัยอยู่ในช่วงดำเนินการจดสิทธิ์บัตร ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธรรมศักดิ์ โรจน์วิรุฬห์ 085-4279666 โทร.0-2549-4694 ระหว่างวันที่ 23 – 27 สิงหาคมนี้ ผลงานดังกล่าวจะนำไปจัดแสดงในงาน "มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ ๒๕๖๐" Thailand Research Expo 2017 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๒๔ เม.ย. เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ