กระทรวงเกษตรฯ เปิดเวทีระดมความคิดเห็นประเด็นการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564

จันทร์ ๐๘ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๖:๔๑
นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากที่คณะรัฐมนตรี ได้มีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ปี 2560 - 2564 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ภายใต้วิสัยทัศน์ "ประเทศไทยเป็นผู้นำในระดับภูมิภาคด้านการผลิต การบริโภค การค้าสินค้า และการบริการเกษตรอินทรีย์ ที่มีความยั่งยืน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล" ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ ตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560 – 2564 ภายใต้ยุทธศาสตร์การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน และยุทธศาสตร์การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนโยบายรัฐบาล ในการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรและการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ประกอบกับนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการยกระดับมาตรฐานการเกษตรสู่ความยั่งยืน

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงวิทยาศาสตร์ในฐานะฝ่ายเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ ภายใต้การนำของท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดประชุมระดมความคิดเห็นประเด็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 ในวันนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2564 ให้ครอบคลุมทุกประเด็นซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนงานโครงการในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประมาณ 150 คน ประกอบด้วย ผู้แทนจากกระทรวงต่างๆ อาทิ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข ประมาณ 80 คน ผู้แทนภาคการศึกษา ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ทั้งที่เป็นผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และผู้บริโภค ประมาณ 70 คน

ทั้งนี้ มีประเด็นการขับเคลื่อนที่สำคัญภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้

1. ส่งเสริมการวิจัยและการสร้างองค์ความรู้ การต่อยอดงานวิจัยและสร้างนวัตกรรมการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และการจัดทำฐานข้อมูล

2. พัฒนาการผลิตสินค้าและบริการเกษตรอินทรีย์ ให้เกษตรกรได้การรับรองมาตรฐานการสร้างเครือข่าย และการบริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐาน

3. พัฒนาการตลาดสินค้าและบริการ และการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การสร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับ จัดตั้งศูนย์บริการแบบ One Stop Service

4. การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ แบบบูรณาการ ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีกลไกการขับเคลื่อนสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาร่วมเป็นเครือข่าย และจัดตั้งสถาบันพัฒนาเกษตรอินทรีย์แห่งชาติ

การประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ที่สำคัญ โดยการบูรณาการแบบมีส่วนร่วมจากทุกภาคที่เกี่ยวข้องในรูปแบบประชารัฐ ในด้านนโยบายเพื่อผลักดันแนวทางการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ไปสู่การจัดทำแผนงานโครงการในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่การผลิต ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม อันจะส่งผลต่อเป้าหมายในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ของประเทศ ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital