5 เรื่องสำคัญ แก้ปัญหาจุดตายของเด็กไอที มูลนิธิสยามกัมมาจล

พุธ ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๐๐
ต่อกล้าให้เติบใหญ่ ปี 5 เปิดค่าย 7 วัน แก้ไขจุดบอด-เสริมทักษะพื้นฐานสำคัญ ให้คนไอทีรุ่นเยาว์…ก่อนจะผลักดันผลงานสู่ผู้ใช้จริง

เมื่อประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 อย่างเต็มตัว สิ่งสำคัญที่จะมองข้ามไปไม่ได้ นั่นคือ การพัฒนากำลังคนของประเทศ เพราะถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่าในการพัฒนาประเทศ เช่นเดียวกับโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ ที่ดำเนินงานโดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กซ์ทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สนับสนุนโดย ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกันบ่มเพาะเยาวชนไอที ที่มาจากเวทีการประกวดเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งประเทศไทยให้ก้าวขึ้นสู่การเป็นนักพัฒนาผลงานด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เข้าถึง เข้าใจ และตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ได้จริง

โดยปีนี้มีผลงานของเยาวชนที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 26 ทีม จากผลงานทั่วประเทศ ล้วนแต่เป็นเยาวชนที่มีศักยภาพในการคิดสร้างผลงานทั้งที่เป็นผลงานด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ แต่ยังเป็นเพียงต้นแบบทางความคิดที่ไม่สามารถนำไปใช้ได้จริง โครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ จึงได้เสริมศักยภาพ 5 เรื่องหลักในการพัฒนาต่อยอดผลงานของเยาวชนไอที ได้แก่ เรื่องที่ 1. "การรู้จักตนเอง และเชื่อมโยงตัวเองกับสังคม"เรื่องนี้ต้องการให้เยาวชนไอทีค้นหา และสำรวจผลงานของตนเอง ดูว่างานที่ทำมันไปเชื่อมโยงกับชีวิตคนในสังคมอย่างไร ฝึกวิเคราะห์เชื่อมโยงตัวเองกับสังคม เพื่อให้ได้โจทย์ปัญหาและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมาใช้ในการพัฒนาผลงาน เรื่องที่ 2. "การวิเคราะห์ผู้ใช้งาน" หัวข้อนี้ได้ออกแบบให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมจำลองการสัมภาษณ์ CEO มุ่งให้เยาวชนได้ทำความเข้าใจผู้ใช้งานจริงโดยฝึกให้เยาวชนรู้จักเก็บข้อมูลจากการตั้งคำถาม และการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องUser Experience (UX) / User Interface (UI) ที่อยากให้ผู้เรียนลองออกแบบผลิตภัณฑ์โดยยึดจากประสบการณ์ของผู้ใช้มาช่วยออกแบบกระบวนการวิจัย หรือผลิต รวมไปถึงรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่คนเห็นแล้วเข้าใจง่าย หรือเมื่อได้ลองใช้แล้วรู้สึกประทับใจ เรื่องที่ 3. "การพัฒนาผลงานที่มีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์" คือ ให้เยาวชนฝึกวิเคราะห์ปัญหา และค้นหาเทคโนโลยีมาใช้กับผลงานของตนที่มีความแตกต่างจากสิ่งที่มีอยู่ในตลาด ซึ่งสิ่งนั้นต้องมีคุณค่ากับตนเองและสังคม เรื่องที่ 4. "การสร้างแบรนด์ให้โดนใจ" หัวข้อนี้ต้องการให้เยาวชนเกิดทักษะในการสร้างแบรนด์ที่มีความแตกต่าง และเข้าใจเรื่องกลยุทธ์ทางการตลาด เพื่อให้ผู้บริโภคจดจำกับสินค้าหรือผลงานชิ้นนั้นได้ เรื่องที่ 5. "เทคนิคการนำเสนองานอย่างมืออาชีพ" เรื่องนี้มุ่งเน้นให้เยาวชนไอทีเกิดทักษะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ทั้งต่อทีมและต่อสาธารณะโดยฝึกการพูดการนำเสนอผลงานให้น่าดึงดูดความสนใจ

ดร.กัลยา อุดมวิทิต กล่าวว่า "นอกจากความรู้ในค่ายแล้ว เรายัง พาน้องๆออกไปดูงานและพูดคุยกับกลุ่มstart up ที่อยู่ในธุรกิจไอที หรือธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เขาได้เห็นสถานการณ์จริงว่าเวลาใช้งาน ใช้อย่างไร แล้วคนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจจริงๆเขามีประสบการณ์ที่จะพัฒนางานจนกลายเป็นผลงานที่ใช้ได้จริง ได้อย่างไร ซึ่งส่วนนี้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้กับน้องๆในค่าย ที่เห็นตัวอย่างจากผู้ที่ประสบความสำเร็จ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหรือทำงาน ทั้งหมดนี้เราเพียงต้องการเสริมแนวคิด แต่เด็กจะเป็นคนสังเคราะห์และมองย้อนกลับไปในผลงานตัวเองมากกว่าว่าเขาจะพัฒนาผลงานอะไร ทำเพื่อใคร ประโยชน์คืออะไรบ้าง ซึ่งเป็นสิ่งที่เด็กสามารถนำไปใช้ต่อในอนาคตได้ นอกจากเด็กได้หลักคิดแล้ว เขายังได้เรื่องการทำงานเป็นทีม การอยู่ร่วมกับคนอื่น ซึ่งถือว่าเป็นคุณลักษณะของคนรุ่นใหม่ที่น่าจะสนับสนุนให้เกิดขึ้น"

การอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพพัฒนาต่อยอดผลงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งนี้ได้เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เยาวชนสายไอทีที่มีฝันสร้างสรรค์ผลงาน ไปสู่ผู้ใช้จริง….เริ่มจาก น.ส.ภาดา โพธิ์สอาด (พี) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว "การมาเข้าค่ายครั้งนี้ ถือว่าเป็นโอกาสที่ทำให้หนูได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อน ได้เพิ่มเติมทักษะและประสบการณ์บางอย่างที่เคยเรียนมาให้เข้าใจมากขึ้น อย่างเช่น ในคลาสของ UI /UX เป็นบรรยายกาศที่ให้ทั้งความสนุก ทำให้เรามองเห็นในมุมของ User มากขึ้น หรือการวางแผนในการพัฒนาผลงานของเราให้ทันในเวลาที่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะเดียวกันก็ได้เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งมันดีกว่าการนั่งฟัง หรืออ่านจากหนังสือ ได้พูดคุยกับทีมอื่นๆ ได้เห็นมุมมองใหม่จากคนอื่นเพื่อนำไปพัฒนาผลงานของเรา หนูจึงคิดว่าค่ายนี้เป็นค่ายที่ให้ทั้งความรู้ และโอกาสสำหรับคนที่มี Passion มีฝันอยากทำผลงานไปสู่ผู้ใช้จริงได้"

ส่วน น.ส.ทรินันท์ คงนคร (แพ็ม) นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง เป็นอีกหนึ่งคนที่ได้เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ กล่าวว่า "รู้สึกดีใจที่มีโอกาสการเข้าค่ายครั้งนี้ เพราะเป็นเด็กต่างจังหวัด ตอนแรกก็คิดว่าคงไม่ได้มาแน่ๆ แต่เราก็แอบหวังนิดๆว่าจะได้มา แต่พอได้เข้ามาแล้วก็พยายามเก็บเกี่ยวความรู้และประสบการณ์ที่เรียนแต่ละครั้งไปให้มากที่สุด ซึ่งก่อนหน้าที่จะได้มานั้น หนูทำโครงงานที่ไม่เป็นระบบ แต่ในค่ายได้สอนให้เรารู้ว่าขั้นตอนการทำงานจะต้องเริ่มจากอะไร จัดการอย่างไร ผู้ใช้คือใคร งานของเราไปช่วยแก้ปัญหาอะไร หรือเรื่องการทำงานเป็นทีมก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะทั้งหมดนี้จะช่วยให้งานของเราเดินไปตามเป้าหมาย รวมไปถึงเรื่องเทคนิคการนำเสนอผลงาน ทำอย่างไรให้งานของเราดูน่าสนใจและคนจดจำได้ ค่ายนี้จึงเป็นการรวมตัวของคนเล็กๆที่มีฝันเหมือนกันที่เดินไปด้วยกัน"

ด้าน อาจารย์พัชรา พงศ์มานะวุฒิ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง กล่าวว่า "เป็นนี้เป็นปีที่ 3 ที่เราสนับสนุนให้เด็กมาร่วมโครงการนี้ เพราะครูเล็งเห็นว่างานเด็กที่พัฒนาขึ้นมาแล้ว ไม่ได้เป็นโครงงานที่วางอยู่เฉยๆแต่ โครงการนี้เขาให้โอกาสเยาวชนไอทีที่มีฝันพัฒนาผลงานไปถึงมือผู้จริงในสังคมได้ เด็กที่มาเข้าร่วมค่ายก็จะได้ความรู้ และประสบการณ์ที่ต่างจากในห้องเรียน ทำให้เด็กเข้าใจงานตัวเองได้ชัดขึ้น สำหรับครูแล้วก็มองเห็นว่ากระบวนการสอนในค่ายของโครงการต่อกล้าฯมีประโยชน์มากที่เราจะดึงเทคนิคต่างๆไปปรับเรื่องการเรียนการสอนในห้องเรียน เช่น เราสามารถดึงศักยภาพ และความกล้าของเด็กออกมาได้ อย่างเด็กบางคนที่ไม่ค่อยกล้าพูด แต่ในตัวเขามีความคิด มีไอเดียดีๆอยู่เยอะ แต่เมื่อนำกิจกรรมเหล่านี้เสริมเข้าไปในการสอน ทำให้เขากล้าที่จะแสดงความคิดเห็นออกมา หรือการจำลองสถานการณ์ให้เด็กคิดและลงมือแก้ปัญหาจริงๆ มันก็ทำให้เขามองเห็นงานตัวเองชัดขึ้น เพราะฉะนั้นเด็กก็จะเรียนได้อย่างมีความสุข ซึ่งผลลัพธ์จากสองปีที่ผ่านมาเด็กนักเรียนที่มีโอกาสเข้าร่วมโครงการฯ เขาก็สามารถเป็นตัวแทนของครูได้ สามารถช่วยให้คำปรึกษาเรื่องเทคนิค หรือคำแนะนำในการพัฒนางานแก่เพื่อนๆและรุ่นน้อง"

นี่อาจเป็นโครงการดีๆ อีกโครงการหนึ่งที่แบ่งปันพื้นที่แห่งการเรียนรู้ที่ไม่ใช่แค่เสริมศักยภาพการพัฒนาผลงานด้านนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ยังได้ติดอาวุธทางปัญญาเรื่องอื่นๆที่มีความจำเป็นสำหรับ "นักสร้างสรรค์นวัตกรรม และเทคโนโลยีรุ่นใหม่" ที่มีความคิดสร้างสรรค์ และมีใจพร้อมที่จะเข้าไปช่วยแก้ปัญหา ช่วยพัฒนาให้กับชุมชน สังคม จนถึงระดับประเทศในอนาคตอันใกล้

ติดตามรายละเอียดของโครงการต่อกล้าให้เติบใหญ่ และโครงการอื่นๆของเยาวชนได้ที่

https://www.scbfoundation.com/ หรือแฟนเพจเฟสบุค https://www.facebook.com/SCBFOUNDATION/

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ปองหทัย สวาคฆพรรณ เจ้าหน้าที่สื่อสารสังคมมูลนิธิสยามกัมมาจล 081 318 0423 / E-mail :[email protected]

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4