กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปรับแผนการปลูกพืชเร็วขึ้นเพื่อให้ทันก่อนฤดูน้ำหลาก และเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย

พฤหัส ๒๕ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๓:๒๙
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศการเข้าสู่ฤดูฝนปี 2560 อย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันนี้ 16 พ.ค. 60 ที่ผ่านมา ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมชลประทาน ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูฝนปี 2560 พร้อมกับวางแผนการบริหารจัดการน้ำและการเพาะปลูกพืชฤดูฝนปี พ.ศ. 2560 ทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานทั่วประเทศ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการผลิตข้าวครบวงจร 15.95 ล้านไร่ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึง การบริหารจัดการน้ำและการวางแผนปลูกพืชฤดูฝน ปี 2560 ในเขตชลประทานของลุ่มน้ำเจ้าพระยา พื้นที่ 7.6 ล้านไร่ ว่า ได้ปรับปฏิทินการส่งน้ำให้กับพื้นที่ลุ่มต่ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบน คือ พื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ 265,000 ไร่ ให้ทำนาปีให้เร็วขึ้น ตั้งแต่ 1 เม.ย. - 31 ก.ค. 60 เพื่อให้เก็บเกี่ยวทันก่อนฤดูน้ำหลาก และจะใช้พื้นที่ลุ่มต่ำนี้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำ/รับน้ำนองในช่วงเดือนสิงหาคมได้ประมาณ 400 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งตรงกับความต้องการ และได้รับผลตอบรับจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นอย่างดี ปัจจุบันเพาะปลูกไปแล้วเต็มพื้นที่ อีกทั้งปรับปฏิทินการส่งน้ำเพื่อทำนาปีให้เร็วขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 1.15 ล้านไร่ โดยเริ่มส่งน้ำให้ตั้งแต่ 1 พ.ค. 60 เป็นต้นมา เพื่อเก็บเกี่ยวให้แล้วเสร็จก่อนสิ้นเดือนสิงหาคม หลีกเลี่ยงน้ำหลากในเดือนกันยายนของทุกปี เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตข้าวเสร็จแล้ว จะใช้เป็นพื้นที่ตัดยอดน้ำบริเวณหน้าเขื่อนเจ้าพระยาในช่วงที่เกิดน้ำหลาก โดยสามารถรองรับปริมาณน้ำได้ประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้มีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณร้อยละ 80 ของพื้นที่เป้าหมายที่วางไว้ สำหรับพื้นที่ดอน 6.19 ล้านไร่ ได้เริ่มส่งน้ำให้ทำการเพาะปลูกแล้วตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค. 60 ปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้วประมาณ 700,000 ไร่นอกจากนี้ พื้นที่โครงการชลประทานอื่น ๆ รวมทั้งลุ่มน้ำแม่กลอง และพื้นที่นอกเขตชลประทานทั่วประเทศ เริ่มส่งน้ำเข้าระบบชลประทาน เพื่อให้เกษตรกรเพาะปลูกตามฤดูกาลปกติแล้วเช่นกัน

สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันมี 4 จังหวัด ได้แก่ จ.พิษณุโลก จ.สุโขทัย จ.นครสวรรค์ และ จ.สกลนคร สาเหตุเกิดจากฝนที่ตกหนัก เป็นผลมาจากความกดอากาศต่ำ โดยเกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เกษตรกรรม และบ้านเรือน ทั้งนี้ กรมชลประทานได้เข้าไปดำเนินการให้ความช่วยเหลือ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เน้นย้ำการเตรียมความพร้อม โดยสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสำรวจระบบระบายน้ำ สิ่งกีดขวางทางน้ำ ตลอดจนประตูระบายน้ำต่าง ๆ อีกทั้ง กรมชลประทานยังเตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ รถขุด ในบริเวณพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยได้นำเครื่องจักร – เครื่องมือ มาประเมินสถานการณ์ อาทิ เครื่องสูบน้ำ 2,193 เครื่อง เครื่องผลักดันน้ำ 262 เครื่อง รถขุด 366 คัน เป็นต้น ส่งให้ในพื้นที่ทั้ง 4 ภาคภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ เรียบร้อยแล้ว ตลอดจนขอให้ประชาชนมั่นใจว่า สถานการณ์น้ำในปีนี้มีความพร้อมรับน้ำที่จะมาถึง เนื่องจากผลการทำงานในระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา มีประสิทธิภาพ มีพื้นที่รองรับน้ำถึง 2,000 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงการพัฒนาระบบระบายน้ำต่าง ๆ สามารถระบายน้ำออกไปสู่ทะเลได้ไว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4