ปภ. วางแผนจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย เพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือ – พัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ประสบภัย

อังคาร ๓๐ พฤษภาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๑๑
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ดำเนินการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยชนิดปรับระดับฐานล้อยกสูง พร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด สนับสนุนให้ศูนย์ ปภ.เขต ซึ่งได้ยึดการปฏิบัติตามระเบียบการจัดหาพัสดุราชการทุกขั้นตอน ทั้งการเผยแพร่ รับฟังความคิดเห็น การยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค การพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการส่งมอบงาน บนหลักการเปิดเผย โปร่งใส ภายใต้กลไกการแข่งขันด้านราคาอย่างเป็นธรรม โดยเครื่องจักรกลดังกล่าวสามารถใช้งานได้ทั้งบนพื้นราบ ที่ลาดชัน เนินเขา และพื้นที่น้ำท่วมขัง ซึ่งในภาวะวิกฤติ เป็นเครื่องมือสำคัญในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ส่วนในภาวะปกติ ปภ.ได้นำมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพในการทำงานให้กับเจ้าหน้าที่ ปภ. อปท. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนปภ.ชาติ พ.ศ. 2558 และกรอบการปฏิบัติงานในระดับสากล รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและบริหารจัดการสาธารณภัยของภาครัฐ

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สาธารณภัยของประเทศทวีความรุนแรงและมีรูปแบบซับซ้อนมากขึ้น โดยเฉพาะอุทกภัย ดินโคลนถล่ม และอาคารถล่ม ปภ.จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพสูง พร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และเพิ่มโอกาสในการรอดชีวิตของผู้ประสบภัย โดย ปภ. ได้จัดทำแผนการจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ระยะ 4 ปี โดยวางแผนจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยชนิดปรับระดับฐานล้อยกสูงพร้อมอุปกรณ์ขุด – เจาะ – ตัก – ตัด สนับสนุนให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 18 ศูนย์ฯ เขต ซึ่งแต่ละศูนย์ฯ เขต มีพื้นที่รับผิดชอบ 3 – 5 จังหวัด แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณ ปภ.ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2559 ในการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ เพียงจำนวน 6 คัน โดยได้จัดสรรให้ศูนย์ปภ.เขต 6 แห่ง ซึ่ง ปภ. จะได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมในการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ สนับสนุนให้ศูนย์ ปภ. เขต ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป กรณีเกิดสาธารณภัยนอกเขตพื้นที่รับผิดชอบของศูนย์ฯ เขต ดังกล่าว สามารถเคลื่อนย้ายรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ไปปฏิบัติการสนับสนุนการช่วยเหลือผู้ประสบภัย สำหรับการดำเนินการจัดหารถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ปภ.ได้ยึดการปฏิบัติตามระเบียบการจัดหาพัสดุราชการทุกขั้นตอน ทั้งการเผยแพร่ รับฟังความคิดเห็น การยื่นข้อเสนอด้านเทคนิค การพิจารณาคุณสมบัติ รวมถึงการส่งมอบงาน บนหลักการเปิดเผย โปร่งใส ภายใต้กลไกการแข่งขันด้านราคาอย่างเป็นธรรม ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ตามระเบียบการจัดหาพัสดุของราชการ พร้อมได้แต่งตั้งคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ด้านเครื่องจักรกลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และการท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยได้มีการจัดประชุมพิจารณาการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะครุภัณฑ์ (Spec) ด้านเทคนิคและราคากลาง โดยเปรียบเทียบสมรรถนะและคุณสมบัติของเครื่องจักรกลจากผู้ผลิตหลายบริษัท ซึ่งเป็นตัวแทนที่นำเข้าครุภัณฑ์จากต่างประเทศ รวมถึงได้มีการเผยแพร่รับฟังความคิดเห็นร่างประกาศและร่างเอกสารประกวดราคาทางเว็บไซต์กรมบัญชีกลางและกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยมีผู้สนใจขอรับเอกสารฯ จำนวน 12 ราย ซึ่งผู้เสนองานที่ได้รับการพิจารณาให้เป็นคู่สัญญาได้เสนอราคาในวงเงินงบประมาณ ซึ่งต่ำกว่าราคากลางจำนวน 6 ล้านบาท ทั้งนี้ รถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ดังกล่าวมีคุณสมบัติพิเศษแตกต่างจากรถขุดตักล้อยางทั่วไป โดยสามารถใช้งานได้ในทุกสภาพพื้นที่ ทั้งบนพื้นราบ ที่ลาดชัน เนินเขา และในพื้นที่น้ำท่วมขัง โดยเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งต้องดำเนินการผ่านตัวแทนผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ ส่วนการกำหนดราคากลางของรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ได้อ้างอิงราคาของตัวแทนผู้จำหน่ายภายในประเทศไม่น้อยกว่า 3 ราย โดยมีเจตนาเพื่อเปิดกว้างให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมตามแนวทางการจัดหาพัสดุของราชการ โดยคณะกรรมการตรวจรับพัสดุได้ตรวจสอบรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ที่ได้รับการส่งมอบแล้ว พบว่า เป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญาและข้อกำหนดใน TOR ทุกประการ ซึ่ง ปภ.ได้จัดสรรรถขุดล้อยางกู้ภัยฯ ดังกล่าว ให้ศูนย์ ปภ.เขต 6 แห่ง นำไปใช้ในการปฏิบัติการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ ทั้งนี้ ปภ.ได้ให้ความสำคัญกับประเด็นที่เป็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่มีการเผยแพร่ทางสื่อมวลชน โดยเฉพาะความโปร่งใสในการทำงาน และการยึดการปฏิบัติตามระเบียบทางราชการ พร้อมขอเรียนยืนยันว่า ปภ.มีความจำเป็นต้องจัดหาเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยไว้ประจำหน่วยงาน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว รวมถึงพัฒนาศักยภาพในการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยใช้ในการฝึกอบรมการใช้อุปกรณ์แก่เจ้าหน้าที่ ปภ. และหน่วยงานภาคีเครือข่าย ซึ่งแนวทางดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และกรอบการปฏิบัติงานในระดับสากล ช่วยสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนในการเตรียมพร้อมรับมือและบริหารจัดการสาธารณภัยของภาครัฐ รวมถึงสอดคล้องกับนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา