กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมขับเคลื่อนโครงการ “5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง” ระดับกระทรวง พร้อมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ

อังคาร ๐๖ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๔:๑๖
กระทรวงเกษตรฯ จัดประชุมขับเคลื่อนโครงการ "5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง" ระดับกระทรวง พร้อมติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ด้าน สศก. เผยผลการประเมินโครงการฯ ทั้ง 77 จว. ใน 3 เดือนแรก พบเกษตรสามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25

เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2560 เวลา 9.00 น. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดการประชุมขับเคลื่อนโครงการ "5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง" ระดับกระทรวง และการติดตามการดำเนินงานในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยมี พลเอก ประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุม และมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย หน่วยงานในสังกัด ปราชญ์เกษตร ภาคประชารัฐ ภาคสถาบันการศึกษา ประธานกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แบบเบ็ดเสร็จ และเกษตรและสหกรณ์จังหวัด 17 จังหวัดภาคเหนือ ณ ห้องประชุมจามเทวี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดลำพูน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน

??พลเอกประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ) มีนโยบายให้จัดทำโครงการ "5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง" เพื่อรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ และเผยแพร่พระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตลอดทั้งเป็นการเผยแพร่แนวพระราชดำริเกษตรทฤษฎีใหม่ไปสู่สาธารณชน โดยส่งเสริมให้เกษตรกรที่มีความสมัครใจจาก 882 อำเภอ รวม 70,000 ราย ได้น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเองอย่างเหมาะสม ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ของเกษตรกร โดยมุ่งหวังจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อันเกิดจากการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน โดยการสร้างอาชีพอย่างเหมาะสมกับทรัพยากรและปัจจัยการผลิตที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า โดยได้คัดเลือกเกษตรกรที่มีความพร้อมเพื่อดำเนินการในปี 2560 จำนวน 70,000 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ เกษตรกรกลุ่มพร้อมมาก (Cell ต้นกำเนิด) จำนวน 21,000 ราย ดำเนินการช่วงเดือน ก.พ. - เม.ย. 60 เกษตรกรกลุ่มพร้อมปานกลาง (Cell แตกตัว ครั้งที่ 1) จำนวน 42,000 ราย ดำเนินการช่วงเดือน พ.ค. - ก.ย. 60 และเกษตรกรกลุ่มพร้อม (Cell แตกตัว ครั้งที่ 2) จำนวน 7,000 ราย ดำเนินการช่วงเดือน ต.ค. - ธ.ค. 60 โดยเกษตรกรกลุ่ม Cell ต้นกำเนิดที่ประสบผลสำเร็จจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำการดำเนินกิจกรรมตามแผนการผลิตให้แก่เกษตรกรกลุ่ม Cell แตกตัว

ทั้งนี้ จากการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รายงานผลการประเมินผลโครงการ "5 ประสาน สืบสานเกษตรทฤษฎีใหม่ ถวายในหลวง" ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 1 ก.พ. - 30 เม.ย.60 เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการกับเกษตรกรเป้าหมาย กลุ่มพร้อมมาก จำนวน 21,000 ราย โดยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากรเป้าหมาย ทั้ง 77 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 1,810 ราย โดยสรุปผลเป็น 3 ด้านหลัก ดังนี้

1.มูลค่าผลตอบแทนสุทธิทางการเกษตรในพื้นที่โครงการ พบว่า การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการทำกิจกรรมในแปลงแบบเกษตรผสมผสาน มีการเกื้อกูลกัน โดยหลังจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการและมีการลงมือทำกิจกรรมการผลิต โดยเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 93.33 มีผลผลิตจากแปลงที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนเกษตรกรที่เหลือร้อยละ 6.67 อยู่ระหว่างการดำเนินการ สำหรับเกษตรกรที่ได้รับผลผลิตแล้วได้รับผลตอบแทนสุทธิจากกิจกรรมการเกษตรเพิ่มขึ้นจากเดิม 16,547 บาท/เดือน เป็น 21,160/บาท หรือเพิ่มขึ้น 4,613 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 27.88

2.การลดรายจ่ายในครัวเรือนโดยการพึ่งพาตนเอง โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า (1) การลดรายจ่ายในครัวเรือน สามารถลดรายจ่ายในครัวเรือนจากเดิม 426 บาท/เดือน เป็น 533 บาท/เดือน หรือสามารถลดได้เพิ่มขึ้น 107 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 25

(2) การลดต้นทุนการผลิตทางการเกษตรโดยใช้ปัจจัยการผลิตของตนเอง เช่น การเก็บพันธุ์ไว้ใช้เอง การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ฮอร์โมน ยาฆ่าแมลง ยาปราบศัตรูพืช และการผลิตอาหารสัตว์ไว้ใช้เองแทนการซื้อจากภายนอก พบว่า เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตโดยการพึ่งพาตนเอง จากเดิม 140 บาท/เดือน เป็น 170 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 21 (3) การลดต้นทุนค่าจ้างแรงงาน โดยการใช้แรงงานในครัวเรือน แทนการจ้างแรงงานภายนอก พบว่า เกษตรกรสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนโดยการพึ่งพาแรงงานของตนเองจากเดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ 332 บาท/เดือน เป็น 386 บาท/เดือน หรือสามารถลดค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น 54 บาท/ เดือน คิดเป็นร้อยละ 16

3.คุณภาพชีวิตของเกษตรกร แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ (1) สภาพหนี้สินของครัวเรือนเกษตรกร พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีหนี้สิน (ณ 31 ม.ค. 60) จำนวน 296,085 บาท และหลังเข้าร่วมโครงการ เกษตรกรมีหนี้คงเหลือ (ณ 3 เม.ย. 60) จำนวน 294,688 บาท หรือหนี้สินลดลง 1,397 บาทโดยมีจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่มีหนี้สินลดลง ร้อยละ 15.65 ของจำนวนเกษตรกรที่มีหนี้สินทั้งหมด ทั้งนี้ จำนวนหนี้สินที่ลดลงส่วนหนึ่งเกิดจากการชำระหนี้ที่เป็นปกติของเกษตรอยู่แล้ว และบางส่วนเกิดจากการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่มาชำระหนี้ ทั้งนี้ ในส่วนของหนี้สินที่ยังไม่ลดลง เนื่องจากยังไม่ถึงกำหนดชำระหนี้ ผลผลิตยังมีไม่มาก และมีการลงทุนปรับพื้นที่เพิ่มทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เป็นต้น(2) การเคลื่อนย้ายแรงงาน เนื่องจากการทำเกษตรทฤษฎีใหม่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ทำให้มีกิจกรรมและรายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งหลังจากเข้าร่วมโครงการแล้วเกษตรกรมีการเคลื่อนย้ายแรงงานลดลงจากเดิม ร้อยละ 9.56 เป็นร้อยละ 0.72 หรือลดลงร้อยละ 8.84 เนื่องจากสมาชิกในครัวเรือนบางส่วนได้ย้ายกลับมาทำงานในพื้นที่มากขึ้น และบางส่วนได้กลับมาทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งมีกิจกรรมและรายได้ตลอดทั้งปี (3)การบริโภคสินค้าปลอดจากสารพิษ การทำเกษตรทฤษฎีใหม่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเอง ลดการพึ่งพาภายนอก ดังนั้น การที่เกษตรกรบริโภคผลผลิตของตนเองที่อยู่ในแปลงจึงมีความปลอดภัยจากสารพิษ โดยเกษตรกรมีการบริโภคผลผลิตของตนเองจากเดิม มูลค่า 426 บาท/เดือน เพิ่มขึ้นเป็นมูลค่า 533 บาท/เดือน หรือเพิ่มขึ้น 107 บาท/เดือน คิดเป็นร้อยละ 25(4) การลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นของครัวเรือน การทำเกษตรทฤษฎีใหม่โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเปลี่ยนแปลงไป โดยหลังจากเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ เกษตรกร ร้อยละ 77.66 มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเท่าเดิม เกษตรกรร้อยละ 3.98 มีค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยเพิ่มขึ้น และเกษตรกรร้อยละ 18.36 มีค่าใช้จ่ายลดลง เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้จ่าย เช่น ลดการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเล่นพนัน รวมถึงการได้เห็นจำนวนค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจากการจัดทำบัญชีครัวเรือน ทำให้เกษตรกรตระหนักถึงการออมเพิ่มขึ้น

? สำหรับการจัดประชุมขับเคลื่อนโครงการ ฯ ในครั้งนี้ เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมาของ 77 จังหวัด และติดตามความก้าวหน้าของหน่วยงานส่วนภูมิภาคในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ซึ่งจังหวัดลำพูน มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 353 ราย จำแนกเป็น กลุ่มพร้อมมาก 124 ราย กลุ่มพร้อมปานกลาง 202 ราย และกลุ่มพร้อม 27 ราย ทั้งนี้ ได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรCell ต้นกำเนิด (เกษตรกรกลุ่มพร้อมมาก) และเกษตรกร Cell แตกตัว ครั้งที่ 1 (เกษตรกรกลุ่มพร้อมปานกลาง) ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูนด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital