มรภ.สงขลา คว้ารางวัลนำเสนอผลงานระดับชาติ “วิทยาศาสตร์วิจัย”

พฤหัส ๐๘ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๑๙
คณะวิทยาศาสตร์ฯ มรภ.สงขลา คว้า 2 รางวัลนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ จากงานวิจัยดีเด่นเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนฯ และรางวัลชมเชยจากการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะพื้นที่ จ.สตูล

เมื่อเร็วๆ นี้ คณาจารย์และนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เดินทางไปร่วมนำเสนอผลงานวิชาการในงานประชุมระดับชาติ วิทยาศาสตร์วิจัย ครั้งที่ 9 ณ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลปรากฏว่างานวิจัยเรื่อง แบบจำลองการระบาดที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนและคัดแยก ของ น.ส.มาริษา สวนนิ่ม และ น.ส.จิรนันท์ คุ่มเคี้ยม นักศึกษาโปรแกรมวิชาคณิตศาสตร์ ที่มี นายอดิศักดิ์ เด็นเพ็ชรหน๋อง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ได้รับรางวัลระดับดีเด่น การนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ กลุ่มสาขาคณิตศาสตร์ สถิติ และคณิตศาสตร์ศึกษา งานวิจัยดังกล่าวพัฒนาแบบจำลองการระบาดเมื่อมีการฉีดวัคซีนและการกักกัน แบ่งประชากรออกเป็น 6 กลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ กลุ่มฟักเชื้อ กลุ่มติดเชื้อ กลุ่มที่หายจากการติดเชื้อ กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีน และ กลุ่มที่ถูกกักกันหรือคัด โดยนำมาใช้ในการพยากรณ์การระบาดของโรคอีสุกอีใส ปี 2559 ในพื้นที่ จ.สงขลา พร้อมทั้งเปรียบเทียบจำนวนผู้ติดเชื้อที่ได้จากการพยากรณ์กับข้อมูลที่เกิดขึ้นจริง พบว่าแบบจำลองพยากรณ์ได้ค่อนข้างแม่นยำ ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการศึกษาการแพร่ระบาดของโรค ในการพยากรณ์ถึงจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ และช่วงเวลาของการระบาด เพื่อสร้างวัคซีนป้องกันโรคที่เพียงพอต่อการแพร่ระบาด รวมถึงสามารถควบคุมการระบาดของโรคด้วยวิธีกักกันหรือการคัดแยก เพื่อลดพื้นที่เสี่ยงต่อประชากรที่ติดเชื้อจากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไปยังอีกที่หนึ่งได้

ในงานเดียวกัน มรภ.สงขลา ยังได้รับรางวัลชมเชย กลุ่มเคมี เครื่องมือวัสดุ และเคมีศึกษา จากการนำเสนอผลงานแบบบรรยายเรื่อง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลจำปาดะในพื้นที่ จ.สตูล ของ น.ส.นันธิดา ลิ่มเสฎโฐ อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาเคมีและเคมีประยุกต์ โดยมีทีมนักศึกษาเป็นผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย นายนูรุดดีน กอเฉม น.ส.เพียงใจ ไกรแก้ว น.ส.ภัสราภรณ์ ทองเอื้อย และ นายศรันต์ สุวรรณโณ งานวิจัยเรื่องนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย มรภ.สงขลา ที่ร่วมมือกับ อบจ.สตูล ซึ่งที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะ พืชท้องถิ่นของจังหวัด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงหาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในจำปาดะสายพันธุ์พื้นเมืองและสายพันธุ์น้ำดอกไม้ โดยศึกษาในส่วนของเนื้อ เมล็ด ขน เปลือก และแกน เพื่อพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์จากจำปาดะให้กับชุมชน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐:๕๙ ซีเอเค อินเตอร์เนชั่นแนล ให้การต้อนรับอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.ศรีปทุม
๒๐:๓๑ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่เพื่อติดตามความก้าวหน้าตามข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
๒๐:๕๒ Vertiv เปิดตัวดาต้าเซ็นเตอร์ไมโครโมดูลาร์รุ่นใหม่ที่มี AI ในเอเชีย
๒๐:๐๙ พิธีขึ้นเสาเอก เปิดไซต์ก่อสร้าง โครงการ แนชเชอแรล ภูเก็ต ไพรเวท พูลวิลล่า บ้านเดี่ยวบนทำเลทองใจกลางย่านเชิงทะเล
๒๐:๔๖ เขตบางพลัดประสาน รฟท.-กทพ. ปรับภูมิทัศน์ เพิ่มพื้นที่สีเขียวหน้าสถานีรถไฟบางบำหรุ
๒๐:๕๘ ร่วมแสดงความยินดีแก่อธิบดีกรมยุโรป ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ฯ เซ็นทรัลเวิลด์
๒๐:๐๓ กทม. เดินหน้าจัดกิจกรรมริมคลองโอ่งอ่าง ส่งเสริมอัตลักษณ์ กระตุ้นเศรษฐกิจ-การท่องเที่ยว
๒๐:๔๙ พาราไดซ์ พาร์ค ร่วมกับ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พาคุณไปสัมผัสการนวดเพื่อสุขภาพจาก 4 ภูมิภาคของไทย
๒๐:๒๔ Digital CEO รุ่นที่ 7 เรียนรู้เข้มข้นต่อเนื่อง จากวิทยากรชั้นนำของวงการ
๒๐:๒๔ เด็กไทย คว้ารางวัลระดับโลก โดรนไทย ชนะเลิศนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ทางด้านอากาศยานไร้คนขับ UAV ณ กรุงเจนีวา