ปภ.ประสาน 7 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นในช่วงวันที่ 7 – 9 มิ.ย. 60

ศุกร์ ๐๙ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๘:๑๖
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 7 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี เตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำ ระดับน้ำ และสภาพอากาศ พร้อมเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนให้ติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำและปฏิบัติตามประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 7 – 9 มิถุนายน 2560 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนกลางประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น สำนักงานชลประทานที่ 12 จึงต้องควบคุมปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในเกณฑ์ 700 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ต่อไปอีกระยะหนึ่ง อาจส่งผลให้มีน้ำหลากเพิ่มมากขึ้น ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนเจ้าพระยาถึงตำบลบางหลวงโดด อำเภอบางบาล และตำบลบ้านกระทุ่ม ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสาน 7 จังหวัดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี เตรียมพร้อมรับมือระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่เพิ่มสูงขึ้น โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง รวมถึงจัดชุดเคลื่อนที่เร็ว และเครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทันทีที่เกิดสถานการณ์ภัย พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำนอกเขตชลประทานและพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซากเพิ่มอย่างน้อย 1 เครื่อง อีกทั้งแจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรที่ปลูกพืชและเสี้ยงสัตว์น้ำ ผู้ประกอบการแพร้านอาหาร และงานก่อสร้างเขื่อนให้ติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำ และประกาศเตือนภัยจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงที่มีฝนตกต่อเนื่องและระดับน้ำทะเลหนุนสูงให้จัดเก็บและขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากแนวน้ำท่วม ผูกยึดกระชังเลี้ยงปลาให้มั่นคงแข็งแรง รวมถึงจัดทำแนวคันกั้นน้ำและติดตั้งเครื่องสูบน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่นอกแนวคันกั้นน้ำ ทั้งนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสาขา หรือสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4