สสว. ผนึกกำลังสถาบันอาหารและ มทร.ธัญบุรี สนับสนุนเครือข่าย SME กลุ่มมะพร้าวและสมุนไพรไทย พืชอุตสาหกรรมที่ตลาดมีความต้องการสูง

อังคาร ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๕๗
สสว. ผนึกกำลังสถาบันอาหาร และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เปิดตัวโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2560 หนุนรวมกลุ่มธุรกิจเกษตรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกมะพร้าวและสมุนไพรไทยประเภทออแกนิกส์ 30 เครือข่าย ด้วยการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มอายุการเก็บรักษา และพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากสมุนไพรให้สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ คาดผู้ประกอบการได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 4,000 ราย

นางสาลินี วังตาล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว. ได้บูรณาการความร่วมมือกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ดำเนินโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ปี 2560 ภายใต้งบประมาณ 60 ล้านบาท เพื่อสร้างเครือข่ายและยกระดับ SME ในอุตสาหกรรมมะพร้าวและสมุนไพรตลอดห่วงโซ่การผลิต มุ่งสนับสนุนการนำผลงานวิจัยมาพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในเชิงพาณิชย์ พร้อมรองรับการขยายตัวของตลาดโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

"การสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว สสว. ร่วมมือกับสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม โดยเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการต้นน้ำเป็นหลัก เนื่องจากผลผลิตในปัจจุบันไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด ประกอบกับการขาดแคลนแรงงาน จึงต้องพึ่งพิงการนำเข้ามะพร้าวจากต่างประเทศ เฉพาะในปี 2560 ประเมินจากการขยายกำลังการผลิตของผู้ประกอบการรายใหญ่และการเพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการรายใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว คาดว่าการส่งออกมะพร้าวของไทยจะมีมูลค่า 17,492 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3 ในระยะยาวยังคงมีแนวโน้มเติบโตตามกระแสนิยมบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ SME ไทยจึงควรพยายามเร่งผลผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจะไม่พลาดโอกาส

โครงการคลัสเตอร์ในครั้งนี้ กลุ่มธุรกิจมะพร้าวที่จะเน้นคือ การผลิตกะทิสำเร็จรูป เครื่องดื่มน้ำมะพร้าว และเครื่องสำอางที่ใช้มะพร้าวเป็นวัตถุดิบ ซึ่งผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 กลุ่มนี้ตลาดมีอัตราการเติบโตสูง ในขณะที่ผลผลิตมีข้อจำกัดด้านวัตถุดิบ คือ ปลูกมะพร้าวได้น้อยกว่าความต้องการ ดังนั้น สสว. และสถาบันอาหารร่วมมือกับกรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ซึ่งรวมถึงภาคเอกชน จะสนับสนุนให้มีการเพิ่มผลผลิต ด้วยการให้องค์ความรู้เกี่ยวกับการเพาะปลูก และพันธุ์มะพร้าวคุณภาพ ได้กำหนดพื้นที่ในพื้นที่อีสาน เช่น อ.จตุรพักตรพิมาน จ.ร้อยเอ็ด หรือใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่ม

มูลค่าในเรื่องของการบ่งบอกต้นกำเนิดของผลิตภัณฑ์ ( Geographic Indication) เช่น ในพื้นที่เกาะพงัน จ.สุราษฎร์ธานี และในส่วนกระบวนการผลิตจะเน้นในเรื่องยืดอายุ (Shelf Life) การลดกลิ่นของมะพร้าวในกลุ่มเครื่องสำอางเป็นสำคัญ

สำหรับคลัสเตอร์สมุนไพร เน้นเรื่องการนำสมุนไพรมาผลิตเป็นอาหารเสริม ยาใช้ทาภายนอก และเครื่องสำอาง ซึ่งตลาดมีความต้องการสมุนไพรประเภทออแกนิกส์ ในขณะที่สมุนไพรของไทยมีผลผลิตเพียงพอ แต่ยังไม่เป็น ออแกนิกส์ โดย มทร. ธัญบุรีจะร่วมกับสมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพรไทยให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME เกษตรทั่วประเทศ เช่น เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น สกลนคร พังงา นครศรีธรรมราช สระบุรี และจันทบุรี ในส่วนของกระบวนการผลิตต้องนำเทคโนโลยีมาช่วยในการลดความชื้นของสมุนไพร การรับรองมาตรฐานการผลิตโดยจดทะเบียน อย. และพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทใหม่ๆให้สอดรับกับไลฟ์สไตล์สมัยใหม่ เช่น แผ่นมาส์กบำรุงหน้า สเปรย์น้ำแร่ฉีดหน้าจากสมุนไพร เป็นต้น

สสว. ตั้งเป้าจะรวบรวมกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว รวม 25 เครือข่าย ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 3,300 ราย และกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพร รวม 5 เครือข่าย ผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาศักยภาพ จำนวน 700 ราย รวมเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 4,000 ราย" นางสาลินี กล่าว

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมในกลุ่มมะพร้าวมีการส่งออกที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2559 มีมูลค่าส่งออก 14,544 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 ตลาดส่งออกหลักของไทย 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มีสัดส่วนร้อยละ 30.3 รองลงมาคือสหภาพยุโรป และจีน มีสัดส่วนร้อยละ 28.3 และ 10.9 ตามลำดับ โดยจีนถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงสุดถึงร้อยละ 100.2 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (2555 – 2559) ซึ่งเป็นผลจากความนิยมบริโภคน้ำกะทิเป็นเครื่องดื่มของชาวจีน โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกมะพร้าวที่สำคัญของไทย ได้แก่ กะทิสำเร็จรูป (75.1%) มะพร้าวอ่อน (14.5%) มะพร้าวแห้ง (5.4%) มะพร้าวสด (2.5%) และน้ำมันมะพร้าว(2.4%) โดยผลิตภัณฑ์มะพร้าวสดขยายตัวโดดเด่นที่สุด คิดเป็น ร้อยละ 178.9 จากความต้องการของประเทศจีนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือน้ำมันมะพร้าว ขยายตัว ร้อยละ 60.4

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถาบันอาหารได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานดำเนินการโครงการสนับสนุนเครือข่ายSME ในกลุ่มอุตสาหกรรมมะพร้าว โดยมีกรอบระยะเวลาการดำเนินงาน 5 เดือน (พ.ค. - ก.ย. 2560) ขณะนี้อยู่ระหว่างเปิดรับสมัครและคัดเลือกผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการจำนวน 3,300 ราย เพื่อให้เกิดการรวมกลุ่ม 25 เครือข่ายตามเป้าหมาย เกิดการพัฒนาศักยภาพผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent-CDA)จำนวนไม่น้อยกว่า 70 ราย ทั้งนี้จะนำผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าไปจัดอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการดำเนินการธุรกิจให้กับกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมโครงการในแต่ละกลุ่ม อาทิ จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลักสูตรมาตรฐานการผลิต หลักสูตรการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หลักสูตรการพัฒนาคลัสเตอร์ เพื่อให้จัดทำแผนการพัฒนา

กลุ่มคลัสเตอร์ ทั้งระยะสั้น (1 ปี) ระยะกลาง (3 ปี) และระยะยาว (5 ปี) หลักสูตรการตลาดและการสร้างแบรนด์เชิงสร้างสรรค์สำหรับผู้นำเครือข่ายมะพร้าวไทยรวมถึงการทำเวิร์คชอป

นอกจากนี้ยังให้การส่งเสริมผ่านช่องทางการตลาดออฟไลน์ ได้แก่ การนำสินค้าที่ได้รับการคัดเลือกไปจำหน่ายในงานแสดงสินค้าต่างประเทศหรือจัดให้มีการเจรจาจับคู่ธุรกิจภายในประเทศ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็จะส่งเสริมผ่านช่องทางการตลาดออนไลน์ โดยการทำ E-market Place ให้แต่ละกลุ่มคลัสเตอร์ทั้งหมด 25 กลุ่ม ผ่านทาง Lazada/Tarad/Truemart เป็นต้น เป็นระยะเวลา 1 ปี และจัดให้มีการเพิ่มช่องทางการจำหน่าย โดยจัดทำเว็บไซต์ของแต่ละกลุ่มคลัสเตอร์ โดยจัดทำเป็น Coconut Pavilion เพื่อเป็นต้นแบบในการเชื่อมโยงทั้งในระดับประเทศ และต่างประเทศอีกด้วย

นายพงศ์พิชญ์ ต่วนภูษา รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กล่าวว่า สำหรับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (มทร.ธัญบุรี) ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานดำเนินโครงการสนับสนุนเครือข่าย SME ในกลุ่มอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย เพื่อยกระดับผู้ประกอบการทั้ง ต้นน้ำ ได้แก่ กลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร กลางน้ำ ประกอบด้วย กลุ่มผู้ประกอบการที่แปรรูปสมุนไพรเป็นเครื่องสำอาง กลุ่มผู้ประกอบการที่แปรรูปสมุนไพรเป็นยา กลุ่มผู้ประกอบการที่แปรรูปสมุนไพรเป็นอาหารและเครื่องดื่ม และกลุ่มปลายน้ำคือกลุ่มผู้จำหน่าย ค้าปลีกและค้าส่งผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ได้จากสมุนไพร โดยมีเป้าหมายในปี 2560 ให้เกิดการรวมกลุ่ม 5 เครือข่าย ยกระดับผู้ประกอบการจำนวน 700 ราย โดยใช้นวัตกรรมและองค์ความรู้ให้มีผลิตภาพในด้านต่างๆ สูงขึ้น และมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพผู้ประสานงานเครือข่าย (Cluster Development Agent-CDA) ให้เป็นผู้นำในการพัฒนาในด้านต่างๆจำนวน 10 ราย ซึ่งจะมีการจัดการประชุมและให้ความรู้กับผู้ประกอบการที่ต้องการเข้าร่วมโครงการในทุกภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ (เชียงใหม่ พิษณุโลก) ภาคอีสาน (ขอนแก่น สกลนคร) ภาคใต้ (พังงา นครศรีธรรมราช) และภาคกลาง (สระบุรี จันทบุรี)

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๘ มี.ค. องค์การบรรจุภัณฑ์โลก จับมือ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนาออนไลน์
๒๘ มี.ค. การแข่งขันกีฬาขี่ม้าโปโลรายการ King Power International Ladies' Polo Tournament 2024
๒๘ มี.ค. DEXON ปักธงรายได้ปี 67 ทะลุ 700 ลบ. โชว์ Backlog เฉียด 280 ลบ. ล็อคมาร์จิ้น 35-40%
๒๘ มี.ค. JPARK ร่วมงาน Dinner Talk ผู้บริหารจดทะเบียนพบนักลงทุน จ.ราชบุรี
๒๘ มี.ค. นีเวีย ซัน และ วัตสัน จับมือต่อปีที่สองชวนดูแลท้องทะเล กับโครงการ เพราะแคร์ จึงชวนแชร์ ร่วมพิทักษ์รักษ์ทะเลไทย
๒๘ มี.ค. Cloud เทคโนโลยีที่อยู่ใกล้ตัว เพียงแค่คุณไม่รู้เท่านั้นเอง
๒๘ มี.ค. โรยัล คานิน ร่วมกับ เพ็ทแอนด์มี จัดงาน Royal Canin Expo 2024: PAWRENTS' DAY เพื่อสร้างโลกที่ดีขึ้นสำหรับน้องแมวและน้องหมา
๒๘ มี.ค. STEAM Creative Math Competition
๒๘ มี.ค. A-HOST ร่วมวาน MFEC Inspire ขึ้นบรรยายพร้อมจัดบูธ Cost Optimization Pavilion
๒๘ มี.ค. ฟินเวอร์! ส่องความคิ้วท์ 'ฟอส-บุ๊ค' ควงคู่ร่วมงาน Discover Thailand เสิร์ฟโมเมนต์ฉ่ำให้แฟนๆ ได้ดับร้อนกันยกด้อมรับซัมเมอร์ และร่วมส่งต่อความสุขในกิจกรรม 'Exclusive Unseen Food Trip กับ คู่ซี้