สคร. ใช้ PPP Fast Track โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย สำเร็จภายใน 9 เดือน กระตุ้นการลงทุนของประเทศ อีกกว่า 1.9 แสนล้านบาท

พุธ ๑๔ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๓๓
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการ PPP)แถลงถึงความสำเร็จของนโยบายรัฐบาลในการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP Fast Track) เพื่อพัฒนาโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ โดยสามารถผลักดันโครงการรถไฟฟ้า 3 สาย มูลค่าโครงการ 1.9 แสนล้านบาท ได้สำเร็จภายใน 9 เดือน ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงหัวลำโพง – บางแค และช่วงบางซื่อ – ท่าพระ (โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) มูลค่าโครงการ 83,877 ล้านบาท โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย – มีนบุรี (โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู) มูลค่าโครงการ 56,691 ล้านบาท และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว – สำโรง (โครงการรถไฟฟ้าสายเหลือง) มูลค่าโครงการ 54,644 ล้านบาท ทั้งนี้ โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย ได้ดำเนินการคัดเลือกเอกชนตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 (พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556) เสร็จสิ้นแล้ว โดยโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายได้มีการลงนามในสัญญาแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 และโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและโครงการรถไฟฟ้าสายเหลืองจะมีการลงนามในสัญญาในวันที่ 16 มิถุนายน 2560 นอกจากนี้ การพัฒนาโครงการ PPP ทั้ง 3 โครงการได้เร็วขึ้นจะทำให้การเดินทางของประชาชนมีความสะดวกสบาย ลดความแออัดของการจราจร และลดการสิ้นเปลืองพลังงานของประเทศ

นางปานทิพย์ ศรีพิมล ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ สคร. กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการ PPP Fast Track เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะขับเคลื่อนนโยบายการลงทุนของรัฐบาล โดยการบูรณาการความร่วมมือในการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ ในการทำงานในบางขั้นตอนให้คู่ขนานกันไป โดย สคร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ PPPทำหน้าที่เป็นตัวกลางในกำหนดรายการข้อมูลที่จำเป็นในการศึกษาและวิเคราะห์โครงการร่วมลงทุนให้ชัดเจน (Checklist) และบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ซึ่งได้ลดระยะเวลาการดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 ที่จะใช้เวลาตั้งแต่เริ่มทำการศึกษาโครงการจนถึงการประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนจากเวลาปกติประมาณ 25 เดือน ให้เหลือเพียง 9 เดือน นอกจากนี้ จะได้นำบทเรียนต่างๆ รวมถึงกลไกสำคัญของมาตรการ PPP Fast Track มาใช้ในการปรับปรุง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 ด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบหลักการของการปรับปรุง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 แล้ว โดยมีหลักการสำคัญในการส่งเสริมโครงการร่วมลงทุนให้มากขึ้น มีขั้นตอนที่กระชับชัดเจน แต่ยังคงความโปร่งใส เปิดเผย และตรวจสอบได้ รวมทั้งยึดหลักวินัยการเงินการคลัง เช่นเดิม ทั้งนี้ คาดว่าจะนำเสนอร่าง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 ฉบับปรับปรุงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังพิจารณาได้ภายในเดือนกรกฎาคม 2560

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สคร. กล่าวสรุปว่า ทั้งมาตรการ PPP Fast Track และการปรับปรุง พ.ร.บ. ร่วมลงทุนฯ ปี 2556 เป็นไปตามนโยบายรัฐบาลและนายกรัฐมนตรีที่ต้องการส่งเสริมให้เอกชนมีส่วนร่วมในการลงทุนโครงการต่างๆ ของภาครัฐที่จะช่วยทำให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศได้เร็วมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ที่กำหนดให้มีการลงทุนจากความร่วมมือภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานเฉลี่ยปีละ 47,000 ล้านบาท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมเปิดการแสดงแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์มรดกโลกของไทย ในงาน International Folklore
๑๐:๓๐ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ. MOU โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ พัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี
๑๐:๑๕ Lexar แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ PRO WORKFLOW และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในงาน NAB
๑๐:๔๒ CITE DPU ปูทางสู่ยุคข้อมูลขนาดใหญ่ จัดอบรม CKAN ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม
๑๐:๑๖ โมทีฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จับมือ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รุกตลาดย่านบางปู กับโครงการ โมติ ทาวน์ (สุขุมวิท - แพรกษา) ทาวน์โฮมสไตล์โมเดิร์น นอร์ดิก เริ่มต้นเพียง 2.69
๑๐:๑๕ CHINA ADMISSION DAY
๑๐:๔๕ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประมูลสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ครั้งที่ 3/2567 จำนวน 17 อัตรา กรุงเทพมหานคร
๑๐:๔๖ โอซีซี ร่วมส่งมอบความสุขในวันสงกรานต์ ปี 2567
๑๐:๒๗ กรุงเทพโปรดิ๊วส นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หนุนปฏิบัติการ 9 มาตรการของรัฐบาล สู้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 บูรณาการคู่ค้าพันธมิตร
๐๙:๔๙ การเคหะแห่งชาติ คิกออฟ กิจกรรม สำนักงานสีเขียว Green office