มหาวิทยาลัยนเรศวรจับมือสพฐ. เดินเครื่องโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและท้องถิ่น กับโรงเรียนนำร่องในเขตภาคเหนือตอนล่าง บูรณาการเทคนิคการสอนประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์ในแบบชุมชน

ศุกร์ ๑๖ มิถุนายน ๒๐๑๗ ๑๕:๓๗
เมื่อวันที่ ๘ – ๙ มิถุนายน ๒๕๖๐ ณ โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร ๑๒ อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จัดโครงการ "พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยงประจำปี ๒๕๖๐ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยนเรศวร) ให้กับโรงเรียนนำร่อง ๙ แห่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล ผู้อำนวยการสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร เล่าถึงที่มาของโครงการนี้ว่า "มหาวิทยาลัยนเรศวรได้มอบหมายให้สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนโครงการ วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับการเรียนการสอนให้ครูและนักเรียนเกิดการสร้างความรู้จากประสบการณ์ ลงมือปฏิบัติและสามารถคิดสร้างสรรค์เองได้ ประกอบด้วย ๒ โครงการคือ โครงการการพัฒนาวิธีวิทยาและเทคนิคสอนประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาเป็นพลเมืองและจิตสำนึกสาธารณะ อีกหนึ่งโครงการคือการพัฒนาวิธีวิทยาและเทคนิคสอนประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาแบบบูรณาการกับวิทยาศาสตร์"

โครงการนี้มีโรงเรียนนำร่อง จำนวน ๙ แห่ง ประกอบด้วยโรงเรียนในจังหวัดพิษณุโลก คือ โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร ๑๒, โรงเรียนท่าทองพิทยาคม, โรงเรียนเนินมะปรางศึกษา, โรงเรียนชาติตระการวิทยา, โรงเรียนนครไทย เข้าร่วมโครงการการพัฒนาวิธีวิทยาและเทคนิคสอนประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาเป็นพลเมืองและจิตสำนึกสาธารณะ พร้อมด้วยโรงเรียนจากจังหวัดอุทัยธานี คือ โรงเรียนอุทัยวิทยาคม, โรงเรียนบ้านไร่วิทยา, โรงเรียนทัพทันอนุสรณ์ และโรงเรียนหนองฉางวิทยา เข้าร่วมโครงการการพัฒนาวิธีวิทยาและเทคนิคสอนประวัติศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาแบบบูรณาการกับวิทยาศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วศิน ปัญญาวุธตระกูล กล่าวต่อว่า "ตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๙ บุคลากรสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวินได้ลงพื้นที่ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนให้แก่ครูและนักเรียนของโรงเรียนทั้ง ๙ แห่ง ได้เรียนรู้วิธีคิด วิธีการสืบค้นข้อมูล รู้จักกระบวนการสืบค้น จัดเก็บ สอบถาม และประกอบแผนที่ชุมชน สำหรับการอบรม ๒ วันนี้เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ในรูปแบบต้นไม้ชุมชน ตุ๊กตาธุรกิจครอบครัว สรุปความเชื่อมโยงและสิ่งที่ได้เรียนรู้ในประเด็นประวัติศาสตร์ จิตสำนึกสาธารณะ ตลอดจนการนำประวัติศาสตร์มาบูรณาการกับวิทยาศาสตร์ อันจะก่อเกิดแนวทางการพัฒนาเส้นทางและกิจกรรมท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการเป็นเจ้าบ้านที่ดี สู่การเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นต่อไป"

ทั้งนี้ในปีที่ผ่านมา ทางสถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร ประสบความสำเร็จในการจัดโครงการกับโรงเรียนนำร่องคือ โรงเรียนพิณพลราษฎร์ ตั้งตรงจิตร ๑๒ ปีนี้จึงได้นำมาต่อยอดกับโรงเรียนอื่น ๆ และจะขยายเครือข่ายไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตภาคเหนือตอนล่างต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest