หายเมาเมื่อไหร่ก็รู้!! วิทยาศาสตร์ฯ มธ. โชว์ต้นแบบแอปฯ 'ดริ๊งเซฟ’ เช็คเมา รู้เวลาสร่างเมา ผลงานเด็กวิทย์คอมพ์ ปี 4 เล็งหนุนภาครัฐ ล้างสถิติผู้เสียชีวิต 'เมาแล้วขับ’

อังคาร ๑๑ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๔๐
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดตัวนวัตกรรมต้นแบบ แอปฯ "ดริ๊งเซฟ" แอปพลิเคชันตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด พร้อมประเมินสมรรถนะในการขับขี่ และเสนอทางออกในการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลงานนักศึกษาสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชั้นปี 4 โดยแอปฯ ดังกล่าว สามารถใช้งานได้ง่ายใน 1 ขั้นตอน เพียงแค่ "เป่าลมหายใจ 5 วิ" เข้าไปที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที พร้อมระบุช่วงเวลาที่ผู้ใช้จะสร่างเมาในทุกๆ ชั่วโมง รวมถึงช่วงเวลาที่สามารถขับขี่รถยนต์กลับบ้านได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถเลือกขอความช่วยเหลือเพื่อหลีกเลี่ยงการขับขี่ได้ใน 2 ช่องทาง คือ ติดต่อเพื่อน และ เรียกแท็กซี่ ทั้งนี้ แอปฯ ดังกล่าว อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถประมวลผลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนยังคงมีอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด ช่วงอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายในเทศกาลปีใหม่ 2560 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 17.7% และ 25.7% ตามลำดับ

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ 02-986-9156 และ 089-476-0105 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ รองวิริยะพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ประเทศไทย ถูกจัดอันดับเป็นประเทศที่มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย โดยที่สาเหตุหลักมาจากการเมาแล้วขับ อันเห็นได้จากตัวเลขการเมาแล้วขับที่พุ่งสูงอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดในช่วงอุบัติเหตุ 7 วันอันตรายของเทศกาลปีใหม่ 2560 มีจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสาเหตุดังกล่าวสูงถึง 4,128 และ 478 ราย โดยสูงกว่าปีที่ผ่านมา 17.7% และ 25.7% ตามลำดับ (ที่มา : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน) ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยภาครัฐลดสถิติจำนวนผู้เสียชีวิต และผู้บาดเจ็บจากกรณีดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. จึงได้พัฒนาต้นแบบแอปพลิเคชัน 'ดริ๊งเซฟ' (Drink Safe) แอปฯ วัดปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ที่มาพร้อมกับเซนเซอร์ชนิดพกพา ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน เพื่อแยกแยะความสามารถการขับขี่ใน 2 ระดับ คือ ขับรถได้ (ไม่เกิน 50mg%) และห้ามขับรถ (เกิน 50 mg%) ได้อย่างแม่นยำ ให้ผลเทียบเท่ากับการวัดจากเครื่องตรวจแอลกอฮอล์ของตำรวจ นอกจากนี้ ยังสามารถเสนอทางเลือกในการหลีกเลี่ยงการขับขี่ที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับแอปฯ ดริ๊งเซฟ จะเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสมาร์ทโฟน (Smart Phone) และอุปกรณ์เสริมที่เป็นเซ็นเซอร์สำหรับตรวจวัดแอลกอฮอล์ (Sensor) เชื่อมต่อกับระบบประมวลผล Arduino โดยที่ผู้ใช้งานสามารถทดสอบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ใน 1 ขั้นตอน เพียง "เป่าลมหายใจ เป็นเวลา 5 วินาที" เข้าไปที่เครื่องวัดแอลกอฮล์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับสมาร์ทโฟน จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลใน 2 นาที ว่าตรวจพบระดับแอลกอฮอล์ที่เกินมาตรฐานกฎหมายกำหนดหรือไม่ (โดยต้องไม่เกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ (mg%)) ซึ่งในขณะเดียวกัน แอปฯ ยังคำนวณอัตราการลดระดับของแอลกอฮล์ในทุกๆ 1 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ใช้ทราบถึงระยะเวลาที่ตนจะสร่างเมา และสามารถขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ยกตัวอย่างเช่น หากเป่าลมหายใจ แล้วมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดสูงถึง 62 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ในเวลา 2.52 น. จะพร้อมขับขี่ได้ในเวลา 6.52 น. เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม หากในกรณีที่แอปฯ ประเมินแล้วว่า มีปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายเกินกำหนด จะทำการแสดงฟังก์ชั่นในการเลี่ยงการขับขี่แก่ผู้ใช้งานใน 2 ทางเลือก คือ 1) ติดต่อเพื่อน โดยแอปฯ จะทำหน้าที่เชื่อมกับสังคมออนไลน์อย่าง เฟซบุ๊ก พร้อมทั้งแสดงรายชื่อเพื่อนที่มีประวัติการใช้งานแอปฯ และมีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และ 2) เรียกแท็กซี่ เพื่อใช้บริการรถแท็กซี่สาธารณะ ทั้งนี้ แอปฯ ดังกล่าว ใช้ระยะเวลาในการพัฒนาร่วม 4-5 เดือน และมีต้นทุนในการพัฒนาอยู่ที่ 2,000 บาทโดยเวลาการพัฒนาส่วนใหญ่ใช้ในการทดลอง เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลที่อ่านได้จากเซ็นเซอร์วัดระดับแอลกอฮอล์กับค่าระดับแอลกอฮอล์ในเลือด เพื่อให้เกิดความแม่นยำ ซึ่งเป็นจุดเด่นของงานคือ การใช้เซ็นเซอร์ที่มีราคาไม่สูง แต่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในการทดลอง เพื่อหาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างค่าดิจิตอลอ่านจากเซ็นเซอร์กับระดับแอลกอฮอล์ในเลือด โดยเป็นผลงานของ 2 นักศึกษาสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ได้แก่ นายธรณัส กฤตยานวัช และนายสิรวุฒิ วิรัตนพรกุล ซึ่งปัจจุบันแอปฯ ดังกล่าวได้พัฒนาสำเร็จและสามารถตรวจแยกแยะระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่ระดับต่ำกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ และสูงกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ได้แม่นยำ โดยได้ทำการทดลองเทียบกับเครื่องตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ของตำรวจ พร้อมแสดงผลได้ในทันที (Real Time) ผศ. ดร. ทรงศักดิ์ กล่าว

สำหรับพระราชบัญญัติจราจรทางบก ฉบับใหม่ ได้กำหนดข้อกฏหมายเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ว่า "ห้ามผู้ขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ หากถูกตรวจพบว่ามีระดับแอลกอฮอล์เกิน จะต้องมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 10,000 – 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ศาลสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ มีกำหนดไม่น้อยกว่า 6 เดือนหรือเพิกถอนใบอนุญาต และเพิ่มมาตรการยึดรถในชั้นศาล ไม่เกิน 7 วัน" ขณะเดียวกัน ในช่วงเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ปรับข้อยกเว้นตามคำสั่งนายทะเบียนที่ 22/2551 ลงวันที่ 29 กันยายน 2551 ซึ่งเป็นไปตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 16 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 โดยกำหนดให้บุคคลซึ่งในขณะขับขี่มีปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเกินกว่า 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์นั้นถือว่า เมาสุรา ซึ่งคำสั่งดังกล่าว มีผลใช้บังคับสำหรับการทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย นับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา เป็นต้นไป ผศ. ดร. ทรงศักดิ์กล่าวทิ้งท้าย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ 02-986-9156 และ 089-476-0105 หรือติดต่อฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ.ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 02-564- 4440-59 ต่อ 2010 เว็บไซต์ www.sci.tu.ac.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๐ แคสเปอร์สกี้เผย บริษัทมากกว่าครึ่งในเอเชียแปซิฟิกใช้ AI และ IoT ในกระบวนการทางธุรกิจ
๑๗:๑๔ พร้อมจัดงาน สถาปนิก'67 ภายใต้ธีม Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์
๑๗:๓๓ โรงแรมชามา เลควิว อโศก กรุงเทพฯ จัดโปรโมชั่นฉลองเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๓๘ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ห่วงใยชาวสระแก้ว มอบศาลาที่พักผู้โดยสาร เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน และเพื่อเป็นที่หลบแดดหลบฝน ณ
๑๗:๔๙ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร พร้อมมอบดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ 3 ท่าน
๑๗:๑๘ แน็ก ชาลี - มุก วรนิษฐ์ ชวนเปิดประสบการณ์ความเฟรช ในงาน Space of Freshtival 30 มีนาคมนี้ ที่ สยามสแควร์วัน
๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ