สภาปัญญาสมาพันธ์ แนะรัฐพัฒนา 6 ยุทธศาสตร์ ดันไทยสู่ประเทศรายได้สูง

ศุกร์ ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๓๙
· สภาปัญญาสมาพันธ์ เปิดผลวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยสู่ประเทศรายได้สูง พร้อมเสนอทางเลือกเชิงนโยบายและกลไกในการขับเคลื่อน ให้หลุดจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง ด้วยการปฏิรูปเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

นักวิชาการไทยและต่างชาติร่วมถกแนวทางการสร้างชาติไทยให้มั่นคงและยั่งยืน แนะรัฐบาลวางยุทธศาสตร์ประเทศให้เหมาะสมและปฏิบัติได้จริง ระบุแนวทางแก้ปัญหาความไม่สงบต้องใช้ "หลักนิติธรรม" (The Rule of Law) ควบคู่ไปกับการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพภายใต้กฎหมาย พร้อมเปิดผลวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ประเทศรายได้สูง อันเป็นผลมาจากการวิเคราะห์ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของนโยบาย ควบคู่กับการประเมินผลกระทบและความยากง่ายในการดำเนินการได้สำเร็จ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่ 1. เพิ่มการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา โดยการจัดทำโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านการวิจัยและพัฒนา 2. ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง 3. พัฒนาเศรษฐกิจภาคบริการ โดยเปิดเสรีภาคบริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตร 4. ขยายตลาดส่งออก โดยการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรส่งออก 5. ลดต้นทุนโลจิสติกส์โดยการผลักดันการขนส่งระบบราง และพัฒนาศักยภาพการบริหารสินค้าคงคลัง และ 6. ลดการพึ่งพาการนำเข้า โดยการส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อลดการนำเข้าพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

นายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา เปิดเผยผลวิจัยยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศสู่ประเทศรายได้สูง พร้อมเสนอทางเลือกเชิงนโยบายและกลไกในการขับเคลื่อน ระบุว่าปัจจุบันประเทศไทยกำลังติดอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง (Middle Income Trap) เนื่องจากไม่สามารถปฏิรูป (transform) เศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-driven economy) จึงไม่สามารถรักษาการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับสูงไว้ได้อย่างยั่งยืน แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีข้อเสนอแนะนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศสู่รายได้สูงจำนวนมาก ซึ่งแต่ละทางเลือกนโยบายสร้างประโยชน์และต้นทุนที่แตกต่างกัน แต่การที่ประเทศไทยมีทรัพยากรจำกัดจึงควรมียุทธศาสตร์ ในการจัดการกับทางเลือกต่างๆ อย่างเหมาะสม งานวิจัยชิ้นนี้จึงได้สังเคราะห์ทางเลือกนโยบายการพัฒนาประเทศสู่รายได้สูง โดยค้นหานโยบายที่เหมาะสมและจัดเรียงลำดับความสำคัญ พร้อมนำเสนอยุทธศาสตร์และกลไกในการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติ ซึ่งจากการวิเคราะห์ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของนโยบาย ควบคู่กับการประเมินผลกระทบและความยากง่ายในการดำเนินการได้สำเร็จ แบ่งออกเป็น 6 ด้าน ได้แก่

1. เพิ่มการลงทุนในการวิจัยและพัฒนา โดยการจัดทำโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านการวิจัยและพัฒนา ปรับโครงสร้างจากการผลิต (OEM) เป็นการออกแบบ (ODM) และสร้างแบรนด์ (OBM) รวมทั้งส่งเสริม angel fund และ venture capital เพื่อการวิจัยและพัฒนา

2. ยกระดับคุณภาพการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเข้าถึงการเรียนการสอนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง ลดภาระการประเมินผลการศึกษาที่ไม่จำเป็น และส่งเสริมให้กลไกตลาดทำงานมากขึ้นโดยลดบทบาทภาครัฐ เพิ่มทางเลือกการศึกษา รวมทั้งอุดหนุนการศึกษาด้านอุปสงค์

3. พัฒนาเศรษฐกิจภาคบริการ โดยเปิดเสรีภาคบริการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน และย้ายแรงงานออกจากภาคเกษตร

4. ขยายตลาดส่งออก โดยการเพิ่มความหลากหลายของสินค้าเกษตรส่งออก จัดโซนนิ่งการผลิต ส่งเสริมสินค้าที่ยังมีการผลิตน้อย เสริมสภาพคล่องเกษตรกรช่วงเปลี่ยนชนิดสินค้าที่ผลิต เจรจาเปิดเสรีการค้าโดยพิจารณาผลกระทบอย่างรอบคอบ สนับสนุนเงินทุนเพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าให้สามารถส่งออก

5. ลดต้นทุนโลจิสติกส์ โดยการผลักดันการขนส่งระบบราง และพัฒนาศักยภาพการบริหารสินค้าคงคลัง

6. ลดการพึ่งพาการนำเข้า โดยการส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อลดการนำเข้าพลังงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่น ส่งเสริมการใช้ขนส่งสาธารณะ รวมทั้งพัฒนาอุตสาหกรรมสินค้าทุนลดการพึ่งพาการนำเข้า

ด้าน ศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา และประธานสถาบันการสร้างชาติ กล่าวเสริมว่า ประเด็นสำคัญที่ควรตระหนักในการสร้างชาติให้มั่นคงและยั่งยืน คือการกำหนดยุทธศาสตร์สำหรับพัฒนาประเทศ โดยคำนึงถึงโครงสร้างและความซับซ้อนของโลกปัจจุบัน อันเป็นผลมาจากปัจจัยในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการกำหนดยุทธศาสตร์และวางกลยุทธ์ที่ถูกต้องและเหมาะสมของรัฐบาล โดยหากดูตัวอย่างประเทศใกล้เคียงที่ประสบความสำเร็จ เช่น ประเทศสิงคโปร์ และประเทศเกาหลีใต้ จะเห็นว่าทั้งสองมีการกำหนดยุทธศาสตร์และจัดวางกลยุทธ์ในการพัฒนาประเทศที่ดีมาก ปัจจุบันสิงคโปร์จึงกลายเป็นศูนย์กลางในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่เกาหลีใต้ซึ่งในอดีตเคยมีดัชนีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว(GDP) เท่ากับประเทศไทย แต่ปัจจุบันดัชนีดังกล่าวได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าไทย 4-5 เท่า อันเป็นผลมากจากการส่งเสริมและพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างจริงจัง

สำหรับการกำหนดยุทธศาสตร์และวางกลยุทธ์ของประเทศไทย เพื่อให้มีความเหมาะสมสามารถนำไปใช้งานได้จริง และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นต้องพัฒนาพร้อมกัน 5 ด้าน ได้แก่ 1. กลยุทธ์ต้องเข้าใจได้ง่าย (Simplification Strategy) เพื่อลดความไม่แน่นอนและช่วยผู้ที่เกี่ยวข้อง คาดการณ์สถานการณ์และตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เช่น นโยบายด้านอัตราแลกเปลี่ยน 2. กลยุทธ์การร่วมมือกัน (Collaboration Strategy) โดยเพิ่มการสื่อสารให้มากขึ้นระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสัมคม เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์และภาคธุรกิจ 3. กลยุทธ์กระจายอำนาจ (Decentralization Strategy) เพื่อช่วยให้การตัดสินใจนโยบายภาครัฐเกิดประสิทธิผลมากขึ้น เช่น การกระจายอำนาจด้านการศึกษาให้โรงเรียนต่างจังหวัด ได้รับการพัฒนาและส่งเสริมอย่างทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 4. กลยุทธ์ด้านระบบดิจิตอล (Digitalization Strategy) โดยนำเอาระบบดิจิตอลมาช่วยการจัดอย่างเป็นระบบ เพื่อลดความซับซ้อนและจำนวนคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่างๆ เพื่อให้การทำงานสะดวกมากขึ้น และ 5. กลยุทธ์การมองจากภายนอก (Outward-looking Strategy) โดยภาครัฐควรใช้นโยบายเชิงรุกในเวทีระหว่างประเทศ เช่น การเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งการรวมกลุ่มระหว่างประเทศ เป็นต้น

ขณะที่ ศาสตราจารย์ ดร.โฮเซ สเตลเล่ ผู้เขียนหนังสือ 'บทเล็คเชอร์ที่จีน' กล่าวเพิ่มเติมว่า สถานการณ์เลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน ล่วนมีอิทธิพลมาจากแรงกดดันหลัก 2 ประการ ได้แก่ 1. ระบบสังคมนิยม ที่ถูกถ่ายทอดมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยแนวความคิดตามหลักประชาธิปไตยที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ไม่คำนึงถึงอุดมการณ์ ไม่คำนึงถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น และท้ายที่สุดเกิดการใช้อำนาจกดขี่ข่มเหง ซึ่งถือเป็นทางออกเดียวสำหรับปัญหาหรือภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และ 2. แรงกดดันอื่นที่คล้ายกับระบบสังคมนิยม โดยมีจุดกำเนิดมาจากสภาพแวดล้อมทางจิตใจทางศาสนาและส่งผลให้เกิดความรุนแรงขึ้น ทั้งสองประเด็นมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือการมีอำนาจเหนือบุคคลทั่วไป เพื่อทำลายสิทธิเสรีภาพทางความคิด และล้มล้างระบอบการไต่สวน หรือกระบวนการยุติธรรม ดังนั้นสิ่งที่จะช่วยให้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องอาศัย "หลักนิติธรรม" (The Rule of Law) ประกอบด้วย 1. กฏหมายต้องถูกสร้างขึ้นเพื่อประโยชน์กับคนในประเทศโดยสถาบันที่มาจากการเลือกตั้ง 2. ต้องมีความเสมอภาคในการใช้กฏหมาย 3. ผู้บังคับใช้กฏหมายต้องเป็นกลาง และ 4. ต้องมีกระบวนการยุติธรรมและรัฐธรรมนูญที่ดี ควบคู่กับการเปิดโอกาสให้ทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพภายใต้กฏหมาย เพื่อให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขในสังคม ซึ่งในภาพรวมจะก่อนให้เกิดความสามัคคีและประเทศชาติที่เข้มแข็ง และนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สภาปัญญาสมาพันธ์ (WISDOM COUNCIL) โทรศัพท์ 084-522-4424 อีเมล:[email protected] หรือเข้าไปที่ http://www.wisdomcouncilthailand.com

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest