ตัวแทนเครือข่ายสตรีจากภาคประชาสังคมร่วมกันอ่านแถลงการณ์รายงานสถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศไทยต่อคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ CEDAW

พุธ ๑๙ กรกฎาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๓๒
ตัวแทนเครือข่ายสตรีจากภาคประชาสังคมร่วมกันอ่านแถลงการณ์รายงานสถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศไทยต่อคณะกรรมการอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ CEDAW ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติกรุงเจนีวา พร้อมระบุ 32 ปีที่รัฐไทยรับอนุสัญญา CEDAW ผ่าน 14 รัฐบาลความคืบหน้าในการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงก็ยังล่าช้าอยู่มากผู้หญิงในประเทศไทยยังเข้าถึงความยุติธรรมยากขึ้น ระบุมีผู้หญิงที่ลุกขึ้นมาปกป้องทรัพยากรในชุมชนของตนเองถูกสังหาร ข่มขู่ คุกคาม ฟ้องร้องเป็นจำนวนมาก และผู้หญิงมุสลิมในประเทศไทยยังไมได้รับสิทธิในการปฎิรูปกฎหมายอิสลามครอบครัวและมรดกที่ให้อำนาจผู้ชายเป็นใหญ่ รวมถึงผู้หญิงทำงานบริการที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมของเจ้าหน้าที่รัฐกว่า 200 คน

ที่สำนักงานองค์การสหประชาชาติ กรุงเจนีวา ตัวแทนเครือข่ายสตรีจากภาคประชาชนหลากหลายองค์กรอาทิ กลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลย สหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ เครือข่ายสตรีไทยพื้นเมือง (IWNT) องค์กรชาวพื้นเมืองในเอเชีย (AIPP) มูลนิธิ Empower มูลนิธิผู้หญิง(FFW) โพรเทคชั่น อินเตอร์เนชั่ลนัล มูลนิธิผสานวัฒนธรรม องค์กร Togetherness for Equality and Action (TEA Group) และเครือข่าย PATANI Working Group for Monitoring of International Mechanisms ได้เข้าร่วมรายงานสถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศไทย ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ( Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination against Women:CEDAW) ต่อหน้าคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของ CEDAW

ทั้งนี้อนุสัญญา CEDAW เป็นอนุสัญญาเพื่อสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ที่มุ่งเน้นสิทธิสตรี รวมถึงประเด็นต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน ของสตรีทั่วโลก และยังเป็นหนึ่งในสนธิสัญญาแห่งสหประชาชาติ ที่รัฐภาคีให้สัตยาบรรณเป็นวงกว้างที่สุดทั่วโลก โดยกรรมการสิทธิมนุษยชนและตัวแทนของรัฐบาลไทยต้องร่วมรายงานสถานการณ์ของผู้หญิงในประเทศไทย ภายใต้อนุสัญญานี้ในวันที่ 5 ก.ค. 2560 ที่จะถึงนี้ด้วย

ขณะที่นางวิรอน รุจิไชยวัฒน์ ตัวแทนจากกลุ่มฅนรักษ์บ้านเกิดจังหวัดเลยที่เข้าร่วมรายงานสถานการณ์ของผู้หญิงในครั้งนี้ระบุว่า ในประเทศไทยมีผู้หญิงจำนวนมากที่ลุกขึ้นมาต่อสู้และปกป้องทรัพยากรของตนเอง และหลายครั้งที่การลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตนเองนั้นทำให้ผู้หญิงจำนวนมากต้องเสี่ยงต่อการถูกข่มขู่คุกคามทำร้ายร่างกาย และถูกฟ้องร้องดำเนินคดีเพื่อให้ยุติการต่อสู้ โดยพื้นที่อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ซึ่งเป็นพื้นที่ของตนและชุมนได้รับผลกระทบจากการทำเหมืองแร่ ตนและผู้หญิงในหมู่บ้านอีกหลายคนได้ออกมาต่อสู้ในเรื่องนี้แต่กลับถูกแจ้งข้อหาในความผิด พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 โดยผู้แจ้งข้อหาครั้งนี้เป็นนายเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องปกป้องคุ้มครองประชาชนและยืนอยู่เคียงข้างประชาชน นอกจากนี้เรายังถูกตั้งข้อหาจากหน่วยงานท้องถิ่นของรัฐอีกด้วย การเข้าร่วมรายงานสถานการณ์ CEDAW ของเราในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสที่เราจะได้บอกเล่าเรื่องราวและข้อเรียกร้องของเราให้ได้รับการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมด้วย

ด้าน น.ส.ชัชลาวัณย์ เมืองจันทร์ ตัวแทนจากมูลนิธิ EMPOWWER ซึ่งทำงานกับผู้หญิงบริการในประเทศไทยระบุว่า ผู้หญิงที่ทำงานบริการในประเทศไทยมักจะถูกเลือกปฏิบัติโดยใช้ความผิดจากการค้าประเวณีเป็นตัวตั้ง จึงทำให้หลายครั้งถูกเจ้าหน้าทีรัฐหรือผู้มีอำนาจใช้วิธีการที่ละเมิดโดยการบุกทลายและล่อซื้อซึ่งเป็นการกระทำที่รุนแรงและไม่เคารพต่อศักดิศรีความเป็นมนุษย์ รวมไปถึงความผิดตามพรบ.ปรามการค้าประเวณีทำให้ผู้หญิงบริการเข้าไม่ถึงสิทธิด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นคุ้มครองแรงงาน การเป็นพยานในคดีค้ามนุษย์หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมต่างๆ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้เราอยากให้มีการแก้ไขให้เป็นรูปธรรมด้วยเช่นกัน

ด้าน นส.กัลยา จุฬารัฐกร เครือข่ายสตรีไทยพื้นเมือง (IWNT) กล่าวว่า ระบุว่าในนามขององค์กรภาคประชาสังคมที่อยู่ ที่นี้เป็นเวลากว่า 32 ปี นับตั้งแต่ที่ประเทศไทยให้สัตยาบันกับอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ตั้งแต่เวลานั้น เรามีรัฐบาล 14 รัฐบาล ทั้งที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนและจากการแต่งตั้งตัวเอง แต่ความคืบหน้าในการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงก็ยังล่าช้าอยู่มาก ดังนั้นพวกเราอยากจะใช้โอกาสนี้เพื่อแจงภาพรวมของสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและนำเสนอประเด็นเร่งด่วนของเรา โดยประเด็นที่พวกเราเครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานในประเทศไทยต้องการเสนอรายงานแก่อนุกรรมการ CEDAW มีรายละเอียดดังนี้

ตั้งแต่การรัฐประหารในเดือนพฤษภาคมปี 2557 การต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความเท่าเทียมกันของผู้หญิงก็ยิ่งยากยิ่งขึ้นเนื่องจากการจำกัดสิทธิเสรีภาพและการเลือกปฏิบัติที่มีมากขึ้น เรามีความกังวล โดยเฉพาะคือสถานการณ์ของผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะผู้หญิงที่เรียกร้องสิทธิชุมชนของตนเองในเรื่องที่ดินและทรัพยากร ผู้หญิงที่อยู่ในสถานการณ์ความขัดแย้งทางอาวุธรุนแรง ผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศ แรงงานข้ามชาติหญิง พนักงานบริการ ผู้หญิงในเรือนจำ ผู้หญิงพิการ และผู้หญิงที่ระบุว่าเป็น LBTI

รัฐบาลไทยได้เสนอนโยบายและโครงการที่มุ่งพัฒนาการพัฒนาสตรีอย่างพระราชบัญญัติความเสมอภาคทางเพศ (พ.ศ. 2558) อย่างไรก็ตามหลายนโยบายเหล่านี้ถูกลดหย่อนและถูกบดบังด้วยการใช้กฎหมายพิเศษ เช่นกฎอัยการศึก มาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว และคำสั่งและประกาศคสช. ที่ขัดขวางสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของผู้หญิง สภาวะแวดล้อมปัจจุบันขัดขวางการเข้าถึงความยุติธรรมและเสรีภาพที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติ อีกทั้งยังละเมิดพันธกรณีของไทยภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ

นอกจากนี้ในส่วนของการเข้าถึงความยุติธรรมนั้น กลไกระดับชาติที่อ่อนแอทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงมากขึ้นและสร้างอุปสรรคต่อการเข้าถึงความยุติธรรม โดยในประเด็นแรกเรื่องเกี่ยวกับระบบยุติธรรมสำหรับผู้หญิงมลายูมุสลิมมีความซับซ้อน เนื่องจากมีการใช้หลักระบบยุติธรรมพหุลักษณ์ทางกฎหมายและระบบความยุติธรรมทางวัฒนธรรมทำให้ขาดความชัดเจนในการบังคับใช้กฎหมายอิสลามในการเข้าถึงความยุติธรรม ที่เกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวและในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวและมรดก ระบบยุติธรรมทางแพ่งในปัจจุบันใช้กระบวนพิจารณาโดยองค์คณะผู้พิพากษาโดยรับฟังความเห็นจากดาโต๊ะยุติธรรมซึ่งหนึ่งในคุณสมบัติต้องเป็นผู้รู้ศาสนาเพศชายเท่านั้น ในระดับจังหวัดคณะกรรมการอิสลามจังหวัดมีส่วนกำหนดระบบกฎหมายจารีตประเพณีทางการซึ่งได้รับการจัดการโดยผู้นำชุมชนที่เป็นชาย ผู้หญิงมุสลิมในพื้นที่ที่มักถูกเลือกปฏิบัติในทางนิตินัยและพฤตินัยส่งผลต่อสิทธิเท่าเทียมกันและความรับผิดชอบอันเนื่องมาจากการแต่งงาน การหย่าร้าง; และความรุนแรงต่อผู้หญิง รัฐบาลไม่ได้พยายามที่จะปฏิรูปและทบทวนเนื้อหาแม้ว่าจะมีการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้พิพากษาในท้องถิ่นรวมทั้งนักวิชาการเกี่ยวกับการไม่ปฎิรูปกฎหมายอิสลาม ครอบครัวและมรดกที่กำลังถูกปฏิรูปในประเทศมุสลิมอื่นๆ

พนักงานบริการผู้หญิงหญิงซึ่งรวมถึงพนักงานบริการหญิงข้ามเพศที่ทำงานบริการมักมีประสบการณ์ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนจากการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจเช่นการบุกทลายการควบคุมตัว การล่อซื้อ โดยเฉพาะซึ่งเป็นผลมาจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 การล่อซื้อและการบุกจับเกิดขึ้นมากกว่าหนึ่งครั้งต่อเดือน ภายในระยะเวลาหกเดือนที่ผ่านมา เกิดเหตุการณ์กว่า 19 เหตุการณ์ ส่งผลกระทบต่อผู้หญิงมากกว่า200 คน

ผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะผู้ที่เรียกร้องสิทธิชุมชนของตนเองในเรื่องที่ดินและทรัพยากร ถูกจับกุม ถูกฟ้องร้องคดี ถูกการกระทำที่เป็นอาชญากรรมที่เกิดจากความเกลียดชังและความรุนแรง เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นต่อผู้หญิงบ่อยกว่าผู้ชายที่เป็นนักปกป้องสิทธิมนุษยชน

ผู้หญิงพิการและผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธ์ยังขาดซึ่งกลไกลและกระบวนการที่รับรองการเข้าถึงความยุติธรรมของพวกเธอ การเหมารวมและการสร้างภาพพจน์ในแง่ลบต่อผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธ์นำไปสู่การลงโทษและการกล่าวหาพวกเธอในอาชญากรรมบางประเภทเช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการบุกรุกที่ดิน รวมทั้งการไม่ยอมรับซึ่งภาษาและวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แตกต่างจากระบบยุติธรรมปกติ การเลือกปฏิบัติซ้ำซ้อนส่งผลให้จำนวนของผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธ์ถูกควบคุมตัว ถูกตัดสินลงโทษโดยไม่มีการชดเชยเยียวยามากขึ้น และยังมีการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงชนเผ่าพื้นเมืองและกลุ่มชาติพันธ์เรื่องสิทธิการจ้างงานของพวกเธอ

แรงงานข้ามชาติผู้หญิงถูกเลือกปฏิบัติในเรื่องการจ้างงาน การเข้าถึงระบบสาธารณสุขและโอกาสในการได้รับจดทะเบียนการจ้างงานที่ถูกต้องตามกฎหมาย พระราชกำหนดการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว พ.ศ. 2560 เพิ่มบทลงโทษของการจ้างงานของผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ความหวาดกลัวเกิดขึ้นจากการที่มีการเลิกจ้างแรงงานข้ามชาติ มีการรายงานว่าผู้หญิงแรงานข้ามชาติมักเป็นผู้ที่ถูกเลิกจ้างเป็นคนแรก ดังนั้นเราคาดการว่าผู้หญิงจะได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมอันเป็นผลจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้

เรามีความกังวลอย่างมากว่ารัฐใช้ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงแห่งชาติในการควบคุมสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของผู้หญิงและผู้คนในสังคม ประกอบกับวัฒนธรรมไม่นำคนผิดมาลงโทษที่มีอยู่แล้วและระบบที่สนับสนุนให้มีการทุจริตคอรัปชั่น โดยวิธีการเหล่านี้นำไปสู่การเลือกปฏิบัติและความรุนแรงต่อผู้หญิงที่มีอยู่เดิมให้ขยายวงกว้างมากขึ้น ซึ่งเป็นระบบที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ฝังและรากลึกอยู่ในสังคมไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ