“พลเอกฉัตรชัย” บินถกรัฐมนตรีเกษตรฯ อิสราเอล หนุนเทคโนโลยีทะเลทรายสู้แล้ง - ลดอัตราสูญเสียน้ำปรับใช้ในไทย เตรียมตั้งคณะทำงานร่วม ไทย-อิสราเอล แลกเปลี่ยนงานวิจัย เทคโนโลยีด้านการเกษตรขั้นสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการผลิตสู่เกษตรกรผ่านศพก.ทั

พุธ ๐๒ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๒๓:๓๓
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือและลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งรัฐอิสราเอลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรร่วมกับนายยูริ แอเรียล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทแห่งรัฐอิสราเอล ณ เมืองเยรูซาเลม รัฐอิสราเอล ว่า หลังการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลของสองประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรครั้งนี้แล้ว ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันในการตั้งคณะทำงานร่วมด้านการเกษตร และจัดการประชุมเพื่อหารือความเกี่ยวกับโครงการความร่วมมือด้านการเกษตรที่ทั้งสองฝ่ายสนใจภายใต้ความตกลงฯ ทั้งด้านการเกษตร พืช ปศุสัตว์ ประมง การพัฒนาด้านชลประทาน การบริหารจัดการน้ำ การพัฒนาด้านสหกรณ์ ความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช การเปลี่ยนแปลงสภาพทางภูมิอากาศในภาคการเกษตร และการแปรสภาพเป็นทะเลทราย

ขณะเดียวกัน ทั้งสองฝ่ายยังจะร่วมมือ สนับสนุนเทคโนโลยีด้านการเกษตร และระบบชลประทาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการเกษตร และชลประทานจากอิสราเอล ที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในภาคการเกษตร ทั้งระบบน้ำหยดบนผิวดิน แบบฝังใต้ดิน และแบบฉีดฝอย เทคโนโลยีการบำบัดน้ำเสีย นำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และใช้หมุนเวียน เทคโนโลยีการผลิตน้ำจืดจากน้ำเค็ม และเทคโนโลยีเครื่องจักรกลด้านการเกษตร ที่ฝ่ายไทยมีความสนใจเทคโนโลยีดังกล่าว เพื่อมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่ในประเทศไทย ซึ่งเป็นพื้นที่แห้งแล้ง และไม่มีน้ำบนผิวดิน ซึ่งคล้ายคลึงกับอิสราเอล โดยมีแนวทางความร่วมมือระหว่างกันใน 3 แนวทางหลัก คือ

1) การใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร โดยเฉพาะเทคโนโลยีระบบชลประทานประหยัดน้ำ เพื่อนำไปขยายผลผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ และศูนย์เครือข่ายทั่วประเทศ

2) ให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการเลือกการพัฒนาและการประยุกต์ใช้เครื่องมือ และเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์และซอฟแวร์ ที่จะเชื่อมโยงและนำมาพัฒนาแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก หรือ Agri Map

3) กำหนดแผนงาน/โครงการ/พื้นที่ดำเนินการในไทย โดยมีผู้เชี่ยวชาญอิสราเอลให้คำแนะนำ ซึ่งฝ่ายไทยได้มอบหมายให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักที่ประสานงานกับทางอิสราเอลต่อไป

"การสนับสนุนเทคโนโลยีด้านชลประทานของอิสราเอลให้กับไทยจะเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย โดยฝ่ายไทยจะได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพของอิสราเอล ขณะที่ฝ่ายอิสราเอลจะมีลู่ทางส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีของอิสราเอลในไทยด้วย เนื่องจากยังมีหลายพื้นที่การเกษตรในประเทศไทยยังประสบปัญหาแหล่งน้ำ และความแห้งแล้ง ดังนั้น จำเป็นต้องนำเทคโนโลยีและผลงานวิจัยที่สามารถปัญหาอุปสรรคจากข้อจำกัดของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปมาใช้เพื่อการพัฒนาการเกษตรของไทยมากขึ้น ซึ่งอิสราเอลเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับการยอมรับในเรื่องนี้ และได้ลงทุนอย่างมหาศาลในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรและการชลประทานจนประสบความสำเร็จ สามารถแปลงน้ำทะเลเป็นน้ำจืดเพื่อการอุปโภค การนำน้ำเสียจากการอุปโภคกลับมาใช้ใหม่สำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรม การมีระบบท่อส่งน้ำทั้งจากแหล่งน้ำจืดธรรมชาติและโรงงานผลิตน้ำจืดไปยังส่วนต่างๆ ของประเทศ และเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เช่น การเพาะปลูกแบบระบบน้ำหยด ที่สามารถนำมาปรับใช้ในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว

นอกจากการหารือความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกันแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังเจรจาแลกเปลี่ยนเปิดตลาดสินค้าเกษตร รวมถึงการอำนวยความสะดวกเพื่อลดปัญหาอุปสรรคการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกัน เพื่อขยายการค้าสินค้าเกษตรกันมากขึ้นในอนาคต จากปัจจุบันอิสราเอลเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรกับไทยอันดับที่ 48 ซึ่งในปี 2559 มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกันเป็นจำนวน 5,542 ล้านบาท โดยมีอัตราการค้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ4.62ต่อปี โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ากับอิสราเอลมาโดยตลอด

รวมถึงได้หารือกับหน่วยงานต่างๆ ของอิสราเอล เช่น ศูนย์วิจัยการเกษตร กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท หรือ เอ-อา-โอ (ARO) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ประสบผลสำเร็จในการวิจัยทางการเกษตร ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้มีการหารือในการแลกเปลี่ยนงานวิจัยระหว่างกัน โดยเฉพาะเรื่องงานวิจัยด้านพันธุ์พืช การเก็บรักษาผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว รวมทั้งได้เยี่ยมชมโรงงานบำบัดน้ำเสียแห่งแคว้นดาน ซึ่งเป็นโรงบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่ที่สุดของรัฐอิสราเอล มีการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ ประมาณ 120 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี สหกรณ์การเกษตร และสวนผลไม้ของอิสราเอล ที่นำระบบชลประทานแบบน้ำหยดบนผิวดิน และระบบชลประทานน้ำหยดแบบฝังใต้ดิน มาใช้ในการทำการเกษตร อีกด้วย

"ทั้งหมดนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สองประเทศได้กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันให้มากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ประเทศอิสราเอลได้พัฒนาแล้วมาต่อยอดกับประเทศไทยที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับภัยแล้งและน้ำท่วม ที่รัฐบาลให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ สอดคล้องกับนโยบายด้านการเกษตรในช่วง 20 ปี ก็จะเน้นการทำการเกษตรที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้มีการใช้น้ำอย่างประหยัด และเกิดประโยชน์สูงสุด และทำให้พืชผลได้รับน้ำอย่างเพียงพอแม้จะเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน จากในปัจจุบันการทำการเกษตรของประเทศไทยมีเพียงร้อยละ 20 เป็นการทำการเกษตรในพื้นที่ชลประทาน" พลเอก ฉัตรชัย กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?