ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยใน 9 จังหวัด พร้อมบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง

พฤหัส ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๒๘
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2560 มีพื้นที่

เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลาก รวม 44 จังหวัด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 35 จังหวัด ยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร ร้อยเอ็ด นครพนม นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ยโสธร อำนาจเจริญ อุบลราชธานี และพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหายให้ครอบคลุมทุกด้าน ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัย ให้เร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ฝนที่ตกหนักต่อเนื่องในหลายพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 5 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม 2560 ทำให้เกิดสถานการณ์อุทกภัยและน้ำไหลหลากใน 44 จังหวัด รวม 257 อำเภอ 1,165 ตำบล 8,183 หมู่บ้าน 43 ชุมชน ประชาชนได้รับผลกระทบ 385,739 ครัวเรือน 1,217,748 คน ผู้เสียชีวิต 23 ราย ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 35 จังหวัดยังคงมีสถานการณ์ 9 จังหวัด รวม 100 อำเภอ 591 ตำบล 4,793 หมู่บ้าน 43 ชุมชน แยกเป็น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่สกลนคร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองสกลนคร อำเภอพรรณานิคม อำเภออากาศอำนวย อำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอนิคมน้ำอูน อำเภอเจริญศิลป์ อำเภอภูพาน อำเภอวาริชภูมิ อำเภอคำตากล้า อำเภอสว่างแดนดิน อำเภอกุสุมาลย์ อำเภอกุดบาก อำเภอส่องดาว อำเภอบ้านม่วง อำเภอ พังโคน อำเภอวานรนิวาส อำเภอเต่างอย และอำเภอโพนนาแก้ว รวม 115 ตำบล 1,267 หมู่บ้าน 43 ชุมขน ประชาชนได้รับผลกระทบ 135,044 ครัวเรือน 426,037 คน ผู้เสียชีวิต 9 ราย ร้อยเอ็ด น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 20 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเสลภูมิ อำเภอจังหาร อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอโพนทราย อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเกษตรวิสัย อำเภอเชียงขวัญ อำเภอศรีสมเด็จ อำเภอธวัชบุรี อำเภอจตุรพักตรพิมาน อำเภอ อาจสามารถ อำเภอพนมไพร อำเภอหนองพอก อำเภอเมืองสรวง อำเภอเมยวดี อำเภอหนองฮี อำเภอปทุมรัตน์ และอำเภอโพนทอง รวม 116 ตำบล 847 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 13,515 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต 4 ราย นครพนม ฝนที่ตกหนักและมวลน้ำจากหนองหาร จังหวัดสกลนคร ไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอนาแก อำเภอนาหว้า อำเภอวังยาง อำเภอเรณูนคร อำเภอศรีสงคราม และอำเภอโพนสวรรค์ รวม 21 ตำบล 61 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 360 ครัวเรือน นครราชสีมา ยังคงมีน้ำท่วมขังใน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยาง อำเภอโนนแดง และอำเภอประทาย รวม 21 ตำบล 242 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,532 ครัวเรือน กาฬสินธุ์ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 18 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอนามน อำเภอกมลาไสย อำเภอร่องคำ อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอเขาวง อำเภอยางตลาด อำเภอห้วยเม็ก อำเภอสหัสขันธ์ อำเภอคำม่วง อำเภอท่าคันโท อำเภอ หนองกุงศรี อำเภอสมเด็จ อำเภอห้วยผึ้ง อำเภอสามชัย อำเภอนาคู อำเภอดอนจาน และอำเภอฆ้องชัย รวม 116 ตำบล 1,217 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,136 ครัวเรือน อพยพประชาชน 70 ครัวเรือน ยโสธร น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 9 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าติ้ว อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอกุดชุม อำเภอไทยเจริญ อำเภอทรายมูล อำเภอค้อวัง อำเภอเลิงนกทา อำเภอเมืองยโสธร และอำเภอมหาชนะชัย รวม 53 ตำบล 398 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 15,051 ครัวเรือน อำนาจเจริญ น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองอำนาจเจริญ อำเภอหัวตะพาน อำเภอลืออำนาจ อำเภอพนา อำเภอปทุมราชวงศา อำเภอชานุมาน และอำเภอเสนางคนิคม รวม 52 ตำบล 344 หมู่บ้าน 11,137 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 52,359 ไร่ อุบลราชธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโขงเจียม อำเภอศรีเมืองใหม่ อำเภอน้ำยืน อำเภอบุณฑริก อำเภอ น้ำขุ่น อำเภอเมืองอุบลราชธานี อำเภอม่วงสามสิบ อำเภอนาจะหลวย อำเภอเดชอุดม อำเภอสว่างวีระวงศ์ อำเภอกุดข้าวปุ้น อำเภอดอนมดแดง และอำเภอตระการพืชผล รวม 28 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,712 ครัวเรือน ภาคกลาง 1 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ผลกระทบจากเขื่อนเจ้าพระยา ทำให้น้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบางบาล อำเภอเสนา อำเภอบางปะอิน อำเภอผักไห่ อำเภอพระนครศรีอยุธยา และอำเภอบางไทร รวม 68 ตำบล 297 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 9,019 ครัวเรือน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาอุทกภัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ พร้อมกำชับจังหวัดที่สถานการณ์คลี่คลายแล้ว ให้เร่งสำรวจและจัดทำบัญชีความเสียหาย ให้ครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ส่วนจังหวัดที่ยังมีสถานการณ์อุทกภัย ให้ดูแลชีวิตความเป็นอยู่ของผู้ประสบภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ นอกจากนี้ ให้เชื่อมโยงการระบายน้ำในพื้นที่รอยต่อระหว่างจังหวัดอย่างใกล้ชิด เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ท้ายนี้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทาง สายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๐ DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๖:๕๘ Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๖:๐๓ Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๖:๓๕ โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๖:๓๑ 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๖:๒๗ TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๖:๔๗ SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๖:๐๐ โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๖:๒๙ หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๖:๒๘ คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital