กสอ. กางแผนแอคชั่นดัน SMEs ครึ่งหลังปี 60 รุกเศรษฐกิจระดับท้องถิ่น พร้อมแย้มเตรียมผุดศูนย์ไฮเทคปักธง 77 แห่งทั่วไทย

ศุกร์ ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๐๗
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เผยยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs ในช่วงครึ่งปีหลัง 2560และปีงบประมาณ 2561 โดย กสอ. ได้กำหนดแนวทางและวางเป้าหมายการส่งเสริมผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์พัฒนา SMEs 4.0 ด้วยมาตรการใหญ่ 3 ด้าน คือ 1. มาตรการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ในระดับท้องถิ่นให้มีความครอบคลุมในระบบบริการด้านที่ปรึกษาธุรกิจ ระบบเทคโนโลยี และเครื่องมือส่งเสริมที่มีความทันสมัย 2. มาตรการการผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพตามแต่ละพื้นที่ด้วยแนวทางประชารัฐ และ 3. มาตรการการเชื่อมโยง SMEs ไทยสู่ระดับสากล ทั้งประเทศในระดับคู่ค้าร่วมทุน ลงทุน ประเทศร่วมพัฒนา อาทิ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลีใต้ และฮ่องกง โดยจะอาศัยแนวทางการขับเคลื่อนที่มีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve การเชื่อมโยงระบบการผลิตไร้แรงงานมนุษย์ การเชื่อมโยงเส้นทางสายไหม และการจัดตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนเทคโนโลยี เป็นต้น

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ด้วยสถานการณ์ทางด้านการดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ปรับแนวทางการดำเนินงานในครึ่งปีหลัง 2560 ต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ2561 ซึ่งทางกรมฯ ได้กำหนดนโยบายและวางเป้าหมาการดำเนินงานที่จะเดินหน้าผลักดันความสำเร็จให้กับผู้ประกอบการด้วยกลยุทธ์การพัฒนา SMEs 4.0 โดยวางมาตรการใหญ่ไว้ 3 เรื่อง ได้แก่

1. มาตรการยกระดับศูนย์สนับสนุนและช่วยเหลือ SMEs ที่จะขยายการให้บริการครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศอย่างทั่วถึง โดยการยกระดับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดขึ้นเป็นเครือข่ายศูนย์สนับสนุน และช่วยเหลือ SMEs ประจำจังหวัด ซึ่งรูปแบบและโครงสร้างจะเหมือนกับศูนย์ SME Support & Rescue Center ที่ขณะนี้ได้ดำเนินการครบแล้วในทุกจังหวัด นอกจากนี้ ยังจะยกระดับศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมทั้ง 11 แห่ง ทั่วประเทศ ได้แก่ เชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา อุบลราชธานี สุพรรณบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพ SMEs ด้วยระบบนิเวศรูปแบบใหม่หรือ Ecosystem ให้ครอบคลุมทุกมิติ ได้แก่

· การขับเคลื่อนผลงานนวัตกรรมไปสู่เชิงพาณิชย์ด้วยการส่งเสริมระบบดิจิทัล และเครื่องมือทันสมัยสำหรับการต่อยอดผลิตภัณฑ์ เช่น 3D Printer ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ เพื่อให้ SMEs ในพื้นที่ทั่วประเทศได้มาทดลองเรียนรู้

· ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์เพื่อยกระดับและเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า โดยมีนักออกแบบที่คอยให้บริการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ พร้อมด้วยการเชื่อมโยงผู้ประกอบการ และเครือข่ายที่เป็นหน่วยงานหลักด้านการออกแบบให้สามารถแชร์ไอเดียและดำเนินธุรกิจร่วมกัน

· การเติมองค์ความรู้ในการเพิ่มผลิตภาพและมาตรฐาน การพัฒนาระบบบริหารจัดการ การบัญชีและการเงิน ให้ก้าวสู่ SMART SMEs ในลักษณะของ SME Academy โดยเฉพาะการใช้ระบบดิจิทัลในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น E-Commerce ระบบApplication หรือการเรียนรู้บทเรียนต่างๆ ผ่านแพลทฟอร์มเว็บไซต์เพื่อก้าวสู่โลกการค้าสมัยใหม่

· การจัดที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูลทางอุตสาหกรรมประจำศูนย์เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้น จนถึงเชิงลึก อาทิ การบริหารจัดการ โอกาสด้านการลงทุน โอกาสทางธุรกิจ ซึ่งจะเริ่มเปิดตัว การให้บริการรูปแบบใหม่ผ่านกิจกรรม Open House ราวในเดือนกันยายนนี้ที่จังหวัดชลบุรีเป็นที่แรก และจะดำเนินการให้ครบทั้ง 11 แห่งภายในปีนี้

2. มาตรการการผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพตามแต่ละพื้นที่ ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ โดยบูรณาการแนวทางร่วมกันระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมกับกระทรวงมหาดไทย เบื้องต้นได้เสนอนายกรัฐมนตรีให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐจังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน สำหรับภารกิจสำคัญก็คือกำหนดแนวทางการพัฒนา SMEs ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ความต้องการและศักยภาพของจังหวัด และคณะกรรมการชุดนี้จะมีองค์ประกอบของหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในจังหวัดทุกภาคส่วน มาร่วมกันส่งเสริมพัฒนาพร้อมผลักดัน SMEs ที่มีศักยภาพให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

3. มาตรการเชื่อมโยง SMEs ไทยให้ก้าวสู่ระดับสากลมากขึ้น โดยจะอาศัยความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศในระดับคู่ค้า ร่วมทุน ลงทุน ส่งออก หรือการร่วมมือพัฒนา ซึ่งที่ผ่านมาทางกระทรวงฯ ได้พยายามสร้างความสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อน การพัฒนาให้เกิดผลเป็นรูปธรรมทุก ๆ ปี อาทิ

· ญี่ปุ่นได้มีการลงนาม MOU ระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมของไทยกับกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่น เพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยเชื่อมโยงกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อออกสู่ตลาดโลกไปด้วยกัน ครอบคลุมความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม S-Curve การพัฒนาพื้นที่ EEC รวมถึงการพัฒนาบุคลากรทุกระดับ รวมไปถึงSMEs ของไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายสำคัญที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เช่น อุตสาหกรรมอุปกรณ์และเครื่องมือแพทย์ ชิ้นส่วนอากาศยาน และอุตสาหกรรมอาหาร ให้สามารถปรับปรุงกระบวนการผลิตและเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้

· เกาหลีใต้ ได้มีการลงนาม MOU กับ SMBA หรือกระทรวงส่งเสริม SMEs ของเกาหลีใต้ในการจัดตั้ง Thai – Korea TechnologyCenter (TKTEC) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนหรือถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งนวัตกรรมที่โดดเด่นของเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการผลิต พร้อมด้วยการส่งเสริมสตาร์ทอัพในด้านระบบนิเวศและ กองทุน การพัฒนา ด้านไมโครเอสเอ็มอี รวมถึงการขยายธุรกิจต้นแบบที่โดดเด่นของเกาหลีมายังประเทศไทย เป็นต้น

· ฮ่องกง ได้มีการลงนาม MOU กับ HKTDC หรือสภาพัฒนาการค้าแห่งฮ่องกง โดยฮ่องกงถือเป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของจีนในฐานะ"ตัวเชื่อม"ระหว่างจีนกับเขตเศรษฐกิจอื่น ๆ ในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับSMEs ไทยในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกับจีนและตลาดโลกผ่านช่องทางดังกล่าว สอดคล้องกับนโยบาย "One Belt-One Road" ที่มีความได้เปรียบที่สุดบนแถบยูเรเชีย เพื่อสร้างความมั่งคั่งได้ต่อไป

· เยอรมนี ซึ่งกำลังจัดตั้งคณะทำงานประชารัฐไทย-เยอรมัน เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 โดยเยอรมนีเป็นต้นคิดและต้นแบบของโลกและไทยในเรื่อง Industry 4.0 จึงสามารถที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ความก้าวหน้าในการนำเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ (ICT) ไปใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า ซึ่งจุดเด่นที่สำคัญ คือ สามารถสร้างเครือข่ายเชื่อมต่อความต้องการผู้บริโภคกับผู้ผลิตเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการแบบอัตโนมัติ (Automation) ผลิตสิ่งของหลากหลายรูปแบบได้ในเวลาเดียวกัน แทนการผลิตครั้งละจำนวนมากๆ ดังเช่นในปัจจุบัน และสามารถทำได้ทุกแห่งในโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถขับเคลื่อนได้แม้ไม่มีผู้ควบคุม

สำหรับผู้ที่สนใจรายละเอียดสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม โทรศัพท์0 2202 4414 – 18 หรือ เข้าไปที่ www.dip.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๒๔ เม.ย. เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๒๔ เม.ย. อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๒๔ เม.ย. กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๒๔ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๒๔ เม.ย. SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๒๔ เม.ย. 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๒๔ เม.ย. โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ