กสอ. โชว์ทิศทางสตาร์ทอัพไทยสดใสดั่งจุดพลุ ชี้ 7 เทรนด์สตาร์ทอัพมาแรงปี 61 พร้อมดันเมกเกอร์สเปซสร้างเครือข่ายดิจิทัลดึงยักษ์ใหญ่ร่วมให้ทุน

จันทร์ ๐๗ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๐๒
· กสอ. จับมือเดลต้าฯ มอบเงิน 5 แสนจัดตั้งธุรกิจ โชว์ 4 นวัตกรรม เครื่องช่วยอ่านหนังสือคนตาบอด – ระบบวัดอุณหภูมิทางการแพทย์เรียลไทม์ – แอปฯ คุมไฟฟ้าไร้สาย – ตัวช่วยคุมระบบ BAS ลดการเปลืองไฟ

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม ชี้สัญญาณการพัฒนาสตาร์ทอัพ จากทุกภาคส่วนของไทยยังคงสดใสต่อเนื่อง เผยปี 2560 สตาร์ทอัพไทยเติบโตขึ้นจากช่วง 2 -3 ปีก่อน ประมาณ 8,000 ราย หรือ กว่า 80%โดยในจำนวนนี้แบ่งเป็นสตาร์ทอัพสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้จริงอยู่ที่ประมาณ 1,500 ราย โดยการดำเนินการส่งเสริมสตาร์ทอัพของ กสอ. ในปีนี้ ได้มีแนวทางที่เข้มขึ้น ซึ่งแบ่งเป็น 4 รูปแบบ คือ การส่งเสริมและผลักดันนวัตกรรมและระบบดิจิทัลที่พัฒนาแล้วเข้าสู่ธุรกิจ การให้คำปรึกษาด้านโมเดลและแผนธุรกิจ เพื่อเสนอต่อแหล่งทุน การพัฒนาและระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำงาน และการส่งเสริมเข้าถึงแหล่งทุน อย่างไรก็ดี เมื่อเร็ว ๆ นี้ กสอ. ยังได้จัดพิธีมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจภายใต้กิจกรรม Angel Fund for Startup ปี 2 ณ เวทีกลาง ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ได้ให้ความสำคัญ กับกระแสสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้น และนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างยิ่งที่ขณะนี้การดำเนินการส่งเสริมจากทุกภาคส่วนถือได้ว่ามีสัญญาณที่สดใสอย่างเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐบาลที่มีนโยบายกองทุนและโครงการในการส่งเสริมให้เกิดผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพให้เกิดขึ้นในปริมาณมากตามภาคต่าง ๆ ทั้งยังได้สร้างความตระหนักและการรับรู้ มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจสตาร์ทอัพมากขึ้น รวมถึงมาตรการจูงใจนักลงทุน ความร่วมมือพัฒนาร่วมกันกับองค์กรต่างประเทศ ตลอดจนภาคเอกชนที่หันมาแข่งขันกันด้วยระบบดิจิทัล จนเกิดเป็นโอกาสการร่วมทุนกับสตาร์ทอัพเพื่อให้เกิดแนวความคิดที่สร้างสรรค์และนวัตกรรมขั้นสูงที่แปลกใหม่กลับสู่การพัฒนาองค์กร

กระทรวงอุตสาหกรรมพบว่า ในปี 2560 มีการเพิ่มขึ้นของสตาร์ทอัพทั่วไปกว่า 8,000 ราย เพิ่มขึ้น จากช่วง 2 – 3 ปีก่อนที่มีเพียงแค่ระดับหลัก100 ราย หรือเพิ่มขึ้นกว่า 80 % อย่างไรก็ตามการเติบโตขึ้น ในจำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่แล้วยังเป็นสตาร์ทอัพที่อยู่ในช่วงของการพัฒนาแนวคิดและช่วงพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Problem Solution Fit and Product Market Fit) โดยสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพและสามารถเริ่มดำเนินธุรกิจได้จริงอยู่ที่ประมาณ 1,500 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ ช่วยให้เกิดการจ้างงานได้ถึง 7,500 อัตรา หรือ คิดเป็นสัดส่วน 1:5 (ที่มา : สมาคมการค้าเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเทคโนโลยีรายใหม่) ทั้งนี้ ยังพบอีกว่าสตาร์ทอัพส่วนใหญ่ของไทย จะอยู่ในกลุ่มของแพลทฟอร์มแอปพลิเคชั่น ระบบ Fintech, E-Commerce ที่กำลังครอบคลุมและกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก การบริการต่าง ๆ(Service Tech) ผ่านช่องทางออนไลน์ ตามมาด้วยการพัฒนาระบบการจัดการทางธุรกิจและการเป็นส่วนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวัน โดยปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตดังกล่าวมาจากความนิยมในการใช้อินเทอร์เน็ต ความต้องการความสะดวกสบายในชีวิต ตลอดจนประสิทธิภาพทางระบบอินเทอร์เน็ตของไทย ที่อยู่ในระดับที่ค่อนข้างดี แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มในอนาคตการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพ จะไม่ได้มีเพียงแค่เทค-ดิจิทัลสตาร์ทอัพเท่านั้น แต่จะต้องพัฒนาให้เกิดอย่างครอบคลุมตามกระแสโลกที่เป็นไป โดยแนวโน้มสตาร์ทอัพ ที่จะเติบโตมากขึ้นในปี 2561 และน่าจับตาพบว่าอยู่ในภาคเกษตร อาหาร ท่องเที่ยวและสุขภาพ แบ่งเป็น 7 กลุ่ม คือ กลุ่มธุรกิจภาครัฐและการศึกษา กลุ่มการเกษตรและอาหาร กลุ่มนวัตกรรมเพื่อสุขภาพ กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตแห่งอนาคต กลุ่มไลฟ์สไตล์และความบันเทิง กลุ่มเทคโนโลยีท่องเที่ยว และกลุ่มเทคโนโลยีอสังหาริมทรัพย์ (ที่มา : สนช.)

ด้าน ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า กสอ. ได้กำหนดให้การส่งเสริมสตาร์ทอัพเป็นยุทธศาสตร์หลักที่สำคัญของหน่วยงานด้านหนึ่ง ซึ่งจากการดำเนินงานในระยะเกือบ 2 ปีที่ผ่านมาได้เน้นกระบวนการพัฒนาและต่อยอดแนวความคิดให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงจริง พร้อมทั้งส่งเสริมการนำประโยชน์ จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ มาเป็นตัวขับเคลื่อนให้กับสินค้าหรือบริการได้ โดยตามแนวทางดังกล่าว กสอ. ยังมุ่งหวังให้การพัฒนาเหล่านี้มีผลตกกระทบถึงการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ สู่ระบบเทคโนโลยีที่เอื้อต่อภาคการผลิต ต่อเนื่องถึงการขยายผลสู่ภาคอื่น ๆ ตามแต่ละด้านที่จำเป็น ซึ่งจะเป็นการตอบโจทย์ตามอุปสงค์ของผู้บริโภคในตลาดระดับต่าง ๆ ได้อย่างครอบคลุมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดร.พสุ กล่าวต่อว่า สำหรับยุทธศาสตร์และแนวทางการส่งเสริมสตาร์ทอัพของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในปี 2560 นี้ ถือได้ว่ามีความชัดเจนและข้มข้นมากขึ้น โดยได้แบ่งนโยบายการสนับสนุนกลุ่มคนดังกล่าวใน 4 รูปแบบหลัก ได้แก่

1. การพัฒนาผู้ประกอบการและสร้างสตาร์ทอัพรายใหม่ด้วยการส่งเสริมความรู้และทักษะในการดำเนินธุรกิจด้วยการนำระบบเทคโนโลยี ดิจิทัล และพัฒนานวัตกรรมขึ้นใหม่หรือพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ

2. การให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในการสร้างโมเดลธุรกิจเริ่มต้น การกำหนดตลาด กลุ่มเป้าหมายการเขียนแผนงาน เพื่อการนำเสนอแนวความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นไปได้ต่อการพัฒนาสู่ธุรกิจจริงต่อแหล่งทุน

3. การพัฒนาระบบนิเวศที่เอื้อต่อการทำงานและการแบ่งปันความคิดสร้างสรรค์ร่วมกันทั้งในรูปแบบ Co-Working Space, MakerSpace ตลอดจน Innovation Space เพื่อผลักดันให้เกิดการรวมตัว พัฒนาผลงาน โดยมีตัวอย่างที่เห็นผลสำเร็จ อาทิ กลุ่ม ChiangMai Maker Space พร้อมด้วยศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ Thai IDC และศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรรมสู่อนาคต หรือ ศูนย์ITC

4. การส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุน โดยจัดให้มีกิจกรรมการแข่งขันเพื่อนำเสนอผลงานการสร้างผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่มีมูลค่าสูง เพื่อให้ได้รับโอกาสและประสบการณ์ในการแสวงหาแหล่งทุนในรูปแบบ Angel Fund เพื่อการจัดตั้งธุรกิจ ซึ่งในปีนี้มีกิจกรรม AngelFund for Startup ปี 2 โดย กสอ. ได้ร่วมกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ร่วมกันพัฒนาไอเดียสร้างสรรค์ที่เกิดจากคนรุ่นใหม่ที่สามารถต่อยอดเริ่มต้นธุรกิจได้

อย่างไรก็ดี เมื่อเร็ว ๆ นี้ กสอ. ได้จัดพิธีมอบเงินทุนสนับสนุนการจัดตั้งธุรกิจ กิจกรรม Angel Fund for Startup ณ เวทีกลาง ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพค เมืองทองธานี ภายในงาน Thailand Industry Expo 2017 โดยกิจกรรม Angel Fund for Startup ในปีนี้มีกลุ่มสตาร์ทอัพและนำเสนอผลงานจำนวนถึง 254 ทีม/459 คน และทีมที่ได้รับคัดเลือกเข้ารับทุน Angel Fund ในวงเงิน 500,000 บาท ภายใต้ Thailand 4.0 ได้แก่ ทีม ReadRing (รี้ด-ริง) ผู้พัฒนาแนวคิดและผลงาน คอมพิวเตอร์เบรลล์ขนาดพกพาพร้อมฟังก์ชั่นอ่านหนังสือปกติสำหรับคนตาบอด และทีม The Brother Team ผู้พัฒนาแนวคิดและผลงาน IO-Med โซลูชั่นส์เพื่อใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมHealth Care และภายใต้โจทย์Energy Management ได้แก่ ทีม Pure Control System ผู้พัฒนาแนวคิดผลงาน การบริหารจัดการเครือข่ายไฟฟ้าแสงสว่างขนาดใหญ่ในพื้นที่กว้างแบบไร้สาย สามารถเพิ่มหรือลดปริมาณแสงสว่างเพื่อการประหยัดพลังงาน และทีมOM FOR YOU ผู้พัฒนาแนวคิดผลงาน ระบบเพิ่มความชาญฉลาดให้กับ Building Automation System (BAS) เพื่อช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า โดยหลังจากผู้ที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนแล้ว กสอ. จะเข้าติดตามความต่อเนื่อง และร่วมพัฒนา ตลอดจนเผยแพร่และสนับสนุนผ่านช่องทางต่าง ๆ ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น ดร.พสุ กล่าวทิ้งท้าย

กิจกรรม Angel Fund for Startup ปี 2560 ยังคงเปิดโอกาสให้กับผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการอีกครั้ง โดยสามารถกรอกใบสมัคร Online ได้ที่ http://plan2biz.dnnfriends.com หรือที่ http://nec.dip.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อ 0 2202 4570-4 0 2354 3171

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑:๔๔ กรรมการ กคช. ลงพื้นที่ชุมชนดินแดง ย้ำ ! ตรวจสอบอาคาร D1 ให้ละเอียด เพื่อสร้างความมั่นใจให้พี่น้องดินแดง
๑๑:๑๑ สาขาการผลิตอีเว้นท์ฯ ม.กรุงเทพ พร้อมผลักดันวงการ T-POP ใน CHECKMATE T-POP DANCE BATTLE
๑๐:๑๓ ฟอร์ติเน็ตผนึกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมเป็นศูนย์กลางภาคเหนือ สร้างกำลังพลมืออาชีพด้านไซเบอร์เต็มรูปแบบ
๑๐:๕๘ เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ พระราม 9 ชวนสัมผัสฟาร์มกลางท้องทุ่ง และเรียนรู้อนุรักษ์ควายไทย ในงาน INTO THE FARM มนต์รัก
๑๐:๓๐ วว. แนะวัสดุปลูกต้นอ่อนทานตะวันจากก้อนเห็ดเก่าใช้แล้ว
๑๐:๒๑ MICRO จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (E-AGM) ประจำปี 2567 ชูกระแสเงินสดแกร่ง - เตรียมชำระคืนหุ้นกู้ 321 ลบ. เม.ย.
๐๙:๔๓ ยางคอนติเนนทอล ฉลองครบรอบความสำเร็จ 15 ปี ในประเทศไทย และการก่อตั้งโรงงานยางคอนติเนนทอลแห่งแรกในประเทศไทยกว่า 5
๐๙:๕๖ เนสท์เล่ ประเทศไทย เร่งเครื่องกลยุทธ์ ขับเคลื่อนสิ่งดี ๆ เพื่อผู้บริโภค นำเสนอผลิตภัณฑ์ ที่อร่อยและมีคุณค่าโภชนาการ
๐๙:๑๑ วอลโว่ คาร์ ประเทศไทย เปิดศูนย์บริการซ่อมตัวถั และสีมาตรฐานครบวงจรแห่งใหม่ ณ โชว์รูมและศูนย์บริการวอลโว่ พระนคร
๐๙:๔๔ HONNE (ฮอนน์) วงดูโอ้สุดแนวจากอังกฤษ ปล่อยเพลงใหม่ Imaginary ต้อนรับศักราชใหม่ เรื่องราวความรักโรแมนติกที่อิงจากชีวิตจริง