ปภ.เตือนง่วงแล้วขับจากการทานยา...ปัจจัยเสี่ยงอุบัติเหตุทางถนนที่ป้องกันได้

พุธ ๐๙ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๒:๔๕
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการง่วงนอนขณะขับรถจากการทานยา โดยปรับเวลาในการทานยาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการขับรถ สังเกตอาการข้างเคียงจากการทานยาในระยะแรก กรณีทานยาแล้วเกิดอาการง่วงนอนควรใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับปลี่ยนชนิดยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน หากขณะขับรถมีอาการง่วงนอนจากการทานยา ควรจอดรถพัก ในบริเวณที่ปลอดภัย หลีกเลี่ยงการทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนก่อนขับรถ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังควบคู่กับยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน ห้ามทานยาร่วมกับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพราะนอกจาก จะทำให้มีอาการเมาแล้ว ยังทำให้ง่วงนอนเพิ่มเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการง่วงแล้วขับ และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า ง่วงแล้วขับเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะการทานยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขับรถ และการตัดสินใจแก้ไขเหตุฉุกเฉินลดลง รวมถึงอาจทำให้เกิดอาการหลับในได้ เพื่อความปลอดภัย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ขอแนะข้อควรปฏิบัติเพื่อป้องกันอาการง่วงนอนขณะขับรถจากการทานยา ดังนี้ ปรับเวลา ในการทานยาไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการขับรถ โดยไม่ทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอนในช่วงก่อนและขณะเดินทาง ควรทานยาเมื่อถึงจุดหมายแล้ว หรือเปลี่ยนเวลาทานยาเป็นช่วงก่อนนอน ร่างกายจะได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ สังเกตอาการข้างเคียงจากการทานยาในระยะแรก โดยเฉพาะยาที่มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งมีผลข้างเคียงทำให้เกิดอาการง่วงนอน หากขับรถจะเสี่ยงต่อการหลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ กรณีทานยาแล้วมีอาการง่วงนอน ให้ปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อปรับเปลี่ยน ชนิดยาหรือลดปริมาณยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอน กรณีทานยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอนควรใช้บริการรถโดยสารสาธารณะ หรือให้ผู้อื่นขับแทน หากขณะขับรถมีอาการง่วงนอนจากการทานยา ควรจอดรถพักในบริเวณที่ปลอดภัย รอจนยาหมดฤทธิ์ค่อยขับรถไปต่อ ไม่ควรฝืนขับรถในขณะที่มีอาการง่วงนอน เพราะจะทำให้หลับใน ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ข้อห้ามในการทานยาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุง่วงแล้วขับ หลีกเลี่ยงการทานยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงนอนก่อนขับรถ โดยเฉพาะยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้แพ้ เพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลังควบคู่กับยาที่มีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการง่วงนอน เพราะอาจบีบหัวใจ กระตุ้นสมอง ตาค้าง มึนงง ทำให้เกิดอาการหลับในขณะขับรถได้ ห้ามทานยาร่วมกับเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะกรณีที่จำเป็นต้องขับรถ เพราะนอกจากจะมีอาการเมาแล้ว ยังส่งผลให้ง่วงนอนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทั้งนี้ การปฏิบัติตามคำแนะนำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุง่วงแล้วขับจากการทานยา และข้อห้ามในการทานยา จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการหลับใน และเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐:๕๙ ผู้บริหารเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมเปิดการแสดงแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนานาชาติ ร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์มรดกโลกของไทย ในงาน International Folklore
๑๐:๓๐ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มจพ. MOU โรงเรียนอนุราชประสิทธิ์ พัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม เทคโนโลยี
๑๐:๑๕ Lexar แนะนำผลิตภัณฑ์ใหม่ PRO WORKFLOW และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในงาน NAB
๑๐:๔๒ CITE DPU ปูทางสู่ยุคข้อมูลขนาดใหญ่ จัดอบรม CKAN ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม
๑๐:๑๖ โมทีฟ ดีเวลลอปเม้นท์ จับมือ พลัส พร็อพเพอร์ตี้ รุกตลาดย่านบางปู กับโครงการ โมติ ทาวน์ (สุขุมวิท - แพรกษา) ทาวน์โฮมสไตล์โมเดิร์น นอร์ดิก เริ่มต้นเพียง 2.69
๑๐:๑๕ CHINA ADMISSION DAY
๑๐:๔๕ สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เปิดประมูลสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ครั้งที่ 3/2567 จำนวน 17 อัตรา กรุงเทพมหานคร
๑๐:๔๖ โอซีซี ร่วมส่งมอบความสุขในวันสงกรานต์ ปี 2567
๑๐:๒๗ กรุงเทพโปรดิ๊วส นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หนุนปฏิบัติการ 9 มาตรการของรัฐบาล สู้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 บูรณาการคู่ค้าพันธมิตร
๐๙:๔๙ การเคหะแห่งชาติ คิกออฟ กิจกรรม สำนักงานสีเขียว Green office