SACICT ร่วมอนุรักษ์งานหัตถศิลป์ไทยอันทรงคุณค่าจากการรังสรรค์ของครูศิลป์ของแผ่นดิน ในงาน SACICT เพลิน Craft

จันทร์ ๒๘ สิงหาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๐๗
SACICT หรือ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน และรวบรวมงานหัตถศิลป์ไทยอันทรงคุณค่าจากฝีมือช่างไทย ดำเนินการเฟ้นหาและเชิดชูให้เป็น "ครูศิลป์ของแผ่นดิน ประจำปี 2560" พร้อมจัดแสดงและให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 3 กันยายนนี้ ที่งาน SACICT เพลิน Craft ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อ.บางไทร จ.อยุธยาฯ

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า งานศิลปหัตถกรรม ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของชาติ ที่มีการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และกระบวนการสร้างสรรค์งานผ่านช่างฝีมือที่มีความรู้ความชำนาญจากรุ่นสู่รุ่น หากแต่ความรู้เหล่านี้ไม่ได้มีการบันทึกหรือเก็บรวบรวมไว้ให้เป็นรูปธรรม จึงลบเลือนและสูญหายไปตามกาลเวลา SACICT ในฐานะเป็นหน่วยงานที่ให้ความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสาน และรวบรวมงานหัตถศิลป์ไทยให้คงอยู่ในวิถีชีวิตประจำวัน โดยดำเนินการสืบค้น และให้ความสำคัญกับบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถที่ได้รักษาและถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาของบรรพบุรุษ เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคคลผู้ที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ให้เป็น "ครูศิลป์ของแผ่นดิน" ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเผยแพร่คุณค่าของผลงานของครูฯ สู่ผู้สนใจในงานศิลปหัตถกรรม ทั้งเยาวชน และสาธารณชนได้รู้จักอย่างกว้างขวาง ตลอดจนเป็นการเก็บรักษาข้อมูลภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมของครูช่างเหล่านี้ไว้เป็นแหล่งความรู้แม่แบบ เพื่อถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังสืบต่อไป

ในปี 2560 นี้ มี "ครูศิลป์ของแผ่นดิน" ที่ได้รับการคัดเลือกทั้งสิ้น 10 ท่าน ได้แก่ นายแวฮามิ วานิ จ. ปัตตานี ผู้สืบทอดการทำว่าวจากบรรพบุรุษที่เป็นช่างหลวงวังสายบุรี จังหวัดปัตตานี ที่สืบทอดการทำว่าว "เบอร์อามัส" ว่าวที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นใต้ นางจำปี ธรรมศิริ จ.อุทัยธานี ผู้อนุรักษ์และสืบสานศิลปะการทอผ้ายลายโบราณจากบรรพชนชาวลาวครั่งอย่างเข้มแข็งมีทักษะและความชำนาญการสร้างลายผ้าในแบบของตนเอง ใช้เทคนิคการทอผ้าแบบดั้งเดิมเพื่อให้ลวดลายบนผ้าทอมีความสวยงามเด่นชัด มีเทคนิคการใช้รูปแบบลายพื้นฐานที่เรียกว่า "กุญแจลาย" มาดัดแปลงสามารถทอผ้าเป็นลวดลายตามจินตนาการได้แม้ขณะที่ฟังเพลง หรือการฟังบทกวี จ.ส.อ.ดร.ทวี บูรณเขตต์ จ.พิษณุโลก ผู้สร้างสรรค์งานหัตถศิลป์การปั้น-หล่อพระพุทธรูปในสมัยและปางต่างๆ ที่ใด้รับการยอมรับทั้งประเทศว่ามีความงดงาม และเป็นบุคคลที่รักษาอัตลักษณ์งานปั้นพระพุทธชินราชให้คง อยู่จนถึงปัจจุบันได้รับการยกย่องว่าเป็น "เพชรน้ำเอกแห่งวงการช่างศิลป์" นายสูดิน ดอเลาะ จ.นราธิวาส เป็นบุคคลที่มีฝีมือทักษะความชำนาญในการทำกลองบานอ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีในวิถีและวัฒนธรรมมุสลิมในแถบชายแดนใต้ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ทำด้วยมือทุกขั้นตอนจากวัตถุดิบในพื้นที่ และเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ และคงเหลือที่ อ.แว้ง ที่เดียวเท่านั้น นางปราณีต วรวงสานนท์ จ.นครราชสีมา เป็นผู้ที่สานต่อภูมิปัญญาผ้าทอชาติพันธุ์ไท-ยวนโดยอุทิศตนถ่ายทอดให้กับเยาวชนรุ่นใหม่เพื่อมิให้ผ้าทอไท-ยวนสูญหายไปตามกาลเวลาคงคุณค่าเอกลักษณ์ของผ้าทอไท-ยวนในพื้นที่สีคิ้วแบบดั้งเดิม ที่มีมานานกว่า 200 ปี นางสุนา ศรีบุตรโคตร จ. อุดรธานี เป็นผู้สืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมลายขิดที่มีมาตั้งแต่โบราณมีองค์ความรู้ทอผ้าไหมลายขิดได้อย่างสวยงามประณีต เป็นผู้อนุรักษ์ฟื้นฟูลายโบราณที่ใกล้จะสูญหาย ตลอดจนคิดค้นประยุกต์ลวดลายขึ้นมาใหม่ อาทิ ลายสมเด็จ ลายมรดกโลก ซึ่งเป็นผ้าเอกลักษณ์ประจำจังหวัดอุดรธานี นายใจ๋คำ ตาปัญโญ จ.เชียงใหม่ เป็นผู้สร้างสรรค์ของเล่นจากวัสดุธรรมชาติที่หาได้ในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์แก่สังคมเป็นผู้รื้อฟื้นการประดิษฐ์ของเล่นพื้นบ้านล้านนาอย่างจริงจังจากที่เคยใกล้สูญหายไปจากวิถีชีวิตเป็นผู้ริเริ่ม "โครงการอุ๊ยสอนหลาน" นางสมคิด หลาวทอง จ.กรุงเทพฯ เป็นเหมือนผู้เป็นแม่ครูผู้หนึ่งที่มีฝีมือการปักชุดโขน ละครแบบโบราณดั้งเดิมที่วิจิตรงดงาม ที่ได้รับการยอมรับในฝีมือจากกรมศิลปากรเป็นผู้อนุรักษ์กระบวนการปักชุดโขนละคร นาย กริ้ม สินธุรัตน์ จ.สงขลา เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการทอผ้า และคิดลายผ้าที่เป็นเอกลักษณ์ของเกาะยอ และสอนศิลปะการทอผ้าแก่ชาวบ้านและลูกหลาน ตั้งแต่อดีต ถึง ปัจจุบัน และนายกุศล เรณุนันท์ ณ อยุธยา จ.อำนาจเจริญ เป็นผู้สืบสานและอนุรักษ์ศิลปะการแทงใบลาน งานศิลปกรรมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นผู้เต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณการอนุรักษ์สืบสานงานศิลปะที่เป็นภูมิปัญญาของไทย เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ภาคภูมิใจ และได้ชื่นชมสมบัติของแผ่นดิน

ผู้สนใจสามารถมาชมงานหัตถกรรมไทยอันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้ที่งาน SACICT เพลิน Craft ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม ถึง 3 กันยายนนี้ ณ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สอบถามเพิ่มเติม โทร 1289 ,www.facebook.com/sacict

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital