วว.จัดทำโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 "ประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน"

จันทร์ ๑๑ กันยายน ๒๐๑๗ ๐๙:๒๔
วันนี้ (8 กันยายน 2560) ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานเปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปรมินทรภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร "ประชารัฐร่วมใจ ปลูกต้นไม้ให้แผ่นดิน" ดำเนินการในรูปแบบกิจกรรมปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำที่ยั่งยืน เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 12 สิงหาคม 2560 ซึ่งดำเนินโครงการโดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) พร้อมจัดเตรียมพื้นที่ปลูกประมาณ 30 ไร่ จำนวนกล้าไม้ 985 ต้น ประกอบด้วยพรรณไม้มากกว่า 30 ชนิดพันธุ์ ณ สถานีวิจัยลำตะคอง ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา โดยการประสานความร่วมมือของบุคลากรภายในองค์กร หน่วยงานพันธมิตร ตลอดจนประชาชนในพื้นที่และผู้แทนสื่อมวลชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างความรักความสามัคคี กระทำความดีให้กับประเทศชาติ ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์ต้นไม้และทรัพยากรป่าไม้

ทั้งนี้ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ได้ร่วมปลูกต้นมหาพรหมราชินี...พรรณไม้ในพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งสำรวจพบครั้งแรกโดย ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 จากอุทยานแห่งชาติแม่สุรินทร์ บ้านห้วยฮี้ ต.ห้วยปูลิง อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน และเป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทย (Endemic of Thailand) โดยปัจจุบันต้นมหาพรหมราชินีจัดเป็นพรรณไม้ประจำ วว.

นอกจากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานอาคารเรือนกระจก 1 และ 2 พร้อมทั้งแผนการดำเนินงานสถานีวิจัยลำตะคอง และเยี่ยมชมกิจกรรมชุมชนที่ได้รับการถ่ายทอดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) จากสถานีวิจัยลำตะคอง ได้แก่ กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วย กลุ่มผู้ผลิตข้าวโพด กลุ่มผู้ปลูกผักสลัด กลุ่มผู้ปลูกเลี้ยงผักหวานป่า กลุ่มผลิตเห็ดเพื่อการค้า และผลผลิตน้อยหน่า

ดร.ลักษมี ปลั่งแสงมาศ ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงแผนการดำเนินงานในพื้นที่สถานีวิจัยลำตะคองในปัจจุบันและในอนาคตว่า มุ่งพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ 40 ไร่ ที่ต่อเนื่องกับพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ (อาคารเรือนกระจก 2 อาคาร) และสามารถเชื่อมโยงกับสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราชในพื้นที่ใกล้เคียงได้ สามารถใช้พื้นที่เป็นสถานที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการพัฒนาผู้ประกอบการ OTOP หรือส่งเสริมการดำเนินงานตามเป้าหมายขององค์กร โดยแบ่งการดำเนินงาน ได้ดังนี้ 1.ศูนย์วิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร และเป็นพื้นที่ต้นน้ำของเขื่อนลำตะคอง โดยมีแปลงทดลองและทดสอบด้านการวิจัยการเกษตร

2.ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร เพื่อเป็นสถานที่จัดฝึกอบรม ถ่ายทอดความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกร และชุมชน ซึ่งมีความพร้อมด้านที่ประชุมอบรม ที่พัก และแปลงสาธิตจริง ประกอบด้วย อาคารปฏิบัติการเพื่อการขยายสายพันธุ์และการพัฒนาป่าไม้เศรษฐกิจ และศูนย์การผลิตและกระจายพันธุ์กล้าไม้คุณภาพเพื่อชุมชน 3.พิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพฤกษศาสตร์ให้กับเยาวชนและประชาชนที่สนใจประกอบด้วย อาคารเทคโนโลยีการเกษตรเสมือนจริงเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อาคารเฉลิมพระเกียรติเรือนกระจกหลังที่ 1) เป็นอาคารที่รวบพรรณไม้หลากหลายชนิด โดยแบ่งเป็นส่วนที่แสดงพันธุ์พืชในกลุ่มเฟิน กลุ่มกล้วยไม้ กลุ่มพรรณไม้เลื้อย กลุ่มพรรณไม้แถบทะเลทราย/พรรณไม้น้ำ และอาคารอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อาคารเฉลิมพระเกียรติเรือนกระจกหลังที่ 2) เป็นอาคารที่จัดแสดงวิวัฒนาการพันธุ์พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ และจัดแสดงสายพันธุ์แมลงในประเทศไทย

4.ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลจากขยะ เพื่อเป็นแหล่งสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากขยะชีวมวลแบบครบวงจร รองรับขยะชีวมวล 12 ตัน/วัน ประกอบด้วย อาคารวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานชีวมวลจากขยะด้วย Plasma technology และ โรงไฟฟ้าจากขยะชีวมวลด้วยแก๊สซิเฟชั่น ไฟโรไลซีสเทคโนโลยี 5.ศูนย์เรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ เช่น การผลิต block ประสาน และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งมีโรงงานนำทาง (pilot plant) ในการผลิตยาง compound และน้ำยางข้น เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ยาง เช่น หมอนยางพารา ถุงมือยาง อีกทั้งยังสามารถรับจ้างผลิต (OEM) ให้กับผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ยางพารา ประกอบด้วย อาคารศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ

อนึ่ง สำหรับการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความหมายดังนี้

ปลูกป่าอย่างที่ 1 คือ ปลูกพรรณไม้เศรษฐกิจ เช่น มหาพรหมราชินื ไม้ตะเคียนทอง สัก ยางนา มะฮอกกานี กระทินเทพา พะยอม เต็ง กระบก พะยูง กระพี้จั่น คำมอกหลวง กันเกรา ลำพูป่า กุ่มน้ำ กฤษณา ประดู่ มะป่วน และมะค่าโมง เป็นต้น

ประโยชน์อย่างที่ 1 คือ ปลูกต้นไม้สำหรับใช้เนื้อไม้มาปลูกสร้างอาคารบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

ปลูกป่าอย่างที่ 2 คือ ปลูกพรรณไม้กินได้ เช่น ไม้ผลต่างๆ ได้แก่ ตะคร้อ ลูกดิ่ง คอแลน ตะขบป่า มะไฟป่า มะม่วงมหาชนก ชะมวง มะเดื่อปล้อง ยอป่า ชมพู่ กระท้อน ขี้เหล็ก เป็นต้น

ประโยชน์อย่างที่ 2 คือ ปลูกต้นไม้สำหรับใช้กิน เป็นอาหาร เป็นยาสมุนไพร เป็นเครื่องดื่ม ตลอดจนพืชที่ปลูกเพื่อการค้าขายผลผลิตเพื่อดำรงชีพ

ปลูกป่าอย่างที่ 3 คือ พรรณไม้ใช้สอย เช่น ไม้ไผ่ และหวาย

ประโยชน์อย่างที่ 3 คือ ปลูกต้นไม้สำหรับใช้สอย ในครัวเรือน ใช้พลังงาน ใช้เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ เช่น ด้ามจอบ, มีด, ขวาน

และประโยชน์อย่างที่ 4 คือ "สามารถช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ"

หรือแปลความสรุปอย่างเข้าใจง่ายว่า "ปลูกไม้ให้พออยู่ พอกิน พอใช้ และระบบนิเวศน์"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4