สวทน. – วช. จัดประชุมประชาพิจารณ์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี ดึงผู้เกี่ยวข้องในระบบวิจัยทั้งรัฐ เอกชน และภาคการศึกษา ร่วมเสนอข้อคิดเห็นก่อนนำเสนอยุทธศาสตร์ต่อนายกรัฐมนตรี 20 ก.ย. นี้

ศุกร์ ๑๕ กันยายน ๒๐๑๗ ๐๙:๐๘
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) นำเสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ร่วมกับ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในฐานะเลขานุการร่วมในสภานโยบายวิจัยและนวัตกรรม-แห่งชาติ (สวนช.) เมื่อวันอังคารที่ 12 กันยายน 2560 ณ ห้องกมลทิพย์ บอลรูม โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ โดยมีผู้เกี่ยวข้องในระบบวิจัยทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคการศึกษา ร่วมแสดงข้อคิดเห็นต่อยุทธศาสตร์ดังกล่าวอย่างคับคั่ง

ดร.กิติพงค์ฯ เลขาธิการ สวทน. เปิดเผยว่า การประชุมประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ ถือเป็นการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปีเป็นครั้งแรก เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้เสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมของประเทศในอนาคต โดยข้อเสนอแนะที่ได้จากการประชุมประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ทางเลขานุการร่วม สวนช. จะนำไปประมวลผล และนำมาปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ก่อนนำเสนอที่ประชุม สวนช. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 20 กันยายนนี้ต่อไป ทั้งนี้ (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ 20 ปี มีทิศทางการปรับเปลี่ยนระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศใน 5 ประเด็นหลัก คือ 1. ปรับเปลี่ยนจากการวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปทาน (Supply side) ที่ตอบโจทย์ของผู้วิจัยไปสู่การวิจัยและนวัตกรรมที่มาจากอุปสงค์ (Demand side) เพื่อตอบโจทย์ประเทศ ภาคเศรษฐกิจ และภาคสังคม 2. ปรับแนวทางการวิจัยและนวัตกรรมจากหัวข้อวิจัยขนาดเล็กที่มีจำนวนมาก เป็นหัวข้อวิจัยขนาดที่มีการบูรณาการการทำวิจัย 3. ปรับแนวทางการวิจัยและนวัตกรรมที่กระจายไปทุกสาขา ไปเป็นเพื่อสาขาใดสาขาหนึ่งโดยเฉพาะที่ประเทศไทยมีความเข้มแข็ง 4. ต้องมีการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี และการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับประเทศ และ 5. เปลี่ยนจากการดำเนินงานโดยหลายหน่วยงาน ซึ่งทำให้เกิดการซ้ำซ้อนและขาดพลัง เป็นการดำเนินงานในรูปแบบที่เกิดการสร้างเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรมและการวิจัยอย่างเป็นระบบ โดยใช้กลไกประชารัฐและเครือข่ายระหว่างประเทศ เพื่อให้การวิจัยและนวัตกรรมสามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้จริง และเพิ่มขีดความสามารถของภาคการผลิตและบริการ สามารถใช้แก้ปัญหาและเกิดผลกระทบต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างสำคัญ รวมไปถึงการสร้างขีดความสามารถทางเทคโนโลยีฐานรากและสร้างนวัตกรรมทางสังคมสำหรับการเติบโตในระยะยาว

"ภายใต้วิสัยทัศน์ "ประเทศไทยใช้วิจัยและนวัตกรรมเป็นกำลังอำนาจแห่งชาติ เพื่อก้าวไปสู่ประเทศที่พัฒนาแล้วภายใน 20 ปี ด้วยความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน" ยุทธศาสตร์การวิจัยฯ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ 4 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์ที่ 3 การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างองค์ความรู้พื้นฐานของประเทศ และยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากร และระบบวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ฯ ดังกล่าวข้างต้น จะเร่งขับเคลื่อนการใช้การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เกิดผลสัมฤทธิ์สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายประเทศไทย 4.0 เพื่อนำพาประเทศหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง สร้างความสามารถในการแข่งขัน และเกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยคาดว่าจะเกิดผลกระทบในภาพรวมของประเทศ ภายในปี 2579 ประกอบด้วย 1. ประเทศไทยเป็นประเทศในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นผู้นำในนวัตกรรมในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในระดับโลก เช่น อุตสาหกรรมอาหารเพื่อสุขภาพ อุตสาหกรรมสารชีวภาพ และอุตสาหกรรมวัสดุทางการแพทย์ รวมทั้งการท่องเที่ยวและบริการที่มีมูลค่าสูง 2. เกิดการบูรณาการการทำงานด้านการวิจัยและนวัตกรรมระหว่างหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรม โดยมีแผนงานวิจัยและนวัตกรรมขนาดใหญ่ที่ดำเนินการโดยหน่วยงานในภาคส่วนต่างๆ รองรับการขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศ 4. สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาของภาคเอกชนต่อภาครัฐเป็น 80 : 20 5. ค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2 ของ GDP โดยสัดส่วนการลงทุนของเอกชนด้านการวิจัยและนวัตกรรมเพิ่มขึ้นในสัดส่วนร้อยละ 80 และ 6. สัดส่วนบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนาที่ทำการวิจัยเทียบเท่าเต็มเวลาต่อประชากรไม่น้อยกว่า 60 : 10,000" ดร.กิติพงค์ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4