จากขยะ..สู่เทรนด์รักษ์โลก

อังคาร ๑๙ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๕:๔๒
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ขยะในประเทศไทยและทั่วโลกมีสถิติเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร การประชุมเชิงปฏิบัติการ สร้างจิตสำนึกพลเมือง "พลเมืองรุ่นใหม่ เท่าทันสถานการณ์ขยะ" จัดโดยสงขลาฟอรั่ม สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อปลูกจิตสำนึกและหาแนวทางร่วมกันของเยาวชนในฐานะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยมีประเด็นการเรียนรู้5 หัวข้อ ได้แก่ 1. พฤติกรรมการทิ้งขยะของคนในสังคม 2. การสร้างขยะในชีวิตประจำวัน 3. การจัดการขยะ 4. ศึกษามุมมอง/ความคิดของคนทั่วไปเกี่ยวกับขยะ และ 5. ขยะอันตราย ผ่านมุมมองถึง"วิถี"ชุมชนโดยเยาวชนรุ่นใหม่ที่บอกเล่าในการจัดการ"ขยะเจ้าปัญหา"

ซึ่งการจัดกรรมในครั้งนี้นอกจากการได้รับความรู้จากวิทยากรแล้ว เยาวชนได้ลงพื้นที่และทำกิจกรรมต่างๆประกอบด้วย "กิจกรรม ขยะที่ฉันผลิตใน 1 วัน" เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการสร้างขยะจากตัวเราเองที่การเป็นต้นทางของขยะ ด้วยการแจกกระเป๋าผ้าให้น้องๆคนละ1ใบเพื่อเก็บขยะของตัวเองที่สร้างขึ้นให้น้องๆ เยาวชนเห็นว่าใน"หนึ่งวัน" เราสร้างขยะของตัวเองเป็นปริมาณเท่าไร จากการถุงขนม เปลือกลูกอม ขวดน้ำพลาสติก "กิจกรรมลงพื้นที่บ่อขยะที่เทศบาลตำบลเกาะแต้ว" เพื่อให้น้องๆเยาวชนได้เห็นภาพขยะปลายทางหลังจากที่รถเทศบาลเก็บแล้วนำมาทิ้ง หลายคนถึงกับอึ้งเมื่อเห้นภาพกองขยะที่สูงราวกับภูเขาขยะย่อมๆที่มาพร้อมกับกลิ่นเหม็นตลบอบอวล "กิจกรรมเก็บ กวาด ร่อน" เป็นกิจกรรมลงพื้นที่ชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นชุมชนริมหาดและเป็นชุมชนปากคลองที่ขึ้นชื่อว่ามีขยะและสิ่งปฏิกูลจำนวนมาก เพราะนอกจากชาวบ้านในตัวชุมชนทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางแล้ว ชุมชนดังกล่าวยังเป็นพื้นที่รองรับขยะจากชุมชนอื่นด้วย นอกจากเก็บ กวาด ร่อนแล้ว เยาวชนยังเข้าไปพูดคุยสื่อสารและทำความเข้าใจกับคนในชุมชนถึงผลกระทบของการทิ้งขยะ แล้วกลับมาทบทวนถึงปัญหาที่พบจากการลงพื้นที่จริง โดยเยาวชนสะท้อนว่า ขยะในชุมชนส่วนใหญ่ที่พบเจอมากที่สุดคือ ถุงพลาสติก ขวดเครื่องดื่มชูกำลังที่แตกร้าวริมหาด เหล็กขึ้นสนิม ซากอวนเก่า ฯลฯ

สุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรี ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ในฐานะวิทยากร กล่าวว่า"นโยบายการจัดการขยะ"นั้น ต้องทำให้นโยบายเป็นปฏิบัติการทางสังคมที่เกิดจากประชาชนมิใช่จากภาครัฐหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ภายใต้กระบวนการที่สังคมต้องเป็นผู้กำหนดกติกาเอง โดยมองว่า ความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะในชุมชนเป็นแบบ"เกิดช่องว่างของความรู้" เพราะไม่สามารถสื่อสารกันได้ ดังนั้น การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมแก่ชุมชนในการดำเนินการจึงเป็นสิ่งสำคัญมากที่จะทำให้ชุมชนเกิดความร่วมมือและเห็นปัญหาเรียนรู้การแก้ปัญหาร่วมกัน ขณะเดียวกันหากมีการจัดการที่ดีจะทำให้ขยะกลายเป็นทรัพยากรมีมูลค่า และสามารถนำกลับมาใช้กับภาคสังคมได้มากขึ้น

ทั้งนี้ แนวทางที่เทศบาลตำบลปริกนำมาใช้ในการจัดการขยะโครงการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชน พบว่าชุมชนส่วนใหญ่ที่อยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบนั้นจะมีปริมาณขยะค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนประชากร รวมทั้งการปลูกฝังให้คนในชุมชนช่วยกันคัดแยกขยะ โดยให้ความรู้ความเข้าใจแก่คนในชุมชน เช่น การคัดแยกขยะอินทรีย์ที่มีทุกบ้าน และการมีสำนึกในการรักษาความสะอาดของชุมชน จะทำให้สามารถลดขยะปริมาณขยะลงได้

นายกเทศมนตรี ตำบลปริก ยังกล่าวอีกว่า แม้ทิศทางการจัดการปัญหาขยะในปัจจุบัน เริ่มมีทิศทางการจัดการไปได้ด้วยดี อย่างการนำสิ่งเหลือใช้กลับมาใช้ใหม่ หรือแปรสภาพไปเป็นอย่างอื่นที่เกิดมูลค่า แต่ยังจำเป็นต้องมีแนวทางส่งเสริมให้ลดปริมาณขยะลง รวมถึงการหลีกเลี่ยงใช้บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาใช้ใหม่ไม่ได้ ขณะเดียวกันการสร้างจิตสำนึกสาธารณะแก่คนทั่วไปให้รู้จักรับผิดชอบต่อสังคม จะเป็นแนวทางที่ยั่งยืนที่สุด ที่สามารถสร้างแรงขับเคลื่อนภาคสังคมไปได้ไกลกว่าการจัดการขยะที่เกิดขึ้นเวลานี้

ด้านสาคร จันทร์มณี เจ้าพนักงานสุขาภิบาลชำนาญงาน สำนักงานเทศบาลนครสงขลา ในฐานะวิทยากร กล่าวว่า ปัจจุบันเทศบาลนครสงขลามีชุมชนทั้งหมด 56 ชุมชน ประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 80,000 คน โดยมีขยะเฉลี่ยประมาณ 80-82 ตัน/วัน ส่วนใหญ่เป็นขยะประเภทกิ่งไม้ สิ่งของจากบ้านเรือนที่ไม่ได้ใช้แล้ว เช่น ที่นอน หมอน มุ้ง เป็นต้น ส่วนขยะอินทรีย์หรือพลาสติกมีจำนวนลดหลั่นกันไป และเมื่อรถเก็บขยะจากบ้านเรือนแล้วจะนำไปกำจัดแบบฝังกลบที่เทศบาลตำบลเกาะแต้วซึ่งเป็นบ่อขยะขนาดใหญ่ ปัญหาที่พบจากการสำรวจ คือการทิ้งขยะโดยไม่ได้คัดแยก โดยเฉพาะนักเรียน-นักศึกษาที่อาศัยในหอพัก ส่วนบ้านเรือนของประชาชนยังมีแยกบ้างแม้จะไม่เต็ม100% ก็ตาม

"เพราะในเทศบาลนครสงขลามีประชากรแฝงเยอะ นักท่องเที่ยวเยอะ การปลูกจิตสำนึกให้เขารักในชุมชนจึงเป็นเรื่องยาก แต่ทางเทศบาลก็ไม่นิ่งนอนใจที่จะรณรงค์ให้เกิดการคัดแยกขยะ เพราะจะทำให้ง่ายต่อการกำจัด และการคัดแยกขยะเป็นเรื่องสำคัญเพราะขยะบางประเภทสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ จะช่วยลดปริมาณขยะลงได้ด้วย"

ด้านน.ส.ดารารัตน์ ไหมแก้ว เยาวชนจากโครงการเปลี่ยนชานอ้อยให้เป็นกระดาษ กล่าวว่า การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เกิดความตระหนักในการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องเกี่ยวข้องกับการสร้างขยะ และมองว่าปัญหาขยะเป็นปัญหาที่แก้ได้ไม่ยาก หากทุกคนเริ่มต้นที่ตัวเราเอง ด้วยการสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นกับตัวเองก่อน จะทำให้ขยะลดลงด้วยเช่นกัน

"กิจกรรม 2 วันที่ผ่านมาเมื่อได้มาเข้าร่วมกิจกรรมหนูเริ่มไม่รับถุงจากการซื้อขนมที่ร้านค้า และหากจะซื้อน้ำดื่มสักแก้วหรือใส่ถุง ก็เริ่มคิดเอะใจว่าน้ำ 1แก้วหรือน้ำ 1 ถุง ประกอบด้วยขยะกี่ชิ้น และหากเปลี่ยนมาเป็นใส่แก้วน้ำของเราจะทำให้เราสามารถลดปริมาณขยะได้ในแต่ละวันด้วย เพราะแม้ว่าถุงพลาสติกจะสร้างความสะดวกแก่เราแต่ถ้าเราลดการใช้จะทำให้ช่วยลดขยะไปได้ด้วยเช่นกัน"

อย่างไรก็ตาม เยาวชนหลายคนสะท้อนว่า การลดขยะที่แท้จริงเริ่มต้นจากตัวเอง ขณะเดียวกันรู้สึกเข้าใจและมองเห็นปัญหาขยะว่าไม่ใช่เรื่องเล็กๆ หรือเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป แต่นี่คือปัญหาที่ทุกคนต้องช่วยกันแก้ไข...โดยเริ่มต้นที่ต้นทางของขยะนั่นเอง

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4