กลยุทธ์การบริหารหนี้สาธารณะระยะปานกลาง (Medium -Term Debt Management Strategy : MTDS) และแนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ

ศุกร์ ๒๙ กันยายน ๒๐๑๗ ๑๑:๔๙
1. เป้าหมายในการบริหารหนี้ระยะกลาง (MTDS Target) ปีงบประมาณ 2561 –2565

คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะได้เห็นชอบกลยุทธ์การบริหารหนี้ระยะกลางโดยกำหนดเป้าหมายสัดส่วนหนี้(Target Debt Composition) ระยะกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ 2561-2565) และตัวชี้วัด 1 ปี (ปีงบประมาณ 2561)เพื่อใช้ในการกำกับการกู้เงินและบริหารหนี้สาธารณะให้บรรลุวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถระดมทุนได้ครบเต็มจำนวน มีต้นทุนการกู้เงินต่ำในระยะยาวและอยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ส่งเสริมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ในประเทศและเพื่อเป็นการควบคุมตัวชี้วัดความเสี่ยงทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้ รายละเอียดปรากฏตามตารางข้างล่าง ดังนี้

ตารางเป้าหมายในการบริหารหนี้ระยะกลางสำหรับปีงบประมาณ 2561-2565และตัวชี้วัดความเสี่ยงของหนี้รัฐบาลประจำปี2561

ตัวชี้วัด ตัวชี้วัด 5 ปี(MTDS) ตัวชี้วัด 1 ปี

(ปีงบประมาณ2561-2565) (ปีงบประมาณ2561)

ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน • ปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเมื่อสภาวะตลาดเอื้ออำนวย

(Foreign Exchange Risk) • การกู้ใหม่ควรปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทันที

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย(Interest Rate Risk) • คงสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่ต่ำกว่าร้อยละ85ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่

• คงสัดส่วนหนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย(Debt re-fixing)ใน 1 ปีให้อยู่ในกรอบร้อยละ18 -24 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ85ของหนี้ทั้งหมด

ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ต้องปรับอัตราดอกเบี้ย(Debt re-fixing)ใน 1 ปีให้อยู่ในกรอบร้อยละ15– 20

ของหนี้ทั้งหมด

ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้(Refinancing Risk) • ขยายอายุเฉลี่ยของหนี้(Average time to maturity)ของหนี้รัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 14 ปี • ขยายอายุเฉลี่ยของหนี้(Average time to maturity)ของหนี้รัฐบาลให้อยู่ในระดับไม่เกิน 12 ปี

• คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ10-14 ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 1 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ8 -12 ของหนี้ทั้งหมด

• คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 3 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ25-30 ของหนี้ทั้งหมด • คงสัดส่วนหนี้ที่ครบกำหนดชำระใน 3 ปี ให้อยู่ในกรอบร้อยละ30 -35 ของหนี้ทั้งหมด

Inflation-Linked Bond (ILB) • คงสัดส่วนไม่เกินร้อยละ5 ของหนี้ทั้งหมด

2. แนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจ (SOEs Debt Management Strategy)

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแนวทางการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจเพื่อประโยชน์ในการบริหารหนี้ของรัฐวิสาหกิจให้มีแนวทางการบริหารต้นทุนและความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงการคลังจึงเห็นควรกำหนดแนวทางการบริหารหนี้รัฐวิสาหกิจ ภายใต้หลักการบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน (Asset-Liability Management: ALM) โดยบริหารกระแสเงินสดจากสินทรัพย์และหนี้สินให้สอดคล้องกัน ทั้งนี้ เนื่องจากความเสี่ยงด้านหนี้ของรัฐวิสาหกิจอาจส่งผลกระทบต่อภาระงบประมาณของรัฐบาลในอนาคต ซึ่งรวมถึงภาระในการชำระหนี้แทนและการให้เงินอุดหนุนแก่รัฐวิสาหกิจ การบริหารความเสี่ยงที่เหมาะสมจะช่วยลดความผันผวนของภาระหนี้และลดความเสี่ยงต่อภาระทางการคลังของรัฐบาลได้ รัฐวิสาหกิจแต่ละรายจึงควรมีแนวทางในการบริหารความเสี่ยง ดังนี้

ความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

• กรณีรัฐวิสาหกิจมีรายได้เป็นเงินบาทและไม่มีสินทรัพย์หรือรายได้อื่นๆ ที่เป็นเงินตราต่างประเทศให้รัฐวิสาหกิจเร่งปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนของหนี้ต่างประเทศ (โดยการใช้เครื่องมือทางการเงินต่างๆเช่น การทำสัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า (Forward Contract) การซื้อเงินตราต่างประเทศและฝากไว้ในบัญชีเงินฝากสกุลเงินต่างประเทศ (Foreign currency deposit: FCD) หรือการแปลงหนี้สกุลเงินต่างประเทศเป็นหนี้สกุลเงินบาท (Cross currency swap)) และหากมีการก่อหนี้ใหม่ในสกุลเงินต่างประเทศ ควรดำเนินการปิดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนทันที

• กรณีรัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์หรือรายได้เป็นเงินตราต่างประเทศ รัฐวิสาหกิจควรบริหารสัดส่วนสกุลเงินของรายได้และรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกัน (Natural Hedge) เพื่อลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

ความเสี่ยงด้านอัตราดอกเบี้ย

• รัฐวิสาหกิจควรบริหารสัดส่วนหนี้อัตราดอกเบี้ยคงที่และอัตราดอกเบี้ยลอยตัวให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงปัจจัยด้านต้นทุนและระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด

• รัฐวิสาหกิจควรประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยต่อภาระหนี้ในแต่ละปี เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือกู้เงินให้เหมาะสม

ความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้

• รัฐวิสาหกิจควรพิจารณาเลือกใช้เครื่องมือกู้เงินให้สอดคล้องกับระยะเวลาการลงทุนของโครงการ เช่น การลงทุนในโครงการระยะยาว ควรใช้เงินกู้ที่มีระยะเวลาสอดคล้องกัน

• รัฐวิสาหกิจควรกระจายภาระหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในแต่ละปีไม่ให้กระจุกตัวมากจนเกินไป โดยเฉพาะหนี้ที่จะครบกำหนดในระยะ 1-3 ปี เพื่อลดความเสี่ยงด้านการปรับโครงสร้างหนี้และควรคำนึงถึงความสามารถในการใช้เครื่องมือกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของรัฐวิสาหกิจตามสภาวะตลาด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4