ปภ.ประสาน 33 จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในช่วงวันที่ 21 – 23 ตุลาคม 2560

อังคาร ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๐:๐๓
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 33 จังหวัดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 21 – 23 ตุลาคม 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำและสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง จัดเตรียมสรรพกำลัง วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมขัง พื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ยังมีปริมาณน้ำสะสม พร้อมแจ้งเตือนให้ประชาชนติดตามข่าวสารและคำแนะนำจากหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่เกิดฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบสภาพอากาศกับ กรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ในช่วงวันที่ 21 – 26 ตุลาคม 2560 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมา ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยยังคงมีอากาศร้อนขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีสภาพอากาศแปรปรวน ในลักษณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางพื้นที่ อาจทำให้เกิดน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมฉับพลันกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้ประสาน 33 จังหวัด แยกเป็น ภาคเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน ตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม ขอนแก่น ภาคกลาง 11 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ ปราจีนบุรี นครนายก สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เตรียมพร้อมรับมือฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และฝนตกหนักบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 21 – 23 ตุลาคม 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์น้ำและสถานการณ์ภัยอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดเตรียมสรรพกำลัง วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยประจำพื้นที่เสี่ยงภัย เพื่อให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมถึงเสริมแนวคันกั้นน้ำและประสานการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพิ่มเติม โดยเฉพาะในพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมขัง พื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ที่ยังมีปริมาณน้ำสะสม กรณีสถานการณ์รุนแรงให้พิจารณาอพยพประชาชนไปพักอาศัยยังศูนย์พักพิงหรือจุดอพยพที่ปลอดภัย ทั้งนี้ ขอให้ประชาชน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยติดตามสถานการณ์น้ำ ปริมาณน้ำ สถานการณ์ฝนในพื้นที่อย่างใกล้ชิด และระมัดระวังอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงที่มีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้จุดเสี่ยง อาทิ ใต้ต้นไม้ใหญ่ เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันอันตรายที่เกิดจากการถูกล้มทับ รวมถึงปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานราชการอย่างเคร่งครัด ท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4