“บิ๊กฉัตร” ชึ้แผนบริหารจัดการน้ำล่วงหน้าเป็นผล ตัดยอดน้ำเหนือเข้าแก้มลิง 13 ทุ่งได้กว่า 2 พันล้านลบ.ม. ยันรัฐไม่ทิ้งผู้ได้รับผลกระทบ กษ และมท.ถกแผนช่วยเหลือรอบด้าน พร้อมสั่งชป.เตรียมการล่วงหน้าหลังอุตุคาดการณ์ปริมาณฝนภาคใต้ส่อแววอ่วม

อังคาร ๒๔ ตุลาคม ๒๐๑๗ ๑๗:๕๕
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมหารือเฉพาะกิจเพื่อติดตามสภาพอากาศ และสถานการณ์น้ำ การบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ณ ห้องประชุมธารทิพย์ ศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (SWOC) กรมชลประทาน สามเสน ว่า จากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยาที่ได้คาดการณ์แนวโน้มปริมาณฝนในภาพรวม ขณะนี้มีแนวโน้มเริ่มลดน้อยลงทั้งตอนเหนือและอีสาน ก็น่าจะเป็นทิศทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาจากในช่วง 3 วันที่ผ่านมาฝนตกมากเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เป็นผลให้ต้องปรับการระบายน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยาจากระบายน้ำ 2,600 ลบ.ม./วินาที เป็น 2,700 ลบ.ม./วินาที ตั้งแต่ช่วงบ่ายของวันที่23 ต.ค. 60 ส่งผลให้ขณะนี้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,697 ลบ.ม./วินาที ซึ่งหลังจากนี้จะคงปริมาณน้ำให้อยู่ในอัตราไม่เกิน 2,700 ลบ.ม./วินาที ต่อเนื่องไปอีก 1 สัปดาห์ พร้อมกับบริหารจัดการน้ำบริเวณเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลผ่านเขื่อน โดยการแบ่งรับน้ำเข้าระบบชลประทานทั้งสองฝั่งของแม่น้ำเจ้าพระยา รวมกันประมาณ 768 ลบ.ม.ต่อวินาที พร้อมกับรับน้ำเข้าไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง ที่ปัจจุบันมีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 1,347 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ยังคงปิดการระบาย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยาจะส่งผลกระทบพื้นที่ใต้เขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้นประมาณ 20-25 ซม. ในช่วงระยะสั้นๆ หลังจากนั้นจะคงการระบายและลดการระบายให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบการบริหารจัดการน้ำในปี 2554 และ ปี 2560 จากปริมาณฝนเฉลี่ยมีความใกล้เคียงกันโดยปี 2554 ปริมาณฝน 1,771 มม. ขณะที่ปี2560 ปริมาณฝน 1,740 มม. พบว่าสามารถลดผลกระทบจากน้ำท่วมได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยวัดได้จากทั้งจำนวนพื้นที่และเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ เนื่องจากการบริหารจัดการล่วงหน้า อาทิ การจัดทำแก้มลิง การเตรียมทุ่งรับน้ำ การจัดจราจรน้ำ การกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ และ การส่งเครื่องสูบน้ำ/ผลักดันน้ำลงพื้นที่อย่างทันเวลา/ครอบคลุม ทำให้ปี 2560 มีผลกระทบน้อยกว่าปี 2554 เช่น ลดปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา เปรียบเทียบ ณ วันที่ 23 ต.ค. ระดับแม่น้ำเจ้าพระยา อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ปี 2554 มีน้ำ 4,200 ลบ.ม./วินาที ปี 2560 มีน้ำ 3,054 ลบ.ม./วินาที ที่เขื่อนเจ้าพระยาปี 2554 มีน้ำ 3,506 ลบ.ม./วินาที ปี 2560 มีน้ำ 2,598 ลบ.ม./วินาที ที่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ปี 2554 มีน้ำ 3,693 ลบ.ม./วินาที ปี 2560 มีน้ำ 2,696 ลบ.ม./วินาที

ขณะที่พื้นที่น้ำท่วม ปี 2554 มีพื้นที่น้ำท่วม รวม 67 จังหวัด ปี 2560 มีพื้นที่น้ำท่วม รวม 36 จังหวัด พื้นที่เมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ เขตอุตสาหกรรม ต่างๆ ที่น้ำท่วม ปี 2554 มีพื้นที่น้ำท่วม รวม 15 จังหวัด ได้แก่ ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และ นครปฐม ปี 2560 มีพื้นที่น้ำท่วม รวม 1 จังหวัด ได้แก่ สกลนคร พื้นที่การเกษตรที่เสียหายปี 2554 เกษตรกร 1.16 ล้านครัวเรือน พื้นที่ 11.16 ล้านไร่ ปี 2560 เกษตรกร 0.16 ล้านครัวเรือน พื้นที่ 1.37 ล้านไร่ ระยะเวลาที่น้ำท่วม เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ปี 2554 ระยะเวลาเฉลี่ย 6 เดือน (ก.ค. - ธ.ค. 54) ปี 2560 ระยะเวลาเฉลี่ย 2 เดือน (ต.ค. - พ.ย. 60)

"ข้อมูลข้างต้นเป็นที่ชัดเจนว่าที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ วางแผนการบริหารจัดการน้ำตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ช่วยลดความเสี่ยงผลกระทบน้ำท่วมได้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่เลื่อนระยะเวลาเพาะปลูกให้เร็วขึ้น เช่น ทุ่งบางระกำ และอีก 12 ทุ่งใต้เขื่อนเจ้าพระยา สามารถรองรับน้ำจากพื้นที่ตอนบนไม่ให้ไหลลงสู่ด้านล่างได้ถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวางมาตรการดูแลเกษตรกรพื้นที่รับน้ำดังกล่าวให้ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบปัญหาน้ำท่วมทั้งประชาชนและเกษตรกรให้ครอบคลุม และมีรายได้เช่น การจ้างงาน โครงการเงินกู้ฉุกเฉิน สนับสนุนปัจจัยการผลิตด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ เพื่อชดเชยรายได้ การลดภาระดอกเบี้ย และการเร่งสำรวจควาเสียหายตามาระเบียบกระทรวงการคลัง เป็นต้น" พลเอกฉัตรชัย กล่าว

นอกจากนี้ ยังได้สั่งการกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เตรียมแผนการบริหารจัดการน้ำเพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัยภาคใต้ สร้างการรับรู้ทั้งในและนอกเขตชลประทาน เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ปริมาณฝนทางภาคใต้มีแนวโน้มสูง จึงขอให้กรมชลฯ ประสานจังหวัดและท้องถิ่น ช่วยเป็นพี่เลี้ยงในการสำรวจอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก หรืออ่างเก็บน้ำที่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจจะล้นหรือแตกได้ รวมถึงสำรวจเส้นทางน้ำและสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพไว้ในพื้นที่ล่วงหน้าในการลดผลกระทบให้ได้โดยเร็วที่สุด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๑ PRM ร่วมงาน OppDay มั่นใจธุรกิจปี 67 สดใส
๑๗:๓๘ Bitkub Chain ร่วม OpenGuild และ Polkadot เปิดพื้นที่รวมตัว Community รับ SEA Blockchain Week 2024
๑๗:๔๙ HOYO SOFT AND SAFE ผู้ผลิตคอกกั้นเด็กคุณภาพสูง มุ่งเน้นเรื่องความปลอดภัย ได้รับการไว้วางใจจากประสบการณ์ลูกค้าโดยการบอกปากต่อปาก
๑๗:๓๗ แนวทางสร้างสมดุลระหว่าง อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม และ คำมั่นสัญญาของ Generative AI
๑๖:๔๖ Maison Berger Paris เผยเครื่องหอมสำหรับบ้านรูปแบบใหม่ล่าสุด 'Mist Diffuser' ภายใต้คอลเลคชันยอดนิยมตลอดกาล Lolita
๑๖:๐๕ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (acute diarrhea)
๑๖:๓๙ JGAB 2024 จัดเต็มครั้งแรกในประเทศไทยและอาเซียน กับกิจกรรมและโซนจัดแสดงเครื่องประดับสุดพิเศษ พร้อมต้อนรับนักธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับทั่วโลก เริ่ม 1 พ.ค. 67
๑๖:๒๘ สอศ. จับมือแอร์มิตซูบิชิ ดิวตี้ รับมอบเครื่องปรับอากาศในการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาด้านเครื่องปรับอากาศ
๑๖:๓๘ DKSH ประเทศไทย คว้า 8 รางวัลอันทรงเกียรติ ในงาน Employee Experience Awards ประจำปี 2567
๑๖:๑๖ เด็กล้ำ! นักศึกษา SE SPU คว้ารางวัลรองชนะเลิศ Best Paper ผลงานนวัตกรรมเนื้อสัตว์แพลนต์เบส สุดยอดแห่งความยั่งยืน