งานประชุมสุดยอด ณ กรุงเทพฯ ตั้งเป้าค้นหาวิธีการใหม่ในการรับมือกับเชื้อเอชไอวีในเอเชียแปซิฟิก

ศุกร์ ๑๗ พฤศจิกายน ๒๐๑๗ ๑๔:๒๒
ผู้อุทิศตนทำงานด้านเอชไอวีและสุขภาพชุมชนกว่า 300 ท่านจากทั่วภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเดินทางมาร่วมงานประชุมครั้งสำคัญ ณ กรุงเทพฯ ในสัปดาห์นี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาวิธีการใหม่ๆ ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในภูมิภาคนี้และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายในด้านเพศวิถี (Sexual Orientation) อัตลักษณ์ทางเพศ (Identity) และการแสดงออกทางเพศ (Expression) หรือที่เรียกรวมกันว่า SOGIE

งานประชุม RRRAP Summit ซึ่งย่อมาจาก Rights, Resources and Resilience Asia Pacific เป็นงานประชุม 5 วันที่จะจัดขึ้น ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 13 – 17 พฤศจิกายน 2560 โดยจะประกอบไปด้วยงานประชุม 3 วันและงานสัมมนาของชุมชนและการวางแผนเชิงกลยุทธ์อีก 2 วัน งานประชุม RRRAP Summit นี้เป็นโครงการริเริ่มของมูลนิธิแอ็พคอม (APCOM Foundation) ซึ่งเป็นเครือข่ายชุมชนทำงานด้าน HIV และ SOGIE ชั้นนำในภูมิภาคนี้ ซึ่งในปีนี้จะครบรอบ 10 ปีที่มูลนิธิแอ็พคอมดำเนินงานให้กับชุมชนต่างๆ ทั่วภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก

คุณมิดไนท์ พูนเกษตรวัฒนา ผู้อำนวยการมูลนิธิแอ็พคอมกล่าว ถึงแม้ว่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจะมีความคืบหน้าไปมากในการรับมือกับเชื้อเอชไอวีในภูมิภาคนี้ แต่การแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวีในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกินความควบคุมได้ในกลุ่มคนข้ามเพศและกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

""ผลกระทบของเชื้อเอชไอวีที่มีต่อกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและกลุ่มคนข้ามเพศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกยังคงเพิ่มสูงขึ้นในระดับที่น่าเป็นห่วง โดยนักวิจัยประมาณการว่ากลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในภูมิภาคนี้จะเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่กว่า 150,000 รายภายในปี 2563 ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้งหมดที่คาดการณ์ไว้"" คุณมิดไนท์กล่าว ""ประมาณ 1 ใน 3 ของชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเมืองใหญ่ๆ เช่น กรุงเทพฯ และจาการ์ต้า พบว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ในประเทศฟิลิปปินส์ กว่า 80% ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ เป็นกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย บางเมืองในประเทศอินเดีย พบว่ากว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มคนข้ามเพศ เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี และยังมีอีก 18 ประเทศในภูมิภาคนี้ที่ถือว่าการรักร่วมเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย""

""ปัญหานี้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่ใหญ่มาก และสถานการณ์นี้ก็มีทีท่าว่าจะแย่ลงถ้าหากเราไม่ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนเพิ่มเติมจากหน่วยงานรัฐบาลภายในประเทศและจากชุมชนต่างๆ ทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมไปถึงความช่วยเหลือที่เฉพาะเจาะจงจากผู้บริจาคและหน่วยงานในระดับสากล หากเราต้องการนำพาให้ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเข้าใกล้เป้าหมายสู่อนาคตที่ยั่งยืนในการเป็นภูมิภาคที่ปลอดจากเชื้อเอชไอวีและผู้คนเปิดใจยอมรับกลุ่มคนที่มีเพศภาวะและเพศวิถีหลากหลายทุกๆ กลุ่ม เราจะต้องค้นหาวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ และนั่นคือเป้าหมายของงานประชุม RRRAP Summit ที่มูลนิธิแอ็พคอมจัดขึ้น""

นายเดเด้ โอเอโตโม (Dede Oetomo) ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาประจำภูมิภาค (Regional Advisory Committee) มูลนิธิแอ็พคอม กล่าวว่า งานประชุม 5 วันนี้มีวาระการประชุมที่ครอบคลุมหลากหลายประเด็น ""เราได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาล สำนักพัฒนา องค์กรชุมชน และพันธมิตรในการจัดงานมากมาย เราได้คัดสรรหัวข้อโดยแบ่งออกเป็นการประชุมร่วม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการอภิปรายกว่า 40 หัวข้อ ซึ่งจะทำให้เกิดการอภิปรายที่น่าลำบากใจสักเล็กน้อย แต่จะเป็นการอภิปรายที่เป็นประโยชน์ซึ่งในที่สุดแล้วจะมีส่วนช่วยผลักดันแผนงานองค์รวมในระดับภูมิภาค เพื่อช่วยให้เราสามารถตอบสนองความต้องการและปัญหาเร่งด่วนที่ผู้เข้าร่วมประชุมยกประเด็นขึ้นมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นยิ่งขึ้น""

การเผชิญหน้ากับกลุ่มอนุรักษ์นิยมทางสังคมและการเมืองในภูมิภาคนี้เป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่ง เช่นเดียวกับการพัฒนาวิธีการระดมทุนในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้สอดคล้องตามจุดประสงค์ในการให้ความช่วยเหลือในระดับนานาชาติที่เปลี่ยนแปลงไป จุดโฟกัสอย่างกว้างๆ จะมุ่งประเด็นไปที่ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับเอชไอวี กลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และกลุ่มคนข้ามเพศ แต่จะมีการอภิปรายย่อยที่เจาะประเด็นปัญหาที่เฉพาะเจาะจงด้วย เช่น การใช้ยาเสพติด งานบริการทางเพศ สุขภาพจิต เยาวชน และผู้สูงอายุ

งานในครั้งนี้มีผู้ที่อุทิศตนทำงานด้านเอชไอวี สุขภาพ สิทธิ์ และชุมชนชั้นนำมากมายในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกเข้าร่วมงาน รวมถึงทูตสันถวไมตรีอย่างเป็นทางการของมูลนิธิแอ็พคอม 5 ท่านด้วย ได้แก่

· ทูตสันถวไมตรีด้านเอชไอวี: Prasada Rao (ผู้อำนวยการโครงการเอชไอวี/เอดส์ของสหประชาชาติในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและอดีตเลขาธิการกระทรวงสาธารณสุข ประเทศอินเดีย)

· ทูตสันถวไมตรีด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBT): Michael Kirby (นักกฎหมาย นักวิชาการ อดีตผู้พิพากษาศาลสูง ประเทศออสเตรเลีย และอดีตคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ)

· ทูตสันถวไมตรีด้านการวิจัย: ศาสตราจารย์ Adeeba Kamarulzaman (คณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมาลายา และศาสตราจารย์ด้านโรคติดต่อ)

· ทูตสันถวไมตรีภาคพื้นแปซิฟิก: ฯพณฯ ท่าน Ratu Epeli Nailatikau (ทูตพิเศษของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติประจำภาคพื้นแปซิฟิกและอดีตประธานาธิบดีประเทศฟิจิ)

· ทูตสันถวไมตรีชุมชน: John Raspado (มิสเตอร์ เกย์ เวิลด์ 2017, มิสเตอร์ เกย์ เวิลด์ ฟิลิปปินส์ 2017)

ทูตสันถวไมตรีทั้ง 5 ท่านนี้มีส่วนร่วมในการกำหนดวาระการประชุมและจะเข้าร่วมทั้งในการประชุมใหญ่ การประชุมย่อย และการอภิปรายต่างๆ ด้วย

เชิญรับชมวาระการประชุมได้ที่ www.apcom.org/RRRAP

ข้อมูลเกี่ยวกับการประชุม RRRAP

· วันจันทร์ที่ 13 – วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2560

· โรงแรมพูลแมน คิงพาวเวอร์ กรุงเทพฯ

· งานประชุม RRRAP Summit: 13 – 15 พฤศจิกายน 2560 | 150 เหรียญสหรัฐ

· Community RRRAP: 16 – 17 พฤศจิกายน 2560 | 100 เหรียญสหรัฐ

· www.apcom.org/RRRAP

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4