ปภ.รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคใต้ พร้อมระดมสรรพกำลังเร่งคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

จันทร์ ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๑:๕๒
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 25 พ.ย. – 1 ธ.ค. 60 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี สงขลา นราธิวาส ยะลา สุราษฎร์ธานี และสตูล รวม 84 อำเภอ 483 ตำบล 3,103 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 161,266 ครัวเรือน 523,302 คน เสียชีวิต 5 ราย ทั้งนี้ ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่ง ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยครอบคลุมทุกมิติ มุ่งดูแลชีวิตความเป็นอยู่และความปลอดภัยเป็นหลัก พร้อมระดมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ควบคู่กับการเร่งระบายน้ำ ออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็ว

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้จากอิทธิพลมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2560 ทำให้เกิดน้ำไหลหลากในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช ปัตตานี สงขลา นราธิวาส ยะลา สุราษฎร์ธานี และสตูล รวม 84 อำเภอ 483 ตำบล 3,103 หมู่บ้านประชาชนได้รับผลกระทบ 161,266 ครัวเรือน 523,3028 คน เสียชีวิต 5 ราย ประกอบด้วย ลุ่มน้ำปัตตานี 2 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอหนองจิก อำเภอยะรัง อำเภอไม้แก่น อำเภอสายบุรี อำเภอปะนาเระ อำเภอเมืองปัตตานี อำเภอแม่ลาน อำเภอทุ่งยางแดง อำเภอยะหริ่ง อำเภอมายอ และอำเภอกะพ้อ รวม 93 ตำบล 510 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 18,116 ครัวเรือน 55,662 คน ผู้เสียชีวิต 2 ราย ยะลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองยะลา อำเภอยะหา อำเภอบันนังสตา อำเภอกรงปินัง อำเภอรามัน อำเภอธารโต อำเภอกาบัง และอำเภอเบตง รวม 54 ตำบล 280 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,161 ครัวเรือน 85,389 คน ผู้เสียชีวิต 1 ราย ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 2 จังหวัด ได้แก่ สงขลา น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 14 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเทพา อำเภอนาหม่อม อำเภอสทิงพระ อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ อำเภอสะบ้าย้อย อำเภอควนเนียง อำเภอสิงหนคร อำเภอกระแสสินธุ์ อำเภอรัตภูมิ อำเภอนาทวี อำเภอนางกล่ำ อำเภอคลองหอยโข่ง และอำเภอระโนด รวม 102 ตำบล 694 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 30,017 ครัวเรือน 87,732 คน เสียชีวิต 2 ราย พัทลุง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองพัทลุง อำเภอควนขนุน อำเภอศรีบรรพต อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอกงหรา อำเภอปากพะยูน อำเภอป่าพะยอม อำเภอป่าบอน อำเภอเขาชัยสน อำเภอบางแก้ว และอำเภอตะโหมด รวม 64 ตำบล 629 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 36,821 ครัวเรือน 114,116 คน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก 2 จังหวัด ได้แก่ ตรัง เกิดน้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองตรัง อำเภอห้วยยอด อำเภอนาโยง อำเภอปะเหลียน อำเภอวังวิเศษ และอำเภอกันตัง รวม 39 ตำบล 227 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 6,022 ครัวเรือน 17,376 คน สตูล น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอละงู และอำเภอทุ่งหว้า รวม 3 ตำบล 8 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 120 ครัวเรือน 360 คน ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออก 2 จังหวัด ได้แก่ นราธิวาส น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 13 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองนราธิวาส อำเภอจะแนะ อำเภอเจาะไอร้อง อำเภอสุคิริน อำเภอระแงะ อำเภอบาเจาะ อำเภอรือเสาะ อำเภอตากใบ อำเภอศรีสาคร อำเภอยี่งอ อำเภอสุไหงปาดี อำเภอสุไหงโก – ลก และอำเภอแว้ง รวม 68 ตำบล 485 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 25,1057 ครัวเรือน 94,630 คน นครศรีธรรมราช น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 10 อำเภอ ได้แก่ อำเภอชะอวด อำเภอบางขัน อำเภอหัวไทร อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอช้างกลาง อำเภอทุ่งสง อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอปากพนัง และอำเภอพิปูน รวม 37 ตำบล 199 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 21,339 ครัวเรือน 59,553 คน ลุ่มน้ำตาปี 1 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี น้ำไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่ 8 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบ้านนาสาร อำเภอพระแสง อำเภอชัยบุรี อำเภอเวียงสระ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอกาญจนดิษฐ์ และอำเภอเกาะสมุย รวม 23 ตำบล 71 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,565 ครัวเรือน 8,484 คน ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเต็มกำลัง โดยแจกจ่ายถุงยังชีพตามวงรอบอย่างต่อเนื่อง พร้อมประสานจังหวัดจัดตั้งศูนย์พักพิงชั่วคราวตามแผนเผชิญเหตุ รวมถึงให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตระดมทรัพยากรและเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ทั้งเต็นท์ที่พัก รถผลิตน้ำดื่ม รถไฟฟ้าส่องสว่าง รถบรรทุก รถสุขาเคลื่อนที่ เรือท้องแบน และเครื่องสูบน้ำ สนับสนุนการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและช่วยเหลือผู้ประสบภัย ตลอดจนประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดตั้งเครื่องสูบน้ำและเครื่องผลักดันน้ำเพิ่มเติม เพื่อเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังสู่ลำน้ำสายหลัก ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมงเพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๐๑ ALLY ผนึก Mural ลงทุนซื้อหุ้นสมาคมมวยปล้ำสเปน หวังผลักดันมวยปล้ำสเปนขึ้นแท่นลีกหลักในยุโรปและลาตินอเมริกา
๑๖:๓๙ โอกาสจองซื้อหุ้นกู้บริษัทชั้นนำ ช.การช่าง เสนอขายช่วงวันที่ 25 - 29 เมษายน 2567 ชูผลตอบแทน 3.40 - 4.10% ต่อปี อันดับความน่าเชื่อถือ A- ติดต่อผ่าน ธ.กรุงเทพ และ ธ.กรุงไทย
๑๖:๕๔ บางจากฯ สนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาเยาวชนในทักษะแห่งอนาคต ผ่านโครงการ SI Sphere: Sustainable Intelligence-based Society Sphere โดย UN Global Compact Network
๑๕:๑๓ เปิดไลน์อัพ 10 ศิลปินหน้าใหม่มาแรงแห่งปีจาก Spotify RADAR Thailand 2024
๑๕:๐๘ อาร์เอส กรุ๊ป เดินหน้ากลยุทธ์ Star Commerce ยกทัพศิลปิน-ดารา เป็นเจ้าของแบรนด์ และดันยอดขายด้วย Affiliate Marketing ประเดิมส่งศิลปินตัวแม่ ใบเตย อาร์สยาม
๑๕:๒๐ กสิกรไทยผนึกกำลังเจพีมอร์แกน เปิดตัวโปรเจกต์คารินา ดึงศักยภาพบล็อกเชน ลดระยะเวลาธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ
๑๕:๐๖ สเก็ตเชอร์ส จัดกิจกรรม SKECHERS PICKLEBALL WORKSHOP ส่งเสริมสุขภาพและขยายคอมมูนิตี้กีฬา Pickleball ในไทย
๑๕:๕๖ SHIELD จับมือแอสเซนด์ มันนี่ และ Money20/20 Asia จัดกิจกรรมระดมเงินบริจาคแก่มูลนิธิรามาธิบดี
๑๕:๔๓ 'ASW' เตรียมโอนกรรมสิทธิ์ 4 คอนโดฯ ใหม่ ไตรมาส 2 ครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ และภูเก็ตมูลค่ารวมกว่า 6,600 ล้านบาท
๑๕:๔๑ โก โฮลเซลล์ สนับสนุนเกษตรกรไทย ปูพรมจำหน่ายผลไม้ฤดูกาล สดจากสวนส่งตรงถึงมือคุณ