ผู้ประกอบการเครื่องจักรกลจากไต้หวันผนึกกำลังผลักดัน ประเทศไทยเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

จันทร์ ๐๔ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๔:๔๔
กลุ่มอุตสาหกรรมไต้หวันประกาศยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนากระบวนการผลิตอัจฉริยะ เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมให้อุปกรณ์เครื่องจักรซึ่งจะร่วมผนึกกำลังให้แก่ประเทศไทยที่กำลังเข้าสู่ยุค 4.0 ทัพผู้ประกอบการจากไต้หวันล้วนนำนวัตกรรมและโซลูชั่นเข้าร่วมแสดงในงาน METALEX 2017 เพื่อเดินหน้าขานรับพันธกิจอุตสาหกรรม 4.0

นายฟิลลิป หวง ผู้อำนวยการสภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน ประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า นับเป็นโอกาสอันดีที่กลุ่มผู้ประกอบการด้านเครื่องจักรกลจากไต้หวันได้เข้าร่วมงานแสดง METALEX 2017 ครั้งนี้ เพราะจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา และให้ข้อแนะนำที่เป็นประโยชน์ให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมทุกอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติน้ำท่วม โดยสภาการส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวัน (Taiwan External Trade Development Council – TAITRA) และสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องจักรแห่งไต้หวัน (Taiwan Association of Machinery Industry TAMI) ได้เชิญผู้ประกอบการชั้นนำด้านเครื่องจักรกลจากไต้หวันเข้าร่วมงานแสดง พร้อมนำเครื่องมือและเครื่องจักรกลมาตรฐานระดับโลก และคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตทั่วโลกครอบคลุมทุกอุตสาหกรรม มาจัดแสดง พร้อมกับเน้นเรื่องคุณภาพและนวัตกรรมด้วยราคาที่สมเหตุสมผล

ในปีนี้ สภาส่งเสริมการส่งออกแห่งไต้หวันพร้อมผู้ประกอบการจากไต้หวัน 65 ราย เปิดพาวิลเลี่ยนขนาดใหญ่บนพื้นที 1,758 ตารางเมตร ซึ่งเป็นพาวิลเลี่ยนประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในงาน METALEX 2017 บริษัทที่เข้าร่วมในงานนี้ล้วนเป็นผู้ประกอบการชั้นนำ เช่น Tongtai Machine & Tool Company Ltd, Hiwin Technologies, Palmary machinery, Zitai Precision machinery , Shieh Yih machinery, everising machine ฯลฯ บริษัทได้จัดแสดงอุปกรณ์อุตสาหกรรมที่หลากหลายต่างกันไป ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ศูนย์เครื่องจักรกลแบบอัตโนมัติที่ทำงานด้วยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (CNC machine) ที่มีความล้ำสมัย เครื่องเจียระไนและเครื่องปั๊มโลหะ ไปจนถึงอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น ชุดรางสไลด์ เครื่องมือตัด และด้ามมีด

งานนิทรรศการนี้เป็นเวทีให้ผู้ประกอบการและโรงงานผลิตได้แลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญด้านการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับคำแนะนำที่เกี่ยวกับเครื่องจักรคุณภาพสูง ซึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการจากไต้หวันเป็นที่นิยมและได้รับการยอมรับจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านคุณภาพและนวัตกรรมที่ล้ำหน้า

"ไต้หวันมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เราอยากแนะนำโซลูชั่นทางการผลิตอัจฉริยะแบบล่าสุดจากผู้ประกอบการชั้นนำด้านอุปกรณ์เครื่องจักรจากไต้หวัน เราเชื่อว่า อุปกรณ์เครื่องจักรจากไต้หวันจะส่งเสริมอุตสาหกรรมของประเทศไทย โดยพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต ทำงานด้วยระบบบริหารจัดการที่เป็นมิตร ลดค่าใช้จ่ายด้านการผลิต รวมถึงทำนุบำรุงการเติบโตและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ไต้หวันเป็นคู่ธุรกิจที่ประเทศไทยเชื่อใจมากที่สุด และทั้งสองประเทศจะร่วมมือกันในการสร้างความสำเร็จแก่นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในอนาคตอันใกล้นี้" นายเจสัน สวี่ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเป ประจำประเทศไทย กล่าว

ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงกันยายนของปีนี้ การส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรของโรงงานของผู้ผลิตจากไต้หวันคิดเป็นมูลค่า 2.41 พันล้านเหรียญ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 จากปีก่อนหน้า และยังมีการคาดการณ์เศรษฐกิจแง่บวกในช่วงครึ่งปีหลัง เมื่อปี 2016 ไต้หวันเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้ามากเป็นลำดับที่ 6 และเป็นคู่ค้าที่มีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 11 ของประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยนำเข้าอุปกรณ์เครื่องจักรคิดเป็นมูลค่าโดยรวมที่ 1.021 พันล้านเหรียญเมื่อปี 2016 โดยมีไต้หวันเป็นผู้ผลิตถึงร้อยละ 13 หรือมีมูลค่าอยู่ที่ 130 ล้านเหรียญ จากมูลค่าดังกล่าว ไต้หวันเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับเจ็ดของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใหญ่เป็นอันดับห้า โดยมีมูลค่าส่งออกทั้งหมดอยู่ที่ 2.9 พันล้านเหรียญ ตามรายงานเมื่อปีที่แล้ว ไต้หวันสามารถรั้งตำแหน่งหนึ่งในผู้เล่นตัวท็อปของภาคอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูงเช่นนี้ได้

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังพัฒนานโยบายไทยแลนด์ 4.0 ในขณะที่ไต้หวันก็กำลังผลักดันนโยบาย New Southbound ซึ่งประเทศไทยกับไต้หวันสามารถร่วมมือกันในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ อุตสาหกรรมอวกาศ เรือดำน้ำ อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์เคลื่อนที่ เศรษฐกิจดิจิทัล การแพทย์ และเทคโนโลยีพลังงานสีเขียว ซึ่งจะสามารถช่วยเหลือและผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยได้

นี่จึงเป็นสัญญาณที่ดีว่ากำลังซื้อของประเทศไทยที่มีต่อไต้หวันกำลังมีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อไป และยังแสดงให้เห็นว่า ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงของไต้หวันไม่เพียงแต่ทำให้ไต้หวันสามารถยืนหยัดในตลาดโลกได้เท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการตอบโจทย์มาตรฐานในระดับสูงที่ผู้ซื้อและภาคอุตสาหกรรมด้านการพัฒนาที่ดำเนินงานโดยรัฐบาลคาดหวังไว้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest