กพร.ลุยงาน ประกันการทดสอบมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่น สู่ระดับสากล

พฤหัส ๐๗ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๐๐
กพร.ลุยงาน การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพสำหรับระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สร้างความเชื่อมั่น เป็นที่ยอมรับกลุ่มอาเซียนและระดับสากล

นายสุทธิ สุโกศล อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กพร.) กระทรวงแรงงาน เผยว่า จากการจัดทำแผนแม่บทกระทรวงแรงงาน พ.ศ. 2555-2559 ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาระยะ 5 ปี ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับ กพร.ในเรื่องการพัฒนาศักยภาพแรงงานและสถานประกอบกิจการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ซึ่งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านหนึ่งนั้น ต้องขับเคลื่อนด้านมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล อีกทั้งต้องได้รับการยอมรับในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนด้วย

ปีที่ผ่านมา กพร. จึงได้จัดทำโครงการ "การขับเคลื่อนระบบประกันคุณภาพสำหรับระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน" เพื่อพัฒนาระบบทดสอบฯ ให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ทั้งในด้านความสามารถและคุณภาพของผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน สร้างความน่าเชื่อถือของผู้ทดสอบและระบบการทดสอบฝีมือ ซึ่งจะส่งผลให้หนังสือรับรองเป็นผู้ผ่านมาตรฐานฝีมือแรงงานของ กพร. เป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล โดยการประกันคุณภาพระบบทดสอบนั้น กพร.ได้ร่วมกับที่ปรึกษา สถาบันรับรองมาตรฐาน ISO จัดทำคู่มือการปฏิบัติงาน วิธีการบริหารคุณภาพในระบบทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากล

นายสุทธิ กล่าวต่อไปว่า หน่วยทดสอบทั่วประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เป็นศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน จะต้องดำเนินการทดสอบตามคู่มือคุณภาพ คู่มือการปฏิบัติงาน พร้อมแบบฟอร์มต่างๆ สำหรับนำไปใช้ในการปฏิบัติงานทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน ซึ่งกพร.จะได้ชี้แจงให้กับศูนย์ทดสอบฯ หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องนำไปใช้งานให้เป็นแนวทางเดียวกันต่อไป

นอกจากนี้ กพร.ได้นำระบบ IT มาใช้ในการทดสอบมาตรฐานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่สถานประกอบกิจการที่รับผู้ผ่านการทดสอบฯ เข้าทำงาน รวมถึงเพิ่มความโปร่งใสในการทำงานของเจ้าหน้าที่ด้วย โดยการทดสอบภาคทฤษฎี ผ่านระบบ E-Testing ซึ่งสอดรับกับนโยบายของพลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งด้านการส่งเสริมให้หน่วยงานมีมาตรฐานในการทำงานสู่ระดับสากล มีระบบฐานข้อมูล และนำดิจิทัลมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในการขับเคลื่อนสู่ไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป

การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงาน กพร.ไม่ได้ดำเนินการเพียงในประเทศเท่านั้น บางสาขาอย่างเช่น ผู้ประกอบอาหารไทย ได้รับความนิยมจากกำลังแรงงานไทยไปประกอบอาชีพในต่างประเทศ ล่าสุด สำนักงานแรงงานไทยเป ได้รายงานผลการทดสอบมาตรฐานผู้ประกอบอาหารไทย ระดับ 1 ในไต้หวัน ซึ่งดำเนินการระหว่างวันที่ 27-29 พ.ย.2560 มีผู้ผ่านทดสอบ 29 คน การทดสอบมาตรฐานฯ เป็นการวัดระดับฝีมือ สามารถเป็นเครื่องการันตีความสามารถ ซึ่งมีผลเรื่องของอัตราค่าจ้าง ความเชื่อมั่นในตนเอง ความเชื่อมั่นของผู้ว่าจ้างด้วย ทำให้จุดประกายแก่น้องๆ เชฟไทยในไต้หวัน หันมาใส่ใจที่จะพัฒนาฝีมือด้านอาหารมากขึ้น อีกทั้งผู้ประกอบการในต่างประเทศต้องการเชฟไทย ที่ จบ ป.ตรี ด้านอาหารหรือมีประสบการณ์ด้านอาหารไม่น้อยกว่า 5 ปี รับเงินเดือนกว่า 40,000 บาท อธิบดี กพร.กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๕๘ พาราไดซ์ พาร์ค ต้อนรับร้านตัดผมเด็ก Chic Kids Salon โดยช่างมากประสบการณ์
๐๘:๒๗ ม.พะเยา ลงพื้นที่จัดกิจม.พะเยา ลงพื้นที่จัดกิจกรรมสภากาแฟสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนและผู้นำชุมชน ครั้งที่ 2กรรมสภากาแฟสัญจร แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายสื่อมวลชนและผู้นำชุมชน
๐๘:๒๗ 39Ramen แฟรนไชส์กระแสแรง ตั้งเป้าขยาย 70 สาขา แชร์ส่วนแบ่ง 10% ตลาดราเมน
๐๘:๕๘ อิ่มอร่อยแบบไม่อั้นกับ 'ออล ยู แคน อีท' โปรโมชัน ณ ห้องอาหาร เอราวัณ ที รูม
๐๘:๒๙ OR คว้า 5 รางวัล ในงาน 2023-2024 Thailand's Most Admired Brand ตอกย้ำความเป็นแบรนด์ที่ผู้บริโภคไว้วางใจมากที่สุด
๐๘:๑๘ เบเยอร์ คว้ารางวัล 2023-2024 Thailand's Most Admired Company ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในสีนวัตกรรมครองใจผู้บริโภค
๐๘:๓๒ เปิดตัว เครื่องเขียนดั๊บเบิ้ล เอ คอลเลคชั่นใหม่สุดน่ารัก Double A x BearPlease
๐๘:๕๘ กทม.เร่งจัดหาจุดจอดเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา
๐๘:๕๑ ดร. ไฮจีน ร่วมภาครัฐ รับมือ PM 2.5
๐๘:๓๖ กทม.แจงแนวทางจัดซื้ออาหาร-ดูแลสุนัขที่ศูนย์พักพิงฯ จ.อุทัยธานี ผลสุ่มตรวจคุณภาพอาหารผ่านเกณฑ์ที่กำหนด