ปภ.ประสาน 10 จังหวัดภาคใต้เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 7 – 11 ธ.ค.60

ศุกร์ ๐๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๘:๒๘
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ประสาน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา พัทลุง ตรัง สตูล ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 7 – 11 ธันวาคม 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่ติดตามสภาพอากาศ และเฝ้าระวังสถานการณ์ภัย พร้อมจัดชุดเคลื่อนที่เร็วและเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที

นายชยพล ธิติศักดิ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์และสภาพอากาศร่วมกับกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมทรัพยากรธรณี พบว่าภาคใต้ยังมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางพื้นที่บริเวณภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย โดยเฉพาะจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 8 ธันวาคม 2560 หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 9 – 11 ธันวาคม 2560 จะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป ซึ่งปริมาณฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มในพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันออก ลุ่มน้ำชายฝั่งทาะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตก ลุ่มน้ำตาปี ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำปัตตานี ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจึงได้ประสาน 10 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี อำเภอหลังสวน อำเภอทุ่งตะโก และอำเภอพะโต๊ะ) สุราษฎร์ธานี (อำเภอกาญจนดิษฐ์ อำเภอเกาะสมุย และอำเภอดอนสัก) นครศรีธรรมราช (อำเภอช้างกลาง อำเภอฉวาง อำเภอพิปูน อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล อำเภอนบพิตำ อำเภอขนม อำเภอลานสกา อำเภอร่อนพิบูลย์ และอำเภอนาบอน) สงขลา (อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอรัตภูมิ) พัทลุง (อำเภอกงหรา อำเภอศรีบรรพต และอำเภอศรีนครินทร์) ตรัง (อำเภอห้วยยอด และอำเภอนาโยง) สตูล (อำเภอทุ่งหว้า) ยะลา (อำเภอปันนังสตา และอำเภอธารโต) ปัตตานี (อำเภอโคกโพธิ์ อำเภอมายอ และอำเภอทุ่งยางแดง) นราธิวาส (อำเภอสุคิริน และอำเภอศรีสาคร) รวมถึงศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต เตรียมพร้อมรับมือน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่ม ในช่วงวันที่ 7 – 11 ธันวาคม 2560 โดยจัดเจ้าหน้าที่และมิสเตอร์เตือนภัยติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ภัยตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงจัดเตรียมชุดเคลื่อนที่เร็ว เครื่องมืออุปกรณ์ประจำพื้นที่เสี่ยงให้พร้อมปฏิบัติการเผชิญเหตุและช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยเฉพาะที่ลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ที่ลาดเชิงเขา ชายฝั่งทะเล และจุดอ่อนน้ำท่วมขัง พร้อมตรวจสอบเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ำ คันกั้นน้ำให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง รวมถึงปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ แผนเผชิญเหตุ และแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอย่างเคร่งครัด สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและประกาศเตือนภัยอย่างใกล้ชิด พร้อมปฏิบัติตามคำเตือนอย่างเคร่งครัด รวมถึงขนย้ายสิ่งของขึ้นที่สูงให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึง ตลอดจนหมั่นสังเกตสัญญาณความผิดปกติทางธรรมชาติจะได้อพยพหนีภัยทันท่วงที ท้ายนี้ผู้ประสบภัยสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

0-2243-0674 0-2243-2200 www.disaster.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๗:๓๓ รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๗:๔๔ กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๗:๔๒ ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๗:๑๕ กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๗:๑๕ เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๗:๒๙ สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๗:๑๐ GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๗:๔๓ เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๖:๓๖ เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4