คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป เผยรายงานอัตราเงินเดือนทั่วโลกปี 2018 ชี้อัตราค่าจ้างในเอเชียเติบโตสูงสุดแต่ไม่แรงเท่าปีก่อน

อังคาร ๑๙ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๐๙:๔๙
- อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในแต่ละประเทศ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

- ชี้อัตราฯปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียง 1.5% ตามค่าเงินเฟ้อ

- อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเพียงครึ่งหนึ่งของปีที่ผ่านมา

- สหราชอาณาจักร อาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์ มีอัตราฯที่ปรับตัวต่ำลง

ข้อมูลการคาดการณ์เงินเดือนปี ค.ศ. 2018 ซึ่งออกโดยคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป (รหัสในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก: KFY) เผยผลสำรวจของภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) สูงสุด แม้อัตราการขึ้นเงินเดือนของปีนี้จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

สำหรับภูมิภาคเอเชีย คาดการณ์ว่าอัตราเงินเดือนจะเพิ่มขึ้นราว 5.4% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น 6.1% จากเมื่อปีก่อน โดยคาดว่าการปรับขึ้นของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ (Real wage) จะอยู่ที่ราว 2.8% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราสูงที่สุดในโลก แต่ยังลดลงจาก 4.3% ของปีก่อน โดยจีนมีการคาดการณ์ว่าอัตราฯจะเพิ่มขึ้นที่ 4.2% ในปี 2018 ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ไว้ในปีก่อนว่าจะเพิ่มขึ้น 4% ทั้งนี้ ขณะที่ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียมีอัตราฯมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องทุกปี อาทิ เวียดนามคาดการณ์ที่ 4.6% ลดลงจาก 7.2% ของปีก่อน สิงคโปร์ที่ 2.3% ลดจาก 4.7% ญี่ปุ่นที่ 1.6% ลดลงจาก 2.1% ของปีก่อน ส่วนประเทศไทย คาดการณ์ว่าอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้น 4.5 % ซึ่งยังต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 5.6 % ในปีที่แล้ว

ภูมิภาคส่วนใหญของโลกมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดต่ำลง

เมื่อพิจารณาการปรับขึ้นตามภาวะเงินเฟ้อ คาดการณ์ว่าลูกจ้างทั่วโลกจะได้รับอัตราฯเฉลี่ยเพียง 1.5% ซึ่งลดลงจากที่คาดการณ์ปี 2017 ที่ 2.3% และ 2.5% ของปี 2016

"เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นในแต่ละประเทศ เราจึงได้เห็นถึงการลดลงของอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ" บ็อบ เวสเซลเคมเปอร์ หัวหน้าฝ่ายงานระหว่างประเทศ Rewards and Benefits Solutions ของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป กล่าวว่า "อัตราฯของการเพิ่มหรือลดเงินเดือนจะแตกต่างไปตามตำแหน่งงาน อุตสาหกรรม ประเทศ และภูมิภาค แต่ประเด็นสำคัญที่เห็นชัดเจนคือ ในส่วนของพนักงานนั้น จะไม่สามารถรู้ได้ถึงการเพิ่มขึ้นของค่าตอบแทนที่แท้จริง เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา"

ภูมิภาคออสตราเลเซียมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อต่ำสุด

ค่าจ้างในออสตราเลเซียคาดการณ์ว่าจะเติบโตราว 2.5% ซึ่งคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจริงเพียง 0.7% โดยในประเทศออสเตรเลียจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างสูงสุดที่ 2.5% โดยที่ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 2.1% และคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อ 0.4% ส่วนในนิวซีแลนด์ คาดว่าเงินเดือนจะเพิ่มขึ้น 2.5% ภาวะเงินเฟ้อเพิ่มที่ 1.5% จึงคิดเป็นอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1%

ภูมิภาคอเมริกาเหนือให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ลดลง

ในสหรัฐฯ คาดการณ์ว่าค่าจ้างจะมีอัตราฯเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3% เท่ากับเมื่อปีก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินเฟ้อที่ 2% ในปี 2018 ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1% ลดลงจาก 1.9% ของปีก่อน ส่วนในประเทศแคนาดาอัตราการขึ้นค่าจ้างเพิ่มขึ้นราว 2.6% โดยมีค่าเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% จึงทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 0.9%

ภูมิภาคยุโรปตะวันออกให้อัตราฯดีกว่าฝั่งยุโรปตะวันตก

จากผลจากสำรวจของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป ในปี 2018 ลูกจ้างทางฝั่งยุโรปตะวันออกจะมีอัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้น 6% อย่างไรก็ดี เมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อ จะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.4% ซึ่งลดลงจาก 2.1% ของเมื่อปีก่อน ส่วนทางฝั่งยุโรปตะวันตก ลูกงานจะมีอัตราการเพิ่มค่าจ้างที่ต่ำลง โดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นที่ 2.3% โดยเมื่อคำนวณกับการปรับค่าเงินเฟ้อแล้วจะได้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพียง 0.9%

เนื่องจากความผันผวนหลังการออกจากสหภาพยุโรปของสหราชอาณาจักร ทำให้ค่าจ้างในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้นเพียง 2% เมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อที่ 2.5% ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -0.5% ซึ่งแตกต่างจากในปี 2017 ที่ค่าจ้างที่ปรับตามค่าเงินเฟ้อในสหราชอาณาจักรอยู่ที่ 1.9% ส่วนลูกจ้างในประเทศที่มีเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของยุโรปอย่างฝรั่งเศสและเยอรมนี คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น อยู่ที่ 0.7% และ 0.8% ตามลำดับ

ภูมิภาคตะวันออกกลางมีอัตราปรับตัวขึ้นเล็กน้อย

ค่าจ้างในตะวันออกกลาง คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นราว 3.8% ลดลงจาก 4.5% ของเมื่อปีก่อน โดยอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเมื่อคำนวณกับค่าเงินเฟ้อ จะเพิ่มขึ้น 0.9% ซึ่งลดลงจาก 2.5% ของปีก่อน ส่วนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มีค่าเงินเฟ้อที่ 4.6% เมื่อคำนวนณกับค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นเพียง 4.1% ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -0.5%

จอร์แดนและเลบานอนจะมีภาวะตกต่ำรุนแรงที่สุดในภูมิภาค โดยคาดการณ์ว่าจอร์แดนจะมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.6% ลดลงจาก 6.3% ของปีก่อน และเลบานอนคาดว่าเพิ่มขึ้นเพียง 1.8% ลดลงจาก 6.1% ของปีที่ผ่านมา

ภาวะเงินเฟ้อกระตุ้นอัตราการเพิ่มเงินเดือนในเอเชีย

แม้เอเชียจะมีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดที่ 8.5% แต่ด้วยภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้อัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 1.7% เพิ่มจากเมื่อปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 0.7% ในณะที่อียิปต์มีอัตราการเพิ่มเงินเดือนสูงสุดอยู่ที่ 15% แต่กลับพบว่ามีอัตราเงินเฟ้อสูงถึง 18.8% ทำให้ลูกจ้างมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อลดลงมาอยู่ที่ -3.8%

ละตินอเมริกามีอัตราการเพิ่มอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อสูงสุดเป็นอันดับสอง

คาดการณ์ว่า ลูกจ้างในละตินอเมริกาจะได้ค่าแรงเพิ่มขึ้น 6.2% เมื่อคำนวณกับภาวะเงินเฟ้อที่ชะลอตัวมากสุดในภูมิภาค ทำให้มีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 2.1% สูงกว่า 1.1% ของปีก่อน ส่วนในโคลัมเบีย คาดว่าจะมีอัตราเงินเฟ้อที่ 2.7% ในปี 2018 เมื่อคำนวณกับอัตราการเพิ่มเงินเดือนที่ 5.3% ทำให้โคลัมเบียมีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 2.6% และสำหรับบราซิล คาดว่าจะมีอัตราการเพิ่มเงินเดือนที่ 7.3% เงินเฟ้อ 4% ทำให้มีอัตราการขึ้นเงินเดือนหลังหักอัตราเงินเฟ้อที่ 3.3%

"การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกทำให้อัตราการเพิ่มค่าจ้างลดต่ำลง" บ็อบ เวสเซลเคมเปอร์ กล่าว "สำหรับในเขตเศรษฐกิจเกิดใหม่ ลูกจ้างที่มีทักษะการทำงานสูงจะถือเป็นทรัพยากรที่สำคัญมากสำหรับบริษัทในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ซึ่งลูกจ้างที่มีทักษะเหล่านั้นย่อมคาดหวังว่าจะได้ค่าจ้างเพิ่มขึ้น ในขณะที่การขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถในภูมิภาคย่อมส่งผลทำให้เงินเดือนในภูมิภาคนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน"

ที่ปรึกษาทางด้านการบริหารค่าจ้างค่าตอบแทนของ คอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป แนะนำว่าให้วิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ และคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมในการพิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือน

"แม้อัตราเงินเฟ้อจะเป็นดัชนีเปรียบเทียบและปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อตลาดในเรื่องการจ่ายค่าจ้าง ทั้งนี้บริษัทต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้นในการกำหนดและตกลงใช้มาตรการต่าง ๆ ทั้งในเรื่องปัจจัยด้านต้นทุน ด้านกลยุทธ์ธุรกิจ และเงื่อนไขการดำเนินธุรกิจของแต่ละประเทศ" เบนจามิน ฟรอสต์ Global General Manager จากคอร์นเฟอร์รี่ เฮย์กรุ๊ป กล่าว "โครงสร้างเงินเดือนและค่าตอบแทนต่างๆควรได้รับการตรวจสอบและทบทวนอยู่เสมอ เพื่อให้บริษัทมั่นใจได้ว่า การจ่ายผลตอบแทนสามารถแข่งขันได้กับตลาด โดยยังคงมีความสอดคล้องกับกลยุทธ์และการพัฒนาของธุรกิจ"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๐ อิมแพ็ค จัดงาน Happy Hours: Wine Tasting Craft Beer ต้อนรับลูกค้าช่วงมอเตอร์โชว์
๑๗:๓๒ สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานแพร่ มอบเครื่องมือพื้นฐานชุดการฝึก (ชุดเครื่องมือทำมาหากิน) รุ่นที่ 4/2567
๑๗:๕๒ ดีพร้อม ดึงผู้ประกอบการเงินทุนฯ ทั่วประเทศ เปิดพื้นที่ทดสอบตลาด จัดงาน พร้อมเปย์ ที่ DIPROM FAIR
๑๗:๔๕ เขตราชเทวีจัดเทศกิจกวดขันผลักดันผู้ค้าตั้งวางแผงค้ารุกล้ำบนทางเท้าถนนราชปรารภ
๑๗:๑๗ เขตวัฒนากวดขันผู้ค้าทางออกสถานีรถไฟฟ้า MRT แยกอโศก ไม่ให้กีดขวางทางสัญจร
๑๗:๒๒ ดื่มด่ำกับมื้ออาหารสุดพิเศษ ช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ที่รอยัล คลิฟ พัทยา
๑๖:๐๙ SEhRT กรมอนามัย ปฏิบัติการประเมินความเสี่ยงสุขภาพจากไฟไหม้โรงงานพลาสติก จังหวัดระยอง
๑๖:๑๒ สิ่งที่ควรรู้ก่อนส่งอาหารไปอเมริกา แพ็คยังไง ส่งอะไรได้บ้าง?
๑๖:๐๘ ตอบข้อสงสัยการทำประกันออนไลน์ ข้อดี-ข้อเสีย และวิธีการเคลม
๑๖:๐๓ 5 คุณประโยชน์ของวิตามินบำรุงสมอง อาหารเสริมที่ควรมีติดบ้าน