มรภ.สงขลา เตรียมตั้งหน่วยวิจัย บูรณาการความรู้ถ่ายทอดสู่ชุมชน

พฤหัส ๒๘ ธันวาคม ๒๐๑๗ ๑๕:๕๑
มรภ.สงขลา เตรียมพร้อมจัดตั้งหน่วยวิจัย บูรณาการความรู้ทุกแขนงถ่ายทอดสู่ชุมชน เน้นผลงานใช้ประโยชน์ได้จริง พร้อมตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติ เชื่อหากทำได้จะสร้างอิมแพ็คอย่างมากต่อสังคม

ผศ.ดร.นิวัต กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า มรภ.สงขลา กำลังเตรียมออกประกาศเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจัดตั้งและการบริหารหน่วยวิจัย เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยมีนโยบายให้การสนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัยให้มีทิศทางที่ชัดเจน เน้นนำผลการวิจัยไปตีพิมพ์และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งการเกิดขึ้นของหน่วยวิจัยจะช่วยพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในศาสตร์สาขาต่างๆ เชิงบูรณาการ ก่อให้เกิดความเข้มแข็งและสร้างชื่อเสียงให้แก่มหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ยังส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก นำไปสู่การเผยแพร่ผลงานวิจัยให้เป็นที่ประจักษ์ อาทิ ผลงานวิจัยตีพิมพ์สิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร นวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีผลต่อการพัฒนาชุมชนหรือท้องถิ่น เป็นต้น

ผศ.ดร.นิวัต กล่าวว่า สำหรับหลักเกณฑ์ในการจัดตั้งหน่วยวิจัยนั้น ต้องมีนักวิจัยตามคุณสมบัติที่กำหนดไม่น้อยกว่า 3 คน และสามารถสังกัดได้ไม่เกิน 2 หน่วยวิจัย มีการบูรณาการศาสตร์สาขาต่างๆ และมีแผนดำเนินงานของหน่วยวิจัยอย่างชัดเจนและต่อเนื่อง 4 ปี ซึ่งภายใน 2 ปีหลังจากลงนามในสัญญาจะต้องมีโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัยไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทอย่างน้อย 1 โครงการ และจะต้องมีผลงานตีพิมพ์/ตอบรับตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ ที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 หรือที่มีชื่อปรากฏอยู่ในประกาศ สมศ. สกอ. และ สกว. หรือระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลการจัดอันดับวารสาร SJR (SCImago Journal Rank : www.scimagojr.com) หรือมีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI หรือ Scopus หรือมีการจดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรไม่น้อยกว่า 2 ชิ้นงาน หรือมีการสร้างรายได้จากผลงานวิจัยในเชิงพาณิชย์

ด้าน ผศ.ดร.สายฝน ไชยศรี รองผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยและรับใช้สังคม สถาบันวิจัยและพัฒนา มรภ.สงขลา กล่าวเพิ่มเติมว่า การรวมกันเป็นหน่วยวิจัยจะก่อให้เกิดอิมแพ็คอย่างมากต่อสังคม ตัวอย่างเช่น ทำวิจัยเรื่องข้าว นักวิจัยจากคณะเทคโนโลยีการเกษตรอาจศึกษาพันธุ์ข้าว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำข้าวที่ได้ไปแปรรูป คณะวิทยาการจัดการดูแลเรื่องแพ็คเกจและการจำหน่าย ส่วนคณะศิลปกรรมศาสตร์คิดค้นออกแบบท่ารำเกี่ยวกับข้าว ขณะที่คณะครุศาสตร์นำไปสอนนักศึกษาเพื่อถ่ายทอดต่อสู่โรงเรียนในพื้นที่ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าจุดเด่นของหน่วยวิจัยคือมีความหลากหลายของศาสตร์แต่ละแขนง ที่มารวมตัวกันและบูรณาการความรู้ที่มีจนออกมาเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพ ซึ่งในอนาคตหากมีหน่วยวิจัยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากก็อาจพัฒนาเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัยประจำ มรภ.สงขลา ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๑ เม.ย. อ.อ.ป. ร่วม พิธีสรงน้ำพระ ขอพร เนื่องในวันสงกรานต์ประจำปี 2567 ทส.
๑๑ เม.ย. 1 จาก 1,159 ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ส่งมอบลอตเตอรี่ที่ไม่ถูกรางวัล จำนวน 125,500 ใบ ให้กับศูนย์สาธารณสงเคราะห์เด็กพิเศษ วัดห้วยหมู
๑๑ เม.ย. JPARK ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผถห. อนุมัติปันผล 0.0375 บาทต่อหุ้น
๑๑ เม.ย. สเก็ตเชอร์ส สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อความสบายแก่บุคลากรทางการแพทย์ บริจาครองเท้ารุ่น GOwalk 7(TM) สำหรับบุคลากรทางการแพทย์
๑๑ เม.ย. ศูนย์คนหายไทยพีบีเอส ร่วมกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ทำงานเชิงป้องกัน เก็บก่อนหาย ในผู้สูงอายุ
๑๑ เม.ย. จุฬาฯ อันดับ 1 ของไทย การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย QS WUR by Subject 2024
๑๑ เม.ย. ครั้งแรกในไทย 'Pet Us' เนรมิตพื้นที่จัดกิจกรรม มะหมามาหาสงกรานต์ ชวนน้องหมาทั่วทั้ง 4 ภาคร่วมสนุกในช่วงสงกรานต์ 13-14 เมษายน ตอกย้ำความสำเร็จฉลอง 'Pet Us' ครบ 3
๑๑ เม.ย. LINE STICKER OCHI MOVE จาก OCEAN LIFE ไทยสมุทร คว้ารางวัลชนะเลิศ Best Sponsored Stickers in Insurance ในงาน LINE THAILAND AWARDS
๑๑ เม.ย. วว. ผนึกกำลังหน่วยงานเครือข่าย พัฒนาเชื่อมโยงการค้า ตลาด วิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๑ เม.ย. บริษัท เค วัน วัน ดี จำกัด ถือฤกษ์ดีจัดพิธีบวงสรวง ซีรี่ส์ Girl's Love เรื่องใหม่ Unlock Your Love : รักได้ไหม ?