ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค (Thai Regional Economic Sentiment Index: RSI) ประจำเดือนมกราคม 2561

จันทร์ ๒๙ มกราคม ๒๐๑๘ ๑๕:๑๕
"ค่าดัชนีฯ เดือนมกราคม 2561 สะท้อนแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้นทุกภูมิภาค

นำโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ"

นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยรายงานดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ประจำเดือนมกราคม 2561 ว่า "การประมวลผลข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจรายจังหวัดล่าสุด จากสำนักงานคลังจังหวัด 76 จังหวัดทั่วประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ (คาดการณ์ 6 เดือนข้างหน้า) อยู่ในระดับที่ดีขึ้นกว่าเดือนก่อนหลายภูมิภาค นำโดยภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคเหนือ โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ เป็นสำคัญ"

ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคกลาง ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 93.8 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากแนวโน้มที่ดีขึ้นในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคการลงทุน เนื่องจากความคืบหน้าของนโยบายภาครัฐด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการทางพิเศษ (ทางด่วน) สายอุดรรัถยา-พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น ประกอบกับมีการลงทุนใหม่ด้านอสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและมีการขยายธุรกิจมากขึ้นในจังหวัดสระบุรี อีกทั้งได้รับอานิสงส์จากโครงการกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ ส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคอุตสาหกรรมของภูมิภาค ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 96.6 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตภาคตะวันออก อยู่ที่ระดับ 92.9 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนหลักจากภาคอุตสาหกรรม ซึ่งมีค่าดัชนีแนวโน้มอยู่ที่ 99.8 ประกอบกับสถานการณ์การลงทุนภายในภูมิภาคที่มีแนวโน้มดีต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยสนับสนุนจากโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) เช่น การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เป็นต้น อีกทั้งมีนักลงทุนรายใหม่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นในจังหวัดปราจีนบุรี จากเดิมในเดือนก่อนหน้า ที่พบว่านักลงทุนรายใหม่สนใจเพียงในเขตพื้นที่โครงการ EEC เช่นเดียวกับภาคการผลิตของภาคเหนือ ที่มีแนวโน้มที่ดี โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากการขยายโรงงานในหลายพื้นที่ เช่น เพชรบูรณ์ ลำปาง เป็นต้น อีกทั้งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เช่น โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นต้น รวมถึงแนวโน้มภาคเกษตร ยังคงส่งสัญญาณที่ดี ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 96.7 ตามสภาพอากาศที่เอื้อต่อการเพาะปลูก ซึ่งคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นมาก ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจเหนือ ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ 91.2 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ที่ระดับ 84.5 จากดัชนีแนวโน้มที่ดีขึ้นของภาคบริการในเกือบทุกจังหวัด โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะได้รับผลดีจากมาตรการลดหย่อนภาษีเขตเมืองรอง ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 18 จังหวัดของภูมิภาค อีกทั้ง สาขาค้าปลีกค้าส่ง ยังคงได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงดัชนีแนวโน้มของภาคอุตสาหกรรม ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 93.1 เนื่องจากผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมมีความเชื่อมั่นมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในแต่ละจังหวัด สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคตะวันตก อยู่ที่ 79.8 ตามแรงสนับสนุนจากแนวโน้มที่ดีของภาคบริการ โดยเฉพาะสาขาการท่องเที่ยว ที่จะได้รับอานิสงส์จากนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยว อีกทั้ง บริเวณด่านชายแดนในจังหวัดกาญจนบุรียังคงคึกคัก ซึ่งสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวไทยและเมียนมาร์ได้ รวมถึงค้าส่งค้าปลีกที่มีแนวโน้มสดใส จากการใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่งผลให้ดัชนีแนวโน้มภาคบริการ อยู่ในระดับที่ดีที่ 83.8 ประกอบกับแนวโน้มที่ดีในภาคการลงทุน เนื่องจากมีการลงทุนใหม่ตามสถานที่ท่องเที่ยวภายในจังหวัดราชบุรี ส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจ กทม.และปริมณฑล อยู่ที่ 73.3 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามดัชนีแนวโน้มในอีก 6 เดือนข้างหน้าของภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 84.3 โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กและเครื่องหนัง ประกอบกับดัชนีแนวโน้มภาคบริการ อยู่ที่ 71.8 โดยเฉพาะสาขาค้าปลีกและการเงินการธนาคาร นอกจากนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภาคใต้ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ 68.7 จากดัชนีแนวโน้มในภาคการจ้างงานภายในภูมิภาค ส่งสัญญาณที่ดีต่อเนื่อง อยู่ที่ 85.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมและบริการ เป็นสำคัญ

ตารางสรุปดัชนีความเชื่อมั่นอนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค ปี 2561 (ณ เดือนมกราคม 2561)

กทม. และปริมณฑล ภาคตะวันออก ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันตก

เฉียงเหนือ

ภาพรวม

ดัชนีความเชื่อมั่น 73.3 92.9 84.5 68.7 93.8 91.2 79.8

อนาคตเศรษฐกิจภูมิภาค

ดัชนีแนวโน้มรายภาค

1) ภาคเกษตร 71.0 90.3 82.9 58.5 89.5 96.7 78.8

2) ภาคอุตสาหกรรม 84.3 99.8 93.1 72.1 96.6 97.2 80.7

3) ภาคบริการ 71.8 98.0 93.6 64.1 95.2 96.3 83.8

4) ภาคการจ้างงาน 69.3 77.1 75.2 85.6 92.0 86.4 64.7

5) ภาคการลงทุน 70.1 99.3 77.7 63.2 96.0 79.4 91.0

สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0-2273-9020 ต่อ 3254 หรือ 3215

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๕๔ กทม. เตรียมปรับปรุงพัฒนาระบบการให้บริการงานทะเบียนสำนักงานเขต
๑๗:๑๗ สมาคมเพื่อนชุมชน ส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ่ายทอดองค์ความรู้ แนวทางลดก๊าซเรือนกระจก
๑๗:๔๑ กทม. เร่งติดตั้งเสา-ตะแกรงรั้วกั้นเกาะกลางถนนวิสุทธิกษัตริย์ที่ถูกรถชนเสียหาย
๑๗:๐๔ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอเชิญชวนนักศึกษา และบุคคลทั่วไป เข้าร่วมงาน M-Sci JOB FAIR 2024 หางานที่ใช่ สร้างงาน สร้างโอกาส วันที่ 2 พฤษภาคม 2567 เวลา 13.00-16.00 น. ณ หอประชุม รักตะกนิษฐ
๑๗:๒๘ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค นำเสนอโซลูชั่นดิจิทัลลุยตลาดอาคารอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน
๑๖:๒๙ จิม ทอมป์สัน เผยทิศทางการพา แบรนด์ผ้าเมืองไทย ผงาดเวทีโลก ส่องกลยุทธ์การครีเอตผลงานคุณภาพให้สอดรับเทรนด์สิ่งทอระดับสากล
๑๖:๓๘ อาดิดาสจับมือนักฟุตบอลระดับตำนาน ส่งแคมเปญ 2006 JOSE 10 สร้างแรงบันดาลใจและความเป็นไปได้อันไร้ขีดจำกัดให้กับเหล่านักฟุตบอลเยาวชนหญิง
๑๖:๑๐ Maison Berger Paris พาชมเครื่องหอมบ้าน 2 คอลเลคชั่นใหม่ MOLECULE และ JOY จัดเต็มเซ็ตของขวัญ ครบทุกรูปแบบความหอม สร้างบรรยากาศหรูหราพร้อมกลิ่นหอมบริสุทธิ์
๑๖:๕๗ กทม. เตรียมระบบเฝ้าระวัง-ควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 หลังเทศกาลสงกรานต์
๑๕:๑๕ NCC. ผนึก ททท. ขยายตลาดท่องเที่ยวมูลค่าสูง ชี้ตลาดท่องเที่ยวเฉพาะทาง (Niche Market) โต ลุยจัดงาน Thailand Golf Dive Expo plus OUTDOOR Fest