ทีเซลส์ผลักดัน "โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน” ปีที่ 2

จันทร์ ๐๕ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๔:๒๐
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS) ผนึกพลังส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ "Promoting I with I" Thailand 4.0 ร่วมกับ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBio), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.), สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.) และ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ร่วมจัดงานแถลงข่าว "โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน ปีที่ 2" ประจำปี 2561 : Promoting Life Sciences Innovation with Investment "Promoting I with I" ตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เมื่อเร็วๆ นี้ ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนพระรามหก กรุงเทพฯ โดยในปีที่ผ่านมาได้จัดกิจกรรม Pitching การนำเสนอแผนธุรกิจ จับคู่ทางธุรกิจ ในปีนี้ปรับกลยุทธ์ด้านการพัฒนา ฝึกอบรม บริหารเทคโนโลยีให้แก่นักวิจัย นักลงทุน เกิดประโยชน์ต่อทีมวิจัยและภาคธุรกิจ พร้อมทั้งสนับสนุนนักวิจัย และผู้ประกอบการร่วมใช้ประโยชน์จากงานวิจัยต่อยอดสู่การสร้างนวัตกรรม

ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า "โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดธุรกิจอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ โดยผู้ประกอบการ SMEs จะมีเส้นทางการผลิตจากนวัตกรรม (Innovation) ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และมีโอกาสในการแข่งขันสู่ตลาดนานาชาติ โดยใช้กลไกการบริหารจัดการข้อตกลงถ่ายทอดสิทธิ (Licensing agreement) เป็นการต่อยอดงานวิจัยจากหิ้งสู่ห้างที่มีความสำคัญมาก ซึ่งจะเกิดเป็นธุรกิจเชิงพาณิชย์แก่ผู้ประกอบการ SMEs ด้านชีววิทยาศาสตร์และสุขภาพ ที่นับเป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมแห่งอนาคต อีกทั้งยังส่งเสริม สนับสนุนงานวิจัย และเทคโนโลยีชีวภาพทางด้านชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมทั้งส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ต่อยอดไปสู่การผลิตผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่พร้อมออกสู่ตลาดธุรกิจ เป็นการสร้างโอกาส พัฒนาโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคการศึกษา ภาคธุรกิจและประชาชน ให้กับประเทศในการวิจัยนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ ตอบรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0"

ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ เปิดเผยว่า "ทีเซลส์ (TCELS) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ส่งเสริมนวัตกรรมให้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการผลิต จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์ และบริการที่ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้จริง ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยา ชีวภัณฑ์ทางการแพทย์ อาหารเสริมทางการแพทย์ ชุดทดสอบและบริการวิเคราะห์ทดสอบด้านจีโนม ยีน และทุกผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีววิทยาศาสตร์ นับเป็นอุตสาหกรรมทางการแพทย์ที่ได้รับการจับตามอง ดังนั้น ในวันนี้ ทีเซลส์ (TCELS) จึงร่วมกับพันธมิตรทั้ง ThaiBio ซึ่งมีเครือบริษัทที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพเป็นสมาชิกอยู่ 15 บริษัท สกว. สวก.และ สกอ.ขับเคลื่อนความร่วมมือ โครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน ปีที่ 2 : Promoting Life Sciences Innovation with Investment "Promoting I with I" อย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดกิจกรรม pitching จับคู่ทางธุรกิจที่มีพี่เลี้ยงจากหน่วยงานให้ทุนเป็นผู้ดูแล และมีการติดตามผลอย่างใกล้ชิด ในปีที่ผ่านมามีการจัดงานจับคู่ธุรกิจถึง 3 ครั้ง และทำให้เกิดการจับคู่งานวิจัยสู่ภาคธุรกิจถึง 47 คู่"

ดร.นเรศ กล่าวเพิ่มเติมว่า "ในปีนี้ ทีเซลส์ (TCELS) ได้วางกลยุทธเชื่อมโยงทีมวิจัยและภาคธุรกิจให้เข้มแข็งมากขึ้น พร้อมทั้งจัดทีมพี่เลี้ยงจากผู้ให้ทุนวิจัยและจากสมาคม ThaiBio จัดกิจกรรมฝึกอบรมการบริหารเทคโนโลยี โดยจะเชิญนักวิจัย ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และนักลงทุนมาพบกันในกิจกรรมพบปะนักวิจัยและนักลงทุนในเดือนมีนาคม 2561 นี้"

ดร.ภาคภูมิ ทิพคุณ รองผู้อำนวยการฝ่ายด้านการจัดการความรู้และสื่อสารสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า "สกว. (TRF) เป็นหน่วยงานให้ทุนวิจัยที่ครอบคลุมทุกสาขา ทั้งวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครอบคลุมงานวิจัยทุกระดับ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ทั้งงานวิจัยเพื่อสะสมองค์ความรู้ งานพัฒนานักวิจัยที่มีทักษะสูง ตลอดจนงานวิจัยที่เน้นการประยุกต์ใช้งาน โดยเป็นการทำงานร่วมกันกับหลายภาคส่วน เพื่อผลักดันให้งานวิจัยสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมโดยรวม ในปีที่ผ่านมา สกว. ได้ร่วมส่งนักวิจัย เข้าร่วมร่วมโครงการ "Promoting I with I" อย่างต่อเนื่อง และจัดทีมงานเป็นพี่เลี้ยงและติดตามผลอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการต่อยอดงานวิจัยร่วมกับภาคเอกชนจนสร้างมูลค่าในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ และส่งเสริมประเทศไทยสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรมได้ตามเป้าหมายของประเทศ"

นางสาวศิริกร วิวรวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กล่าวว่า "สวก. (ARDA) มีนโยบายในการร่วมสนับสนุนทุนวิจัยกับภาคเอกชนมาโดยตลอด เพื่อให้งานวิจัยถูกนำออกไปใช้ประโยชน์ได้จริง ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคม โดยโครงการปี 2560 ได้รับการอนุญาตให้ภาคเอกชนใช้สิทธิจำนวน 2 โครงการ ได้แก่ การพัฒนาผลิตภัณฑ์สารสกัดกวาวเครือขาวที่กักเก็บด้วยอนุภาคนาโนในรูปแบบอิมัลเจลสำหรับการนำส่งฮอร์โมนทางผิวหนัง และกรรมวิธีการกระตุ้นการผลิตสารดีออกซีไมโรเอสทรอลจากกวาวเครือขาวด้วยการเพาะเลี้ยงเซลล์แขวนลอย โดยผลักดันให้ผู้ประกอบการมีช่องทางและโอกาสในการเจรจาธุรกิจเพิ่มมากขึ้นด้วย"

ดร.ภาสกร เหมกรณ์ ที่ปรึกษาด้านกิจการอุดมศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เผยว่า "สกอ. (OHEC) เป็นหน่วยงานด้านการสร้างองค์ความรู้ สนับสนุนการพัฒนา และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ พัฒนาศักยภาพนักศึกษา เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้สู่การพัฒนาเศรษฐกิจ สกอ. มีความยินดีอย่างยิ่งในการผนึกกำลังร่วมกันของพันธมิตร เพื่อผลักดันการพัฒนาประเทศด้วยงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม เนื่องจากเห็นว่า การเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการ และนักวิจัยได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน มีความสอดคล้องกับนโยบายของสกอ. ในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม"

ดร.วสันต์ อริยพุทธรัตน์ นายกสมาคมสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (Thai Bio)กล่าวว่า "เทคโนโลยีชีวภาพเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาท และมีความสำคัญมากในปัจจุบัน ดังที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก และประเทศไทย กำลังมุ่งสู่เศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างเข้มแข็ง อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังไม่สามารถสร้างธุรกิจรูปแบบนี้ให้เกิดขึ้นได้จริงมากเท่าที่ควร สาเหตุหนึ่งคือ แม้นักวิจัยจะมีผลงานที่มีศักยภาพ แต่ยังไม่สามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ เนื่องจาก ขาดเงินทุนในการพัฒนาต่อ ขณะที่นักลงทุนที่มีกำลังเงินเองก็ไม่ทราบว่ามีงานวิจัยที่มีศักยภาพพร้อมจะพัฒนาเชิงธุรกิจได้ ดังนั้น สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย จึงพร้อมเป็นตัวกลางเชื่อมต่อนักวิจัย และนักลงทุนให้ได้มาพบกัน ซึ่งในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ทางสมาคมจึงได้เชิญ 3 บริษัทที่มีสินค้านวัตกรรมมาร่วมจัดแสดงด้วย ได้แก่

1. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดย PTT Innovation Institute จัดแสดงผลงานวิจัย PTT Tox Test ชุดตรวจสอบความเป็นพิษของน้ำที่ปนเปื้อนสารเคมี โดยใช้แบคทีเรียเป็นอินดิเคเตอร์

2. Betagro แสดงผลิตภัณฑ์จากผลงานวิจัยใน Betagro Research & Development Center ที่เป็นศูนย์วิจัย และตรวจวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ให้กับบริษัทในเครือรวมถึงบริการลูกค้า

3. บริษัท กรีน อินโนเวทีฟ ไบเทคโนโลยี จำกัด (Green Innovative Biotechnology) หรือ G.I.B. นำผลงานวัคซีนมาร่วมแสดง โดยมีวัคซีนพืชที่เป็นวัคซีนชนิดเดียวในโลกที่ใช้กับพืช ที่สำคัญเป็นผลงานของคนไทย

นอกจากการแถลงข่าวความร่วมมือครั้งนี้แล้ว ทั้ง 5 พันธมิตรยังเตรียมจัดกิจกรรมเสวนาในโครงการส่งเสริมนวัตกรรมชีววิทยาศาสตร์ด้วยการลงทุน ปี 2561 และการจัดกิจกรรมให้นักวิจัยเจ้าของผลงานต้นแบบได้พบกับนักลงทุน ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน โดยพบปะกัน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 จะจัดขึ้นในวันที่ 6- 7 มีนาคม นี้"

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4