กยท. แจงหยุดกรีดยางเพิ่ม 2 ล้านไร่ แค่แนวคิด เปิดทุกภาคส่วนเสนอความเห็นก่อนเคาะมาตรการ

จันทร์ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๐๑๘ ๑๑:๔๑
การยางแห่งประเทศไทย ชี้แจงมาตรการหยุดกรีดยาง 2 ล้านไร่ ช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค. ยังเป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น เปิดรับฟังทุกภาคส่วนเสนอความเห็นร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของมาตรการหยุดกรีดนี้ ว่าจะเกิดผลดีผลเสียเช่นไรต่อสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย ก่อนนำมาตรการดังกล่าวนี้มาใช้

ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การหยุดกรีดยางในพื้นที่สวนยางของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่นั้น เป็นส่วนหนึ่งของโครงการควบคุมปริมาณผลผลิต ภายใต้มาตรการการรักษาเสถียรภาพราคายางที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำมาใช้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางควบคู่ไปกับมาตรการต่างๆ โดยเน้นเฉพาะในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 61 ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแนวคิดขยายการหยุดกรีดยางเพิ่มเติมออกไปในพื้นที่ของประชาชนทั่วไปที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง จำนวน 2 ล้านไร่ ในช่วงเวลา 3 เดือน คือ เดือน พฤษภาคม-กรกฎาคม 2561 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ปริมาณผลผลิตในตลาดลดลง(supply) ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้ราคายางเพิ่มสูงขึ้นตามกลไกตลาด

"ขอย้ำว่าการขยายโครงการหยุดการกรีดยาง (tapping holiday) ยังคงเป็นเพียงแนวคิดเพื่อนำเสนอให้สาธารณชนไม่ว่าจะเป็น ภาครัฐ ภาคเกษตรกร และสถาบันเกษตรกร รวมไปถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับยางพาราได้หารือระดมความคิดร่วมกัน และนำมาวิเคราะห์ความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรการหยุดกรีดนี้ ว่าจะเกิดผลดีผลเสียเช่นไรต่อสถานการณ์ยางพาราในประเทศไทย รวมทั้งควรมีขั้นตอนการปฏิบัติอย่างไรในการชะลอหรือหยุดกรีดยางเพื่อให้มีประสิทธิภาพโดยไม่เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์"

ดังนั้น การหยุดกรีดยางจำนวน 2 ล้านไร่ จึงยังมิได้เป็นมาตรการที่จะดำเนินการทันทีอย่างที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่ เพราะกระทรวงฯ ยังคงมีมาตรการอื่นๆ ในการผลักดันให้สถานการณ์ของยางพาราไปในทิศทางที่ดีขึ้น อีกหลายมาตรการ เช่น โครงการสนับสนุนสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงิน 20,000 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตผลิตภัณฑ์ยาง วงเงิน 15,000 ล้านบาท เป็นต้น

"สำหรับประเด็นการขโมยกรีดยางในสวนยางของภาครัฐ โครงการควบคุมปริมาณผลผลิตโดยให้หยุดกรีดยางในช่วง ม.ค. - มี.ค. นั้น หากมีการตรวจสอบพบว่ามีลูกจ้างกรีดยาง กยท.รายใดที่กระทำความผิด จะต้องถูกลงโทษ เป็นไปตามการดำเนินการความผิดทางวินัยตามข้อบังคับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ว่าด้วยวินัยและการลงโทษพนักงานและลูกจ้างประจำ และอาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานลักทรัพย์นายจ้างด้วย ในกรณีที่มีการลักลอบกรีดยางและรับซื้อยางพาราอันเกิดจากการกระทำของบุคคลภายนอก ให้หัวหน้าส่วนงานที่รับผิดชอบดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนในพื้นที่ที่รับผิดชอบเพื่อดำเนินคดีอาญาต่อไป" ดร.ธีธัช กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๘:๒๑ งานวิจัย Kaspersky เผย ผลร้ายจากภัยคุกคามเป็นตัวกระตุ้นรูปแบบพฤติกรรมทางไซเบอร์ของนักการศึกษามากที่สุด
๐๘:๓๓ ซินเน็คฯ จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2567 ผ่านฉลุยทุกวาระ พร้อมกางแผนสร้างการเติบโต สู่เป้ารายได้ 40,000
๐๘:๓๘ BRR ประชุมสามัญผู้ถือหุ้น แบบ Hybrid ประจำปี 2567 ผถห. เคาะจ่ายปันผล 0.20 บาท/หุ้น - ชูสตอรี่ ESG สู่ความยั่งยืน
๐๘:๑๖ DEMI HAIR CARE SCIENCE เปิดตัวผลิตภัณฑ์ฟื้นฟูผมเสียอย่างล้ำลึก ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด
๐๘:๓๔ ซีอีโอ BBGI ร่วมงาน OECD Global Forum on Technology ขึ้นเวทีเสวนาระดับโลกในหัวข้อ Sustainable Production ที่กรุงปารีส
๐๘:๒๓ ฟันโอ-ทิวลี่ คว้ารางวัล 2023 Top Influential Brands Award สุดยอดแบรนด์ที่ทรงอิทธิพลต่อผู้บริโภคมากที่สุด
๐๘:๔๗ เฮอริเทจ จัดโปรแรง เอาใจคนรักผลไม้ ลดสูงสุดกว่า 15%
๐๘:๕๘ ต้อนรับฤดูร้อนสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนกับ GAMBERO ROSSO DI MAZARA กุ้งแดงมาซาร่า-ราชินีแห่งท้องทะเลซิซิลี ที่ห้องอาหารอิตาเลียน
๐๘:๔๐ Tinder ส่งฟีเจอร์ใหม่ Share My Date แชร์แผนการออกเดทในแอพฯ แบบเรียลไทม์ให้เพื่อน-ครอบครัว
๐๘:๐๘ เลี้ยงลูกตามใจ ไม่เคยขัดใจ เด็กอาจเสี่ยงเป็นฮ่องเต้ซินโดรม