องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ลงนามข้อตกลงทางวิชาการ “ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ วิจัย และใช้ประโยชน์” กับ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

พุธ ๑๔ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๔:๓๐
ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ วิจัยและใช้ประโยชน์

วันที่ 14 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุม 3 อาคารศูนย์สารนิเทศ สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) โครงการ "ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติเพื่ออนุรักษ์ วิจัย และใช้ประโยชน์" ระหว่าง องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยนายรณรงค์ เส็งเอี่ยม ผู้อำนวยการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ และ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยนายสมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ปฏิบัติการแทนผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งการลงนามความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดจำแนกทางพฤกษศาสตร์ชนิดพืชสมุนไพรในบัญชีรายชื่อสมุนไพรแห่งชาติและสมุนไพรอื่นๆ ที่มีการใช้ประโยชน์ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาการอนุรักษ์เชื้อพันธุกรรมพืชด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งสนับสนุนการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชในสภาพปลอดเชื้อและการจัดทำ DNA barcode ของธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ วิจัย และส่งเสริมการวิจัย พัฒนา สร้างมูลค่าเพิ่มรวมทั้งใช้ประโยชน์เชื้อพันธุกรรมพืชอย่างยั่งยืน

โดย ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มีการจัดตั้งธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ หรือ Biobank ขึ้นเพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านความมั่นคงของประเทศและเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย Biobank จะเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมของทรัพยากรชีวภาพในสภาพปลอดเชื้อเพื่ออนุรักษ์ วิจัยและใช้ประโยชน์ และช่วยลดความเสี่ยงต่อการสูญเสียจากปัจจัยต่างๆ เช่นภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ประกอบกับทาง องค์การสวนพฤกษศาสตร์ (อ.ส.พ.) ก็เป็นศูนย์กลางข้อมูลทางการศึกษาทางด้านพืชและเป็นแหล่งพันธุกรรมของพืชสมุนไพรไทย พืชหายากใกล้สูญพันธุ์และพืชภูมิปัญญาของประเทศ

ซึ่งทั้งสองหน่วยงานมีความตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรพรรณพืชสมุนไพรและเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเร่งดำเนินการรวบรวมพันธุ์สมุนไพรเพื่อนำไปสู่การศึกษาวิจัย ตลอดจนวางแผนและใช้ประโยชน์เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ร่วมมือกันในการดำเนินการเก็บรักษาเชื้อพันธุกรรมพืชในสภาพปลอดเชื้อเพื่อเก็บรักษาพืชสมุนไพรในธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ รวมถึงการพัฒนาเครื่องหมายพันธุกรรม หรือ DNA barcode เพื่อใช้ร่วมกับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ในการจำแนกพันธุ์พืชที่มีความแม่นยำสูงเพื่อรองรับการนำพืชสมุนไพรไปใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๙ เม.ย. บิทูเมน มารีน บริษัทลูก TASCO ลงนามสัญญาต่อเรือขนส่งยางมะตอย เสริมศักยภาพกองเรือ
๑๙ เม.ย. รมว.เกษตรฯ ลุยร้อยเอ็ด ผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ 3 แห่ง
๑๙ เม.ย. กูรูหุ้นเชียร์ซื้อ PSP เคาะเป้าราคาสูงสุด 8 บ./หุ้น ยอดขายพุ่ง-หนี้ลด ดันกำไรปี 67 ออลไทม์ไฮ ดีล MA สร้าง New S-Curve
๑๙ เม.ย. ข้าวกล้อง-จักรีภัทร พร้อมเต็มร้อย! ประเดิม จูเนียร์จีพี สนามแรก ประเทศอิตาลี
๑๙ เม.ย. กรมประมงขอเชิญร่วมแข่งขันตกปลาชะโด
๑๙ เม.ย. เชลล์ดอน การ์ตูนดังร่วมสาดความสนุกในเทศกาลสงกรานต์
๑๙ เม.ย. สปสช. ติดปีกเทคโนโลยีไอทีด้วยคลาวด์กลางภาครัฐ GDCC ยกระดับบริการบัตรทองรวดเร็วทันสมัย ดูแลสุขภาพคนไทยยุคดิจิทัล
๑๙ เม.ย. GSK ร่วมงาน Re-imagining UK Aging Care Event ของสถานทูตอังกฤษ มุ่งสร้างเสริมภูมิคุ้มกันผู้สูงอายุ
๑๙ เม.ย. เอส เอฟ จับมือ กปน. มอบสิทธิ์ดูฟรีรวม 1,000 ที่นั่ง เพียงใช้ MWA Point ที่ เอส เอฟ!!
๑๙ เม.ย. เตรียมพร้อมนับถอยหลัง 12 ชั่วโมงสุดท้าย! ก่อนเริ่มประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ Bitcoin Halving ครั้งที่ 4