โครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 ของธนาคารออมสิน

อังคาร ๒๐ มีนาคม ๒๐๑๘ ๑๕:๓๗
นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ธนาคารออมสินดำเนินโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน วงเงิน 5,000 ล้านบาท ที่ธนาคารออมสินได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 ซึ่งปัจจุบันธนาคารออมสินได้อนุมัติสินเชื่อโครงการดังกล่าวใกล้เต็มวงเงินแล้ว โดยโครงการสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 มีสาระสำคัญ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ : ให้สินเชื่อแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั่วไปที่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนภายในครอบครัว เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียน เป็นต้น โดยต้องไม่เป็นการ Refinance หนี้ในระบบ

2. วงเงินสินเชื่อรวม : ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท

3. วงเงินให้สินเชื่อต่อราย : ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย

4. กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนที่มีการประกอบอาชีพและมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉิน

5. ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ: ให้ยื่นขอสินเชื่อและจัดทำนิติกรรมสัญญาภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563

6. ระยะเวลาการให้กู้ยืม : ไม่เกิน 5 ปี

7. อัตราดอกเบี้ย : อัตราดอกเบี้ยคงที่ (Flat Rate) ไม่เกินร้อยละ 0.85 ต่อเดือน

8. หลักประกัน : บุคคลค้ำประกันอย่างน้อย 1 คน และ/หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน

9. หลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อ : พิจารณาความสามารถในการชำระหนี้จากรายได้และ ค่าใช้จ่ายรวมของบุคคลในครอบครัวเป็นหลัก โดยสามารถตรวจสอบประวัติการชำระหนี้จากเครดิตบูโรได้ แต่จะไม่นำมาเป็นเงื่อนไขในการพิจารณาสินเชื่อ

อย่างไรก็ดี โดยที่สินเชื่อลักษณะดังกล่าวมีความเสี่ยงที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น รัฐบาลจึงกำหนดเงื่อนไขในการชดเชยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-performing Loan : NPL) ที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการนี้ให้ธนาคารออมสินไว้ไม่เกินร้อยละ 40 คิดเป็นวงเงินประมาณไม่เกิน 4,000 ล้านบาท หรือตามที่เกิดขึ้นจริง นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ยังมีสินเชื่อและเงื่อนไขในการชดเชย NPL ในลักษณะเดียวกัน ได้แก่ โครงการสนับสนุนสินเชื่อรายย่อยเพื่อใช้จ่ายฉุกเฉิน ระยะที่ 2 ของ ธ.ก.ส. วงเงิน 10,000 ล้านบาท ที่คณะรัฐมนตรี

ได้มีมติเห็นชอบไปแล้วเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 ดังนั้น ผู้มีรายได้น้อยที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเงินฉุกเฉินสามารถขอสินเชื่อได้ทั้งที่ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน

นางสาวกุลยาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวข้างต้นจะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและประชาชนผู้มีรายได้น้อยทั่วไปสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบได้ ในกรณีมีความจำเป็น ต้องใช้จ่ายฉุกเฉินเร่งด่วน โดยไม่ต้องไปใช้บริการหนี้นอกระบบ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาหนี้นอกระบบที่มีภาระดอกเบี้ยอยู่ในระดับที่สูง สามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ส่งผลให้เกิดการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้เข้าร่วมโครงการให้ดีขึ้นประมาณ 200,000 ราย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital