เกษตรฯ เตือนชาวนา ระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในช่วงฤดูแล้ง

จันทร์ ๐๙ เมษายน ๒๐๑๘ ๑๑:๓๗
กรมส่งเสริมการเกษตรเตือนชาวนาระวังเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดนาข้าวในช่วงฤดูแล้ง แนะเกษตรกรสำรวจนาข้าวอย่างสม่ำเสมอ

นายประสงค์ ประไพตระกูล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ในช่วงนี้ เริ่มพบการทำลายของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในแถบภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และอีกหลายพื้นที่ เริ่มทำความเสียหายให้กับผลผลิตโดยปัจจัยที่มีผลต่อการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในช่วงนี้ ได้แก่ สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง อุณหภูมิในนาข้าวยังคงมีน้ำขัง ซึ่งเป็นสภาพที่เหมาะต่อการเพิ่มจำนวนประชากรของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เกษตรกรปลูกข้าวหนาแน่น ใช้ปุ๋ยไนโตรเจนอัตราสูง ใช้พันธุ์ข้าวไม่ต้านทาน ไม่อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ และใช้สารเคมีมากเกินความจำเป็น

วิธีการป้องกัน แนะนำปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข ๖ กข ๓๑ กข ๔๑ กข ๔๗ สุพรรณบุรี ๒ สุพรรณบุรี ๓ สุพรรณบุรี ๙๐ พิษณุโลก ๒ เป็นต้น และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน ๔ ฤดูเพาะปลูก หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลให้ใช้เชื้อราบิวเวอเรีย (เชื้อสด) อัตรา ๑ กิโลกรัม (๒ ถุง) ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร พ่นในบริเวณที่พบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยพ่นในช่วงเวลาเย็น ทั้งนี้ สำหรับแหล่งที่มีการระบาดแต่สามารถควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน ๒ - ๓ สัปดาห์จนถึงระยะข้าวตั้งท้อง ให้ควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน ๗ - ๑๐ วัน แล้วปล่อยน้ำขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกัน จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้

หากจำเป็นต้องใช้สารป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล แนะนำว่า ข้าวในระยะกล้าถึงแตกกอ (อายุ ๓๐ - ๔๕ วัน) ใช้ บูโพรเฟซิน ๒๕ % WP ๑๐ กรัมต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ส่วนข้าวระยะแตกกอเต็มที่ ใช้ อีโทเฟนพร็อกซ์ ๑๐ % EC ๒๐ ซีซี ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร และข้าวระยะตั้งท้องถึงออกรวง ใช้ ไทอะมิโทแซม ๒๕ % WG ๒ กรัมต่อน้ำ๒๐ ลิตร และไม่ควรใช้สารเคมีบางชนิดในนาข้าวที่จะทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดเพิ่มขึ้น เช่น สารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ ชนิดพ่นน้ำ ได้แก่ แอลฟาไซเพอร์เมทริน ๑๐ % EC ไซแฮโลทริน แอล ๕ % EC และไซเพอร์เมทริน ๑๕ % EC และ ๒๕ % EC อย่างไรก็ตามเกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ หากพบการเข้าทำลายของศัตรูพืชให้รีบดำเนินการป้องกันกำจัดทันที

รองอธิบดีฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens เป็นแมลงปากดูด ที่สามารถทำลายข้าวได้ทุกระยะการเจริญเติบโต โดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นเหนือระดับน้ำเล็กน้อย ทำให้ปริมาณคลอโรฟิลล์ โปรตีน และคาร์โบไฮเดรตในต้นข้าวลดลง อัตราการสังเคราะห์แสง และการเจริญเติบโตลดลง ต้นข้าวแสดงอาการใบเหลือง ผลผลิตข้าวลดลง อีกทั้งยังเป็นพาหะนำโรคใบหยิก (ragged stunt) และโรคเขียวเตี้ย (grassy stunt) ถ้าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง ต้นข้าวจะแสดงอาการไหม้แห้งคล้ายถูกน้ำร้อนลวกเรียกว่า ฮอพเพอร์เบิร์น "hopper burn" ทำให้ข้าวแห้งตายได้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘ เม.ย. DEK ดิจิทัลมีเดีย SPU บุก Thailand Toy Expo 2024 โชว์ผลงานสุดคูล!
๑๘ เม.ย. Zoho ยกระดับแอปพลิเคชันทางธุรกิจ ด้วยการทำงานร่วมกันของ Generative AI และ Low-Code
๑๘ เม.ย. Dent Talk : Fresh Up Your Knowledge ไม่รู้.ไม่ได้แล้ววว สำนักวิชาทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า
๑๘ เม.ย. โรงแรมเชอราตันหัวหิน รีสอร์ทแอนด์สปา ต้อนรับนักหมากรุกรวม 300 คน กว่า 50 ประเทศ ในการแข่งขัน Bangkok Chess Club Open ครั้งที่ 21 ประจำปี
๑๘ เม.ย. 'Water War Chiang Mai 2024' เทศกาลดนตรีใหญ่ที่สุด เปียกสุด! เดือดสุด! จัดเต็มอย่างยิ่งใหญ่ใจกลางเมืองเชียงใหม่
๑๘ เม.ย. TB Media Global จับมือ MQDC จัดกิจกรรมสงกรานต์ The Vibrant Forestias :Sook-San Songkran บนผืนป่าของ The
๑๘ เม.ย. SE Life อาคเนย์ประกันชีวิต รับรางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมประจำปี 2023
๑๘ เม.ย. โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดโครงการธรรมโอสถ บรรยายธรรมะเรื่อง สุขในงานเบิกบานในชีวิต
๑๘ เม.ย. หมู่บ้านเกษตรกรรมกำแพงเพชร ต่อยอดความสำเร็จธนาคารน้ำใต้ดิน สร้างความมั่นคงทรัพยากรน้ำ
๑๘ เม.ย. คณะดิจิทัลมีเดีย SPU ขอเชิญร่วมกิจกรรมเสวนา หัวข้อ AI Trends Unlock Limitless Creative Potential in Digital